Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2557 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ปาถกฐาพิเศษเรื่อง Digital Economy กับประเทศไทย ชี้ ให้ความสำคัญต่อการทำงาน