Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ตุลาคม 2557 บริษัทวิจัย ทีเอ็นเอส โกลบอล ได้สำรวจคนไทยอายุ 18-60 ปี 47% สนใจลองซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ คือประหยัดเวลา และมีราคาถูกกว่าซื้อตามหน้าร้าน

ประเด็นหลัก


เหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ คือประหยัดเวลา และมีราคาถูกกว่าซื้อตามหน้าร้าน ขณะที่ความกังวลใจของคนที่ไม่ยอมซื้อสินค้าออนไลน์ พบว่า 52% ไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับ 47% กังวลเรื่องความปลอดภัยของการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ 41% ต้องการทดลองสินค้าก่อนซื้อ 34% ไม่มั่นใจการรับประกันสินค้า และ 33% คิดว่าไปซื้อที่ร้านสะดวกกว่า และมองว่าช่องทางออนไลน์เป็นแค่แหล่งหาข้อมูลเท่านั้น

ขณะที่ช่องทางสื่อสารยอดฮิตอย่าง "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" มักเป็นช่องทางสำหรับการค้นหาข้อมูลสินค้ามากกว่าจะตัดสินใจซื้อ แต่ถ้าจะตัดสินใจซื้อ 36% มักเป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้า-เครื่องแต่งกาย ขณะที่มีราว 14-18% เท่านั้นที่ซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และโทรศัพท์มือถือ ในแง่อิทธิพลของการโฆษณาพบว่า 68% ของผู้ซื้อมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าหลังจากได้เห็นโฆษณาอีก 73% ใช้ข้อมูลจากโฆษณาเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับตัวสินค้าทันทีที่เห็น โดยในจำนวนนี้ 39% ใช้การค้นหาผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น รองลงไปคือการค้นข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ของร้านค้า/ผู้ขาย


______________________________




ขาขึ้นช็อปปิ้งออนไลน์ สินค้าไฮเทคยันของสดแห่เพิ่มช่องทางขาย



ช็อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่บรรดาเจ้าของสินค้าและห้างสรรพสินค้าทั้งหลายไม่อาจมองข้ามได้ เพราะมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในมุมของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ "อริยะ พนมยงค์" หัวหน้าฝ่ายธุรกิจประจำประเทศไทย "กูเกิล" กล่าวว่า ปีนี้มีปัจจัยส่งเสริมการค้าขายออนไลน์มากขึ้นทั้งจากจำนวนผู้ขายที่มีทั้งรายย่อยและรายใหญ่อย่างห้างค้าปลีกที่หลายรายเข้ามาในตลาดออนไลน์เต็มตัว

โดยบริษัทวิจัย ทีเอ็นเอส โกลบอล ได้สำรวจคนไทยอายุ 18-60 ปี ทั้งที่เคยและไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์พบว่า 40% ของคนไทยที่ออนไลน์ และไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์มาก่อนสนใจที่จะลองซื้อสินค้าภายใน 12 เดือนข้างหน้า และ 47% สนใจลองซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย

ขณะที่ผู้เคยซื้อสินค้าออนไลน์ภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา 46% ซื้อเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ราคาเฉลี่ยที่ 2,414 บาท อีก 21% ซื้อสินค้าหมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ราคาเฉลี่ย 13,303 บาท และ 17% ซื้อโทรศัพท์มือถือทางออนไลน์ ราคาเฉลี่ย 15,574 บาท สำหรับแรงจูงใจที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ ตัดสินใจซื้อนั้น 16% เกิดจากคำแนะนำจากเพื่อน และคนในครอบครัว 14% จะซื้อหากเลือกชำระเงินสดที่ปลายทาง (Cash on delivery) ได้

เหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ คือประหยัดเวลา และมีราคาถูกกว่าซื้อตามหน้าร้าน ขณะที่ความกังวลใจของคนที่ไม่ยอมซื้อสินค้าออนไลน์ พบว่า 52% ไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับ 47% กังวลเรื่องความปลอดภัยของการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ 41% ต้องการทดลองสินค้าก่อนซื้อ 34% ไม่มั่นใจการรับประกันสินค้า และ 33% คิดว่าไปซื้อที่ร้านสะดวกกว่า และมองว่าช่องทางออนไลน์เป็นแค่แหล่งหาข้อมูลเท่านั้น

