Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 พฤศจิกายน 2557 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ระบุ ยังมีความต้องการผลิตบุคลากรด้านไอทีเพิ่ม เพื่อ Digital Economy แม้ว่าในแต่ละปีเรามีบัณฑิตปริญญาตรีที่จบสาขาคอมพิวเตอร์ 10,000 คน

ประเด็นหลัก


นอกจากนี้ ยังต้องมีการผลิตบุคลากรด้านไอทีเพิ่ม แม้ว่าในแต่ละปีเรามีบัณฑิตปริญญาตรีที่จบสาขาคอมพิวเตอร์ 10,000 คน เป็นสาขายอดนิยม ของคณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ควรเพิ่มคุณภาพ เพราะ 1 ใน 6 ของคนที่จบสาขานี้ตกงาน และ 40% ของบัณฑิต ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการหรือเสมียน และบริษัทจัดหางานก็ยังจัดให้บุคลากรด้านไอทีเป็นสาขา ที่มีความต้องการมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องทำให้เอกชน และวิชาการเกิดความร่วมมือ นำไปสู่การสร้างธุรกิจดิจิตอล เพราะความสำเร็จ ของเศรษฐกิจดิจิตอลในต่างประเทศเกิดจากความร่วมมือของภาคเอกชน ภาควิชาการ เช่น ในกรณีของอิสราเอลและไต้หวัน

“เศรษฐกิจดิจิตอลจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีเป้าหมายในการพัฒนาและตัวชี้วัดที่ชัดเจน มิเช่นนั้นจะไม่ต่างอะไรกับนโยบายอื่นๆ ที่แม้เป็นแนวคิดที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาทิ เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) แต่สุดท้ายกลับไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรม”.



______________________________



แนะเพิ่มคุณภาพคน“ไอที” เตือนตีโจทย์ “เศรษฐกิจดิจิตอล” ให้แตก


สถาบันอนาคตไทยศึกษา ชี้นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ Digital Economy ที่รัฐบาลต้องการใช้เป็นยุทธศาสตร์ ทำให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศ ที่มีรายได้ปานกลาง แผนทั้งหมดจะต้องตอบโจทย์การสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่เน้นที่การเพิ่มหน่วยงานภาครัฐ และต้องให้เอกชน–นักวิชาการจับมือกันสร้างธุรกิจดังกล่าวให้เกิดขึ้น เหมือนที่อิสราเอล ไต้หวันทำได้สำเร็จ

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดเผยว่า สถาบันได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ Digital Economy ซึ่งเป็นนโยบายที่ช่วยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และจะช่วยให้เราหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ แต่เพื่อให้แนวคิดนี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม

“เศรษฐกิจดิจิตอลจึงต้องเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่เป็นดิจิตอลจะมีมูลค่าเพิ่มสูง ในขณะที่สินค้าบางอย่างที่ไม่ได้เป็นดิจิตอล กลับสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงได้ เช่น กรณีของฮาร์ดดิสก์ สินค้าดิจิตอลที่เราส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่มูลค่าเพิ่มที่ได้จากการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นน้อยมาก เพียง 5% ต่อปี เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เติบโต 6% อินโดนีเซีย 13% ฟิลิปปินส์ 17% และเวียดนาม 23% แต่สำหรับยางพาราที่ส่งออกจำนวนมาก แต่เป็นสินค้าขั้นต้น คือ ยางแผ่นหรือน้ำยาง แต่หากนำไปแปรรูปเป็นยางรถยนต์จะได้มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า”

ทั้งนี้ นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลไม่ควรไปเน้นที่การเพิ่มหน่วยงานใหม่ของภาครัฐ เพราะจากข่าวที่ออกมา มีการพูดถึงแผนเพิ่มหน่วยงานใหม่อีก 3 กรม ให้มาทำงานด้านนี้ โดยเฉพาะรวมถึงจะมีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แต่ความสำเร็จของเศรษฐกิจดิจิตอลไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มกรม กอง แต่เพียงอย่างเดียว

นายเศรษฐพุฒิกล่าวว่า ที่ผ่านมา เรามีการตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติมาเมื่อ 17 ปีก่อน เพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ จนถึงปัจจุบันก็มี 10 หน่วยงาน ที่มีภารกิจในด้านนี้โดยตรง ดังนั้น การเพิ่มจำนวนกรมไม่ช่วยตอบโจทย์ แต่ควรปรับปรุงกระบวนการภาครัฐ เพื่อให้เกิดผลจริงโดยเฉพาะตัวชี้วัด ผลการดำเนินงาน ที่ต้องเน้นวัดผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ ปัจจุบันมีตัวชี้วัดของไอซีทีเพียงตัวเดียวจาก 14 ตัวที่วัดผลลัพธ์ คือมูลค่าสินค้า ไอซีทีที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีหลายตัวชี้วัดที่วัดจากจำนวนสถานประกอบการหรือผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา ซึ่งประเมินได้ยากว่ามีประสิทธิผลหรือไม่

นอกจากนี้ ยังต้องมีการผลิตบุคลากรด้านไอทีเพิ่ม แม้ว่าในแต่ละปีเรามีบัณฑิตปริญญาตรีที่จบสาขาคอมพิวเตอร์ 10,000 คน เป็นสาขายอดนิยม ของคณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ควรเพิ่มคุณภาพ เพราะ 1 ใน 6 ของคนที่จบสาขานี้ตกงาน และ 40% ของบัณฑิต ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการหรือเสมียน และบริษัทจัดหางานก็ยังจัดให้บุคลากรด้านไอทีเป็นสาขา ที่มีความต้องการมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องทำให้เอกชน และวิชาการเกิดความร่วมมือ นำไปสู่การสร้างธุรกิจดิจิตอล เพราะความสำเร็จ ของเศรษฐกิจดิจิตอลในต่างประเทศเกิดจากความร่วมมือของภาคเอกชน ภาควิชาการ เช่น ในกรณีของอิสราเอลและไต้หวัน

“เศรษฐกิจดิจิตอลจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีเป้าหมายในการพัฒนาและตัวชี้วัดที่ชัดเจน มิเช่นนั้นจะไม่ต่างอะไรกับนโยบายอื่นๆ ที่แม้เป็นแนวคิดที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาทิ เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) แต่สุดท้ายกลับไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรม”.

http://www.thairath.co.th/content/461110

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.