Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 พฤศจิกายน 2557 (บทความ) เบื้องหลังกรอบคิด'เศรษฐกิจดิจิตอล' // ประมาณการมูลค่าธุรกิจไอซีทีของม.หอการค้า ปี 2556 มีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจ Telecommunications (ประกอบด้วยโทรศัพท์พื้นฐาน- เคลื่อนที่-อินเตอร์เน็ต - กิจการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต) จำนวน 5 แสนล้านบาท , ธุรกิจ บรอดแคสติ้ง จำนวน 1 แสนล้านบาท, ธุรกิจ IT (Information Technology) จำนวน 1 แสนล้านบาท

ประเด็นหลัก



++จุดเริ่ม"เศรษฐกิจดิจิตอล"
    ว่ากันว่านโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้มอบหมายให้ หม่อมอุ๋ย ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ จุดกำเนิดของนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลในครั้งนี้ เกิดจากการผลักดันของหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีนายอิสระ ว่องกุศลกิจ  ประธานกรรมการหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย   ซึ่งภายใต้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมีคณะกรรมการธุรกิจไอซีที รวมอยู่ด้วย ได้จัดทำยุทธศาสตร์นำเสนอต่อสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ได้ประมาณการมูลค่าธุรกิจไอซีที ปี 2556 มีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจ Telecommunications (ประกอบด้วยโทรศัพท์พื้นฐาน- เคลื่อนที่-อินเตอร์เน็ต - กิจการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต) จำนวน 5 แสนล้านบาท , ธุรกิจ บรอดแคสติ้ง จำนวน 1 แสนล้านบาท, ธุรกิจ IT (Information Technology) จำนวน 1 แสนล้านบาท
    ธุรกิจ Digital Contents จำนวน 5 หมื่นล้านบาท, ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ จำนวน 4 แสนล้านบาท และ ธุรกิจ Digital Marketing จำนวน 1 หมื่นล้านบาท  รวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท หรือ ประมาณ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ ประมาณ 11 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท
    และ นั่นจึงเป็นที่มาที่ หอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าว ผ่าน ดร.โกศล เพ็ชรสุวรรณ์  ประธานคณะกรรมการธุรกิจไอซีที  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีอยู่จำนวน 30 คน

______________________________







เบื้องหลังกรอบคิด'เศรษฐกิจดิจิตอล'