ขณะที่ช่องทางสื่อสารยอดฮิตอย่าง "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" มักเป็นช่องทางสำหรับการค้นหาข้อมูลสินค้ามากกว่าจะตัดสินใจซื้อ แต่ถ้าจะตัดสินใจซื้อ 36% มักเป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้า-เครื่องแต่งกาย ขณะที่มีราว 14-18% เท่านั้นที่ซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และโทรศัพท์มือถือ ในแง่อิทธิพลของการโฆษณาพบว่า 68% ของผู้ซื้อมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าหลังจากได้เห็นโฆษณาอีก 73% ใช้ข้อมูลจากโฆษณาเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับตัวสินค้าทันทีที่เห็น โดยในจำนวนนี้ 39% ใช้การค้นหาผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น รองลงไปคือการค้นข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ของร้านค้า/ผู้ขาย

"อริยะ" กล่าวว่า กูเกิลไทยเปิดให้บริการโฆษณาออนไลน์ผ่านกูเกิลแล้ว โดยกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคโฆษณาผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้นเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นธุรกิจเทเลคอมและธุรกิจท่องเที่ยว คาดว่าในปีหน้าจะมีกลุ่มรีเทลให้ความสนใจมากขึ้น จากการแข่งขันที่มากขึ้นในกลุ่มรีเทลและถ้ามองย้อนกลับไปในฝั่งผู้ขาย

สินค้าออนไลน์พบว่ามีเพียง 35% เท่านั้นที่เลือกขายสินค้าออนไลน์ เพราะตั้งราคาได้ดีกว่าช่องทางอื่น แต่ 63% ขายออนไลน์เพราะมีลูกค้ารอซื้ออยู่มากมายฟากธุรกิจค้าปลีกอย่าง "เทสโก้ โลตัส" มองเห็นโอกาสในตลาดขายสินค้าออนไลน์ด้วยเช่นกัน

"วรรณา สวัสดิกูล" ประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวว่าเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่เทสโก้ โลตัส เปิดขายสินค้าออนไลน์แต่เริ่มจริงจังกับการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในปีนี้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีลูกค้าจากช่องทางนี้ไม่ถึง 1% แต่พบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับตัวเลข 2 หลัก ขณะที่ผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายเริ่มเข้ามาทำตลาดขายออนไลน์มากขึ้น

"เทสโก้ฯ ใช้ช่องทางนี้เสริมทัพลูกค้าหน้าร้าน ในระบบมีสินค้ากว่า 20,000 ชิ้น มีศูนย์ส่งสินค้า 10 แห่งทั่วกรุงเทพฯ และที่เชียงใหม่, พัทยา, ภูเก็ต ลูกค้า 30% เป็นบรรดาคุณแม่ ซึ่งมักมีการใช้จ่ายสูงกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ ด้วยทำให้สินค้าเกี่ยวกับแม่และเด็กขายดรวมถึงมียอดซื้อมากกว่าซื้อ ที่หน้าร้านถึง 3 เท่า อาจเพราะคิดค่าส่งแบบเหมาจ่ายครั้งละ 60 บาท ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องซื้อเยอะให้คุ้มค่าส่ง"

นอกจากสินค้าแม่และเด็กที่ขายดีในระบบออนไลน์แล้ว รองลงไปคือเครื่องดื่ม และกลุ่มของใช้ในบ้าน โดยความท้าทายสำคัญคือการนำของสด อย่างผักผลไม้ เนื้อสัตว์มาขายทางช่องทางออนไลน์ โดยจะใช้รถเก็บความเย็นในการส่งสินค้า ซึ่งในแถบยุโรปได้ใช้ช่องทางออนไลน์สำหรับสินค้าประเภทนี้มานานแล้ว ขณะที่ในเอเชียไม่ค่อยมีใครทำ เพราะการซื้อของสดทำได้ง่าย

"บริษัทต้องวางระบบหลังบ้านให้ตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้ลูกค้า ควบคู่กับการสร้างความมั่นใจว่าจะได้ของที่มีคุณภาพเหมือนไปซื้อด้วยตัวเอง เพราะความสะดวก ราคาที่ถูกกว่า และคุณภาพคือแรงจูงใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ"

และเพื่อเพิ่มความสะดวกให้นักช็อปออนไลน์ "เทสโก้ โลตัส" ยังเพิ่มบริการอีกเพียบ เช่น วิธีชำระเงินค่าสินค้าที่ปลายทาง, บริการคืนสินค้าหากไม่พึงพอใจ, เปิดมาร์เก็ตเพลสบนเว็บไซต์ลาซาด้าเพื่อให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขาย และภายใน 2-3 เดือนนี้จะเปิดตัวแอปพลิเคชั่นเพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าบนสมาร์ทโฟนได้สะดวกขึ้น



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1412330777

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.