Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ตุลาคม 2557 นพ.ธนันท์ สมิทธารักษ์ โรงพยาบาลปิยะเวท ระบุ แเตือนคนใช้สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงนิ้วและข้อมือพังเพราะการอาการอักเสบให้ลองกำนิ้วหัวแม่มือไว้ในอุ้งมือ แล้วบิดข้อมือไปด้านนิ้วก้อย หากมีอาการให้พบแพทย์

ประเด็นหลัก


นพ.ธนันท์ สมิทธารักษ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า นิ้วหัวแม่มือของคนเรา จะมีเอ็นผ่านมาสองเส้น จากบริเวณเเขนเข้าสู่บริเวณหัวแม่มือ ถ้ามีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ อาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้ แนะนำว่า ให้ลองกำนิ้วหัวแม่มือไว้ในอุ้งมือ แล้วบิดข้อมือไปด้านนิ้วก้อย หากมีอาการเจ็บข้อมือด้านหัวนิ้วแม่มือ มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที



______________________________




แพทย์เตือนคนใช้สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงนิ้วและข้อมือพัง


ผู้ใช้สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต แล้วรู้สึกมีอาการปวดบริเวณข้อมือโคนหัวนิ้วโป้ง อาจเสี่ยงเป็นโรคปลอกข้อมืออักเสบ บริเวณข้อมือโคนนิ้วหัวแม่มือ หรือ โรคเดอเกอร์แวง หากไม่รีบรักษาอาจทำให้มือใช้งานไม่ได้เหมือนปกติ...



ใช้สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต แล้วมีอาการปวดบริเวณข้อมือ หรือ โคนหัวนิ้วโป้ง เสี่ยงเป็นโรคปลอกข้อมืออักเสบ

ชมคลิป เตือนใช้สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงนิ้วพัง



เมื่อสมาร์ทโฟน กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะนั่ง ยืน หรือเดินไปไหนหลายคนใช้มือ ทั้งถือ ทั้งสไลด์ แทบไม่ได้พักมือ นานวันเข้าจะเกิดอาการปวดบริเวณข้อมือ ร้าวไปยันนิ้วมือ หากมีอาการแบบนี้ เป็นสัญญาณว่า อาจเป็นโรคปลอกข้อมืออักเสบบริเวณข้อมือโคนนิ้วหัวแม่มือ หรือ โรคเดอเกอร์แวง มีสาเหตุมาจากการบิดข้อมือและใช้นิ้วโป้งเล่นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตซ้ำๆ และอยู่ท่านั้นเป็นเวลานาน



นพ.ธนันท์ สมิทธารักษ์

นพ.ธนันท์ สมิทธารักษ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า นิ้วหัวแม่มือของคนเรา จะมีเอ็นผ่านมาสองเส้น จากบริเวณเเขนเข้าสู่บริเวณหัวแม่มือ ถ้ามีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ อาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้ แนะนำว่า ให้ลองกำนิ้วหัวแม่มือไว้ในอุ้งมือ แล้วบิดข้อมือไปด้านนิ้วก้อย หากมีอาการเจ็บข้อมือด้านหัวนิ้วแม่มือ มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที



กำนิ้วหัวแม่มือ แล้วบิดข้อมือไปด้านนิ้วก้อยหากเจ็บก็มีความเสี่ยง

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวอีกว่า หากละเลยไม่รีบมารักษาอาการจะหนักขึ้น จะหยิบจับอะไรที่ต้องใช้ข้อมือจะรู้สึกปวดมาก จนขยับไม่ได้ โดยการรักษาก็แบ่งเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือไม่ผ่าตัดกับผ่าตัด สำหรับการไม่ผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีแรก แต่จะแนะนำให้พักการใช้ข้อมือสักระยะหนึ่ง แต่ถ้าไม่ดีขึ้นจะพิจารณาฉีดสเตียรอยด์



วิธีป้องกันต้องหมั่นออกกำลังบริหารข้อมือด้วยดัมเบล

ส่วนวิธีป้องกันโรคนี้ทำได้ง่ายๆ  เพียงวางแขนไว้บนโต๊ะให้ข้อมือเลยขอบโต๊ะมานิดนึง พร้อมกำดัมเบลน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม จากนั้นขยับข้อมือขึ้นลงข้างละ 10 ครั้ง หรือยื่นแขนขวาไปข้างหน้าให้ตั้งฉากกับหัวไหล่ พร้อมยกฝ่ามือขึ้นและใช้มือซ้ายดัดฝ่ามือเข้าหาลำตัว ค้างไว้ 10 วินาที ทำแบบนี้สลับกันทั้งสองข้าง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้.


http://www.thairath.co.th/content/454281

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.