 พลันที่ (หม่อมอุ๋ย) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจ ออกมาแสดงนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยไปสู่ดิจิตอล  และ เตรียมปรับเปลี่ยนโฉม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที  เป็นชื่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
   alt ซึ่ง หม่อมอุ๋ย ออกมายืนยันแล้วว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ การแก้ไขกฎหมายเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวง เป้าหมายของรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานให้รัฐบาลชุดต่อไปเข้ามาสานต่อ
++จุดเริ่ม"เศรษฐกิจดิจิตอล"
    ว่ากันว่านโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้มอบหมายให้ หม่อมอุ๋ย ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ จุดกำเนิดของนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลในครั้งนี้ เกิดจากการผลักดันของหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีนายอิสระ ว่องกุศลกิจ  ประธานกรรมการหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย   ซึ่งภายใต้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมีคณะกรรมการธุรกิจไอซีที รวมอยู่ด้วย ได้จัดทำยุทธศาสตร์นำเสนอต่อสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ได้ประมาณการมูลค่าธุรกิจไอซีที ปี 2556 มีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจ Telecommunications (ประกอบด้วยโทรศัพท์พื้นฐาน- เคลื่อนที่-อินเตอร์เน็ต - กิจการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต) จำนวน 5 แสนล้านบาท , ธุรกิจ บรอดแคสติ้ง จำนวน 1 แสนล้านบาท, ธุรกิจ IT (Information Technology) จำนวน 1 แสนล้านบาท
    ธุรกิจ Digital Contents จำนวน 5 หมื่นล้านบาท, ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ จำนวน 4 แสนล้านบาท และ ธุรกิจ Digital Marketing จำนวน 1 หมื่นล้านบาท  รวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท หรือ ประมาณ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ ประมาณ 11 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท
    และ นั่นจึงเป็นที่มาที่ หอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าว ผ่าน ดร.โกศล เพ็ชรสุวรรณ์  ประธานคณะกรรมการธุรกิจไอซีที  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีอยู่จำนวน 30 คน
 ++"สิทธิชัย" ตัวต่อจิ๊กซอว์
    โรดแมปของนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล จึงเกิดขึ้นเมื่อ รศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร หรือ ไอซีที  ซึ่งเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลกับ ดร.โกศล เพ็ชรสุวรรณ์ และ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์  เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งบุคคลทั้ง 3 ยังติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ
    ภายหลังจาก คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เข้ามากุมอำนาจ ทั้ง 2  คือ ดร.สิทธิชัย และ ดร.โกศล ได้พบกันอีกครั้ง และ การพบกันครั้งนั้นจึงเป็นที่มาของเศรษฐกิจดิจิตอลเนื่องจากมีการพูดถึงเรื่องปฏิรูปกระทรวงไอซีที นั่นจึงเป็นที่มาที่ ดร.โกศล เพ็ชรสุวรรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการธุรกิจไอซีที ได้พบกับ หม่อมอุ๋ย  จิบกาแฟเป็นครั้งแรก ผ่าน ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เนื่องจากมีสายสัมพันธ์กับ หม่อมอุ๋ย เพราะถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
++"3 ดร."นั่งกรรมการ
    นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล จึงเกิดขึ้นหลังจากได้นำโรดแมป และ โครงสร้างนำเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเปิดไฟเขียวให้ปฏิรูปกระทรวง โดยมอบหมายให้หม่อมอุ๋ย ทำหน้าที่บริหารจัดการในเรื่องนี้
    และจึงเกิดคณะทำงานขึ้นมา โดยประธานที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ทำการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาปรับปรุงองค์กรกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและดิจิตอล โดยมีคำสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 มีทั้งหมด 10 รายชื่อ ไล่เลียงตั้งแต่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล , พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา, ดร.โกศล เพ็ชรสุวรรณ์, ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ , ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม, ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล, ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์, พล.ต.พิเชษฐ์ คงศรี, นายนครเขตต์ สุทธปรีดา และ นายบดินทร์ พุ่มนิคม
    โดยคณะกรรมการทั้ง 10 คน ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย การดำเนินการต่าง ๆ การให้บริการประชาชน รวมทั้งการจัดรูปแบบองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในหน่วยงานในภาครัฐ องค์การมหาชน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันกระจัดกระจายอยู่หลายหน่วยงานและมีความไม่ชัดเจนของอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
    "รัฐบาลต้องการให้มีเจ้าภาพอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม อยู่อย่างกระจัดกระจาย และที่สำคัญต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยนไปแล้วทุกวันนี้โลกขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยไอซีที  ในการเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็นการค้าขายผ่านทางอี-คอมเมิร์ซ หากรัฐบาลต้องการให้เอสเอ็มอี ที่มีอยู่เพียง 6% เข้ามาใช้ก็ต้องส่งเสริมอย่างจริงจัง เพราะในต่างประเทศอย่างประเทศจีน เอสเอ็มอี ใช้ถึง 65% และ บราซิล สูงถึง 73%" แหล่งข่าวในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้ความเห็น
    เชื่อว่าโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิตอล ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล วาดฝันไว้กับการปฏิรูปประเทศใกล้เป็นจริง เพราะ ขณะนี้ร่างกฎหมายอยู่ระหว่างแก้ไขแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2557  แต่เชื่อได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมทั้งกระทรวง ทบวง กรม ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะต้องยอมรับว่าแม้โลกเปลี่ยนไป แต่คนยุคเก่าก็ยังมีอยู่
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=253384:2014-11-07-07-50-11&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VGMji4dAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.