Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 พฤศจิกายน 2557 ช่อง3.สุรินทร์ ระบุ กสทช.ควรให้ช่องหมายเลข 1-36 ขึ้นไปอยู่ช่องดังกล่าวในทุกแพลตฟอร์มป้องกันผู้ชมเกิดความสับสน

ประเด็นหลัก



  สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์  นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ หรือไทยทีวีสีช่อง 3 เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศเรียงช่องฉบับใหม่ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)จัดขึ้นครั้งนี้ มีทั้งผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี เข้ารวมแสดงความคิดเห็น โดยส่วนตัวมองว่าไม่ค่อยเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่นำเงินจำนวนมากเข้าไปประมูลเท่าไร  เพราะหากหมายเลขช่องดังกล่าวไม่สามารถจัดเรียงอยู่บนแพลตฟอร์มระบบทีวีดาวเทียมได้ ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ชมเกิดความสับสน ดังนั้นควรให้ช่องหมายเลข 1-36 ขึ้นไปอยู่ช่องดังกล่าวในทุกแพลตฟอร์ม
    "หากย้อนไปดูในอดีตที่ผ่านมา พบว่าข้อกำหนดหรือคำสั่งที่กสทช.ออกมาแต่ละครั้งนั้น  ยังมีความซ้ำซ้อนกันอยู่หลายจุด เช่น การออกกฎมัสต์แฮฟและตามด้วยกฎมัสต์แคร์รี  ขณะเดียวกันก็ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่ชนะสูงสุด สามารถเลือกหมายเลขช่องเองได้ ในขณะเดียวกันก็ให้เจ้าของแพลตฟอร์มระบบทีวีดาวเทียมสามารถบริหารจัดการหมายเลขช่อง 1-10 เองได้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ทับซ้อนกันอยู่  อย่างนี้เป็นต้น"

______________________________







เรียงช่องทีวีใหม่ไม่ลงตัว

 ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม-ทีวีดิจิตอล และเคเบิลทีวี เห็นต่างจัดเรียงเลขช่อง วิก3 แนะผ่านเวทีประชาพิจารณ์ ควรจัดเรียงช่องใหม่หมายเลข 1-36 ขึ้นไปอยู่บนทุกแพลตฟอร์ม  แง้มผังรายการใหม่พร้อมออกฉายต้นปีหน้า  ด้านทรู วิชั่นส์ ยันช่องทีวีเป็นทรัพย์สินของบริษัท
  สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์  นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ หรือไทยทีวีสีช่อง 3 เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศเรียงช่องฉบับใหม่ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)จัดขึ้นครั้งนี้ มีทั้งผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี เข้ารวมแสดงความคิดเห็น โดยส่วนตัวมองว่าไม่ค่อยเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่นำเงินจำนวนมากเข้าไปประมูลเท่าไร  เพราะหากหมายเลขช่องดังกล่าวไม่สามารถจัดเรียงอยู่บนแพลตฟอร์มระบบทีวีดาวเทียมได้ ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ชมเกิดความสับสน ดังนั้นควรให้ช่องหมายเลข 1-36 ขึ้นไปอยู่ช่องดังกล่าวในทุกแพลตฟอร์ม
    "หากย้อนไปดูในอดีตที่ผ่านมา พบว่าข้อกำหนดหรือคำสั่งที่กสทช.ออกมาแต่ละครั้งนั้น  ยังมีความซ้ำซ้อนกันอยู่หลายจุด เช่น การออกกฎมัสต์แฮฟและตามด้วยกฎมัสต์แคร์รี  ขณะเดียวกันก็ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่ชนะสูงสุด สามารถเลือกหมายเลขช่องเองได้ ในขณะเดียวกันก็ให้เจ้าของแพลตฟอร์มระบบทีวีดาวเทียมสามารถบริหารจัดการหมายเลขช่อง 1-10 เองได้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ทับซ้อนกันอยู่  อย่างนี้เป็นต้น"
    นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในเรื่องของผังรายการช่อง 3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการวางรูปแบบผังรายการที่เหมาะสมกับแต่ละช่อง อาทิ ช่อง 3 ระบบความคมชัดสูง(HD), ช่อง 3 (SD) และช่อง 3 Family(ช่องเด็ก) เป็นต้น ซึ่งการจัดวางผังใหม่ครั้งนี้น่าจะเริ่มเห็นการออกอากาศเกือบเต็มรูปแบบประมาณ 80-90% ภายในต้นปี2558ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์  ขณะเดียวกันบริษัทมองว่าการที่บริษัทมีช่องทีวีเพิ่มขึ้นส่งผลให้สามารถต่อยอดธุรกิจ ด้านอีเวนต์ และโฆษณามากขึ้น  ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีสมาคมเทควันโด เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรในการถ่ายทอดสดเป็นที่เรียบร้อยแล้วในช่อง 3 (SD)
    ขณะที่นางศุภสรณ์ โหรชัยชนะ ตัวแทนจากบริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเลขช่องเป็นเหมือนทรัพย์สินของบริษัทนั้นๆ แต่วันนี้เลขช่องได้กลายไปเป็นทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งก็เหมือนการโดนริบทรัพย์ หรือ ถูกปล้น มองว่าดาวเทียม-เคเบิลทีวีเสียเปรียบ เนื่องจากลงทุนเองมาทุกอย่าง หาลูกค้าเอง ไม่มีคูปองสนับสนุน เวลาโฆษณาก็น้อยกว่า จึงถือว่ากสทช. เลือกปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบการของ กสทช. กับผู้ประกอบการเคเบิลดาวเทียม (ร่าง)ประกาศดังกล่าว ไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ได้อย่างทั่วถึงและไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง  รวมทั้ง ยังเป็นการผลักภาระการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิตอลมายังผู้ให้บริการเคเบิลดาวเทียม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=253402:2014-11-07-08-27-34&catid=107:2009-02-08-11-34-25&Itemid=456#.VGMjRIdAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.