Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กันยายน 2557 CAT.วิโรจน์ แนะ ICT การเช่าวงจรเชื่อมต่อออกต่างประเทศควรเป็นหน้าที่ CAT และ การลงทุนเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว (ไฟเบอร์ออปติก) มาเป็นเวลา 2 ปี จนปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ตำบล คาดว่าภายใน 3-5 ปี จะมีลูกค้าใช้บริการอยู่ที่ 1 ล้านราย

ประเด็นหลัก



“ยกตัวอย่าง ธุรกิจบรอดแบนด์ จากปัจจุบันที่ทั้ง 2 องค์กรแข่งกันเองก็อาจจะเปลี่ยนแนวทางเป็นแบ่งลูกค้าแยกออกจากกันชัดเจน ตามจุดแข็งของแต่ละองค์กร ทีโอที มีฐานลูกค้าทั่วไปที่ยาวนานกว่าก็ทำต่อไป ขณะที่ลูกค้าองค์กร หรือการเช่าวงจรเชื่อมต่อออกต่างประเทศก็ให้ กสท ดูแล เพราะเรามีเน็ตเวิร์กที่ครอบคลุม อย่างนี้ เป็นต้น”
     
       อีกสิ่งที่สำคัญ และจะนำเสนอต่อ รมว.ไอซีที คือ ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐใช้บริการของ กสท เพราะศักยภาพของการให้บริการของ กสท ไม่ต่างจากเอกชน กสท มีการลงทุนเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว (ไฟเบอร์ออปติก) มาเป็นเวลา 2 ปี จนปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ตำบล ซึ่งถือว่าครอบคลุมมากที่สุด อีกทั้งยังมีความเสถียร และสามารถบริหารจัดการความเร็วให้ลูกค้าได้ และคาดว่าภายใน 3-5 ปี จะมีลูกค้าใช้บริการอยู่ที่ 1 ล้านราย
     
       นอกจากนี้ กสท ยังมีดาต้า เซ็นเตอร์ อีกหลายแห่งเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ โดยมีศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ อยู่ที่ นนทบุรี บางรัก และศรีราชา ซึ่งสามารถสำรองข้อมูลซึ่งกันและกันได้หากศูนย์ที่ใดที่หนึ่งเกิดปัญหา นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ ตามหัวเมืองต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี และล่าสุด บริษัทเพิ่งใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท ในการเพิ่มศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ ขึ้นอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งศูนย์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะมีความทันสมัยมากขึ้น มีมาตรฐานการรับรองคุณภาพ ISO ล่าสุด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกระบบทรานสมิชชันจากผู้ให้บริการรายอื่นที่ไม่ใช่ กสท ได้อีกด้วย

______________________________




กสท พร้อมเปิดบ้านรับ รมว.ไอซีที 2 ต.ค.นี้


นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท

        “วิโรจน์” เผยเตรียมข้อมูลแน่นพร้อมนำเสนอต่อ รมว.ไอซีที 2 ต.ค.นี้ ชี้การรวมธุรกิจกับทีโอที ต้องวิเคราะห์หลายปัจจัย ทั้งศักยภาพ และวัฒนธรรมองค์กร โชว์ธุรกิจ กสท แข่งขันได้ไม่แพ้เอกชน วอนรัฐบาลส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐหันมาใช้บริการ
     
       นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท กล่าวว่า ในวันที่ 2 ต.ค.นี้ นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะเดินทางมาที่ กสท เพื่อพบปะพูดคุยกับกรรมการบริษัทรวมถึงศึกษาแผนงาน และขอบเขตการทำธุรกิจของบริษัทเพื่อนำกลับไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแผนธุรกิจของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่ามีความเหมือน หรือแตกต่างกัน จุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละบริษัทเป็นอย่างไร อันจะเป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับโครงสร้างการทำงานของทั้ง 2 บริษัท
     
