Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 ตุลาคม 2557 จากรายงานของคณะอนุกรรมการวุฒิสภาพบว่า ในปี 2012 รายได้จากยอดขายต่างประเทศของ APPLE คิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อาจเข้าข่ายเลี่ยงภาษีเป็นเงินถึง 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประเด็นหลัก




  จากรายงานของคณะอนุกรรมการวุฒิสภาพบว่า ในปี 2012 รายได้จากยอดขายต่างประเทศของแอปเปิลคิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเท่ากับว่า แอปเปิลมีการกระทำที่อาจเข้าข่ายเลี่ยงภาษีเป็นเงินถึง 9 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
     
       อย่างไรก็ดี ในรายงานประจำปีของแอปเปิลเผยว่า บริษัทได้จ่ายภาษีให้สหรัฐอเมริกาสูงมากกว่าที่จ่ายให้กับรัฐบาลไอร์แลนด์ โดยจ่ายเป็นเงิน 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2011) ขณะที่จ่ายภาษีให้ไอร์แลนด์เพียง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
______________________________




พบหลักฐานแอปเปิลเลี่ยงภาษีนับพันล้าน ซุกในไอร์แลนด์



        ไม่ธรรมดา! แอปเปิล (Apple) บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกอาจโดนเรียกภาษีย้อนหลังนับพันล้านเหรียญสหรัฐ หลังคณะกรรมาธิการยุโรปพบความน่าสงสัยที่แอปเปิลเลือกใช้ประเทศไอร์แลนด์รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราภาษีต่ำเป็นฐานที่มั่นในการลงทุน และพบด้วยว่าแอปเปิลเสียภาษีให้รัฐบาลไอร์แลนด์ในอัตราที่ต่ำมาก เพียง 2-3.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงนำไปสู่การสอบสวนว่า ทางแอปเปิลและรัฐบาลไอร์แลนด์มีข้อตกลงพิเศษต่อกันบางอย่างแอบซ่อนอยู่เบื้องหลังหรือไม่
     
       อ้างอิงจากไฟแนนเชียลไทม์ และวอลสตรีทเจอร์นัลคงต้องบอกว่า แอปเปิลงานเข้าอย่างจัง หลังถูกคณะกรรมาธิการยุโรป (the European Commission) เพ่งเล็ง รวมถึงยังมีบริษัทสัญชาติอเมริกันอย่างอเมซอน (Amazon) และสตาร์บัคส์ (Starbucks) ตกเป็นเป้าด้วย ซึ่งบริษัทเหล่านี้อาจอาศัยความหย่อนยานของกฎหมายภาษีในบางประเทศของกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นที่หลบเลี่ยงภาษี ยกตัวอย่างเช่น แอปเปิลมาใช้ประเทศไอร์แลนด์เป็นฐาน เป็นต้น เพราะไม่ว่าเหตุผลใดๆ ก็ยากจะเข้าใจว่า ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่เช่นนี้ จึงเสียภาษีให้กับรัฐบาลไอร์แลนด์ในอัตราไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ (2 - 3.7 เปอร์เซ็นต์) และทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีข้อตกลงลับๆ ระหว่างแอปเปิลกับรัฐบาลไอร์แลนด์หรือไม่ เพราะในการลงทุนกับไอร์แลนด์ แอปเปิลได้มีการจ้างงาน 4,000 ตำแหน่งในประเทศดังกล่าวด้วย
     
       หากเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราภาษีสำหรับกลุ่มคอร์เปอเรตอาจสูงถึง 35 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ส่วนที่ประเทศไอร์แลนด์นั้น อัตราภาษีอยู่ที่ 12.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน อัตราภาษีที่แอปเปิลต้องเสียให้กับรัฐบาลไอร์แลนด์ในปีที่ผ่านมากลับอยู่ที่ 3.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยรายงานข่าวจากรอยเตอร์อ้างว่า แอปเปิลถือเป็นบริษัทแรกที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวเลยทีเดียว
     
       แม้ทางแอปเปิลจะออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้ถูกเลือกปฏิบัติจากไอร์แลนด์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ด้วยสิทธิพิเศษนี้ ทำให้แอปเปิลได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เช่น การที่มีคณะอนุกรรมการวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาพบว่า มีการตั้งบริษัทสัญชาติไอริชในนามของแอปเปิลชื่อ “ASI” และบริษัทดังกล่าวนี้ก็คือผู้จำหน่ายไอโฟนในระดับสากล
     
       จากข้อมูลพบว่า บริษัท ASI นี้จะเป็นผู้ซื้อสินค้าของแอปเปิลจากโรงงานผู้ผลิตในจีน และมาขายต่อให้กับ ADI หรือ Apple Singapore โดยที่ ASI ไม่ได้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับสินค้านั้นๆ อีกเลย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติม แก้ไข แค่ใช้เป็นที่รองรับกำไรส่วนต่าง (อันมากมายมหาศาล) ที่เกิดจากการขายต่อสินค้าให้กับบริษัทอื่นอีกทอดเท่านั้น
     
       เมื่อบวกกับอัตราภาษีที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ผลก็คือ แอปเปิลสามารถประหยัดภาษีได้เป็นจำนวน “มหาศาล”
     
       จากรายงานของคณะอนุกรรมการวุฒิสภาพบว่า ในปี 2012 รายได้จากยอดขายต่างประเทศของแอปเปิลคิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเท่ากับว่า แอปเปิลมีการกระทำที่อาจเข้าข่ายเลี่ยงภาษีเป็นเงินถึง 9 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
     
       อย่างไรก็ดี ในรายงานประจำปีของแอปเปิลเผยว่า บริษัทได้จ่ายภาษีให้สหรัฐอเมริกาสูงมากกว่าที่จ่ายให้กับรัฐบาลไอร์แลนด์ โดยจ่ายเป็นเงิน 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2011) ขณะที่จ่ายภาษีให้ไอร์แลนด์เพียง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
     
       ซึ่งปัญหาดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า เป็นการเลือกปฏิบัติจากรัฐบาลไอร์แลนด์หรือไม่ หรือมีการกดดันให้รัฐบาลไอร์แลนด์ต้องยอมมอบสิทธิพิเศษดังกล่าวหรือไม่
     
       ด้าน Luca Maestri ผู้ดำรงตำแหน่ง CFO ของแอปเปิลได้ออกมายืนกระต่ายขาเดียวว่า บริษัทไม่มีการกดดัน หรือได้รับสิทธิพิเศษใดๆ จากรัฐบาลไอร์แลนด์ทั้งสิ้น
     
       “เราไม่มีข้อตกลงพิเศษ ไม่มีอะไรที่จะตีความไปได้ว่ามีการช่วยเหลือจากภาครัฐทั้งสิ้น” Maestri กล่าว พร้อมกันนั้นเขาได้ปฏิเสธด้วยว่า ไม่มีข้อตกลงประเภท “ยื่นหมูยื่นแมว” ที่ว่าจะแลกอัตราภาษีพิเศษกับการจ้างงานคนไอร์แลนด์แต่อย่างใด
     
       “เราไม่ได้ทำสิ่งใดที่ขัดต่อกฎหมาย และเรามั่นใจว่าในการสอบสวนครั้งนี้ จะพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่มีการเลือกปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นกับบริษัทแอปเปิล ซึ่งมันสำคัญมากที่จะทำให้คนทั่วไปได้เข้าใจว่า บริษัทไม่มีเรื่องลับลมคมในกับรัฐบาลไอร์แลนด์ เราทำตามกฎหมายของประเทศมาตลอด 35 ปีที่เราตั้งบริษัทอยู่ที่นี่”
     
       งานนี้คงต้องดูกันอีกยาว แต่ที่แน่ๆ บริษัทที่เป็นไอดอลของคนทั่วโลกระดับแอปเปิล หากจะมีเรื่องสีเทาบ้าง การเรียกศรัทธากลับมาคงไม่ใช่เรื่องง่าย

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000112131

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.