       ทั้งนี้ ไม่ว่าแนวคิดจะเป็นการควบรวมซึ่ง รมว.ไอซีทีได้เคยกล่าวไว้ว่าจะเป็นทางออกสุดท้าย หรืออาจจะเป็นเพียงการนำกลุ่มธุรกิจที่เหมือนกันนำมารวมกันก็ตาม ทางกรรมการ กสท ได้เตรียมข้อมูลทั้งหมดเพื่อเสนอต่อ รมว.ไอซีทีแล้ว ซึ่งตามความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่าควรดูปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศักยภาพของบริษัท ความสามารถในการลงทุน และวัฒนธรรมองค์กรของทั้ง 2 บริษัท ซึ่งหากรวมธุรกิจที่มีความเหมือนกันเข้าด้วยกันได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 บริษัท เพราะไม่ต้องแข่งขันกันเอง หากไม่รวมหน่วยธุรกิจเข้าด้วยกัน ก็อาจจะเป็นการตกลงแบ่งพื้นที่ในการทำธุรกิจเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกันก็มีทางเป็นไปได้
     
       “ยกตัวอย่าง ธุรกิจบรอดแบนด์ จากปัจจุบันที่ทั้ง 2 องค์กรแข่งกันเองก็อาจจะเปลี่ยนแนวทางเป็นแบ่งลูกค้าแยกออกจากกันชัดเจน ตามจุดแข็งของแต่ละองค์กร ทีโอที มีฐานลูกค้าทั่วไปที่ยาวนานกว่าก็ทำต่อไป ขณะที่ลูกค้าองค์กร หรือการเช่าวงจรเชื่อมต่อออกต่างประเทศก็ให้ กสท ดูแล เพราะเรามีเน็ตเวิร์กที่ครอบคลุม อย่างนี้ เป็นต้น”
     
       อีกสิ่งที่สำคัญ และจะนำเสนอต่อ รมว.ไอซีที คือ ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐใช้บริการของ กสท เพราะศักยภาพของการให้บริการของ กสท ไม่ต่างจากเอกชน กสท มีการลงทุนเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว (ไฟเบอร์ออปติก) มาเป็นเวลา 2 ปี จนปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ตำบล ซึ่งถือว่าครอบคลุมมากที่สุด อีกทั้งยังมีความเสถียร และสามารถบริหารจัดการความเร็วให้ลูกค้าได้ และคาดว่าภายใน 3-5 ปี จะมีลูกค้าใช้บริการอยู่ที่ 1 ล้านราย
     
       นอกจากนี้ กสท ยังมีดาต้า เซ็นเตอร์ อีกหลายแห่งเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ โดยมีศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ อยู่ที่ นนทบุรี บางรัก และศรีราชา ซึ่งสามารถสำรองข้อมูลซึ่งกันและกันได้หากศูนย์ที่ใดที่หนึ่งเกิดปัญหา นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ ตามหัวเมืองต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี และล่าสุด บริษัทเพิ่งใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท ในการเพิ่มศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ ขึ้นอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งศูนย์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะมีความทันสมัยมากขึ้น มีมาตรฐานการรับรองคุณภาพ ISO ล่าสุด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกระบบทรานสมิชชันจากผู้ให้บริการรายอื่นที่ไม่ใช่ กสท ได้อีกด้วย
     
       สำหรับความคืบหน้าเรื่องการขอทราบรายละเอียดของการเตรียมว่าจ้างบริษัทภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญ และน่าเชื่อถือ เพื่อทำการทดสอบ และวิเคราะห์สถานะ (ดิว ดิลิเจนท์) ทั้งทางด้านการเงิน และทางด้านกฎหมาย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)ได้สั่งให้ กสท ดำเนินการธุรกิจใหม่ที่ก่อให้เกิดรายได้ตามแผนฟื้นฟูองค์กร (เทิร์นอะราวนด์) นั้น สคร.ได้สั่งให้ กสท ดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับทีโอทีโดยแยกบริการทั้ง 6 กลุ่มเหมือนทีโอที ประกอบด้วย 1.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.กลุ่มโครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3.กลุ่มงานอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4.กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G 2.1 Ghz 5.กลุ่มธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และธุรกิจโทรศัพท์ประจำที่ (ฟิกซ์ไลน์) และ 6.กลุ่มบริการไอที ไอดีซี และคลาวด์ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะส่งแผนกลับไป สคร.ได้กลางเดือน ธ.ค.นี้
     
       ทั้งนี้ กสท คาดว่า รายได้ปี 2558 จะอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 400-600 ล้านบาท สำหรับงบดำเนินการงวด 3 เดือน สิ้นสุด 31 มี.ค.ที่ผ่านมา มีรายได้ 12,673 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 12,578 ล้านบาท เหลือกำไรสุทธิ 94.89 ล้านบาท
     
       ด้าน นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ กรรมการบอร์ด กสท กล่าวว่า ตนเองได้รับมอบหมายให้มานั่งเป็นกรรมการบอร์ดเพื่อเข้ามาดูรายละเอียดของแต่ละกลุ่มธุรกิจว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่กลุ่มธุรกิจที่เหมือนกันกับทีโอทีจะนำมาทำงานร่วมกันได้อย่างไร ซึ่งตนเองก็ยังคงยืนยันตามแนวคิดของ รมว.ไอซีที ว่า การควบรวมของทั้ง 2 บริษัทจะเป็นทางออกสุดท้าย เพราะเท่าที่เข้าไปนั่งเป็นกรรมการบอร์ดก็ยังมีความมั่นใจว่าจะสามารถปรับธุรกิจร่วมกันได้ โดยตนเองและกรรมการคนอื่นๆ จะโฟกัสกันเฉพาะเรื่องธุรกิจเพื่อให้งานลุล่วงอย่างรวดเร็ว ส่วนเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูเรื่องนี้ต่างหาก เพราะไม่เช่นนั้นงานจะไม่เดินเพราะมัวแต่กังวลเรื่องของกฎหมาย หรือคดีที่คั่งค้างอยู่ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การสางปัญหาระหว่าง กสท และทีโอที สามารถดำเนินการได้เร็วที่สุดภายใต้รัฐบาลนี้ซึ่งจะอยู่แค่ 1 ปี
     
       อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวใน กสท ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า ยกตัวอย่างเรื่องธุรกิจโทรศัพท์มือถือหากจะทำให้ทั้งทีโอที และ กสท ดำเนินธุรกิจได้ ควรให้แต่ละบริษัททำงานร่วมกับเอกชนที่เป็นคู่สัญญา เพราะทั้ง ทีโอที และ กสท มีจุดแข็งที่เหมือนกันคือ การมีคลื่นความถี่ ขณะที่เอกชนมีข้อได้เปรียบเรื่องความคล่องตัว และการทำตลาด ดังนั้น น่าจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ แต่หากให้ทีโอที และ กสท ทำงานร่วมกันมันจะไม่เกิดประโยชน์เพราะมีจุดแข็งและจุดอ่อนเหมือนกัน แทนที่จะรุ่งน่าจะร่วงมากกว่า ทั้งนี้และทั้งนั้น ยังเชื่อว่าการรวมทีโอที และ กสทไม่ว่าจะเป็นการควบรวม หรือนำธุรกิจที่เหมือนกันมารวมกันก็ยังคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากอยู่ดี หรืออาจจะเป็นแค่รัฐบาลชุดนี้ที่ทำได้ แต่พอหมดยุคก็กลับไปเป็นเหมือนเดิม
     
       ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 24 ก.ย. รมว.ไอซีที ได้เรียกกรรมการบอร์ดทั้งชุดของทีโอทีเข้าพบแล้วที่กระทรวงไอซีที ขณะที่ กสท เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสาร ทำให้คณะผู้บริหารของ กสท ยังไม่ได้เข้าพบ รมว.ไอซีทีในวันดังกล่าว
     

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000110846

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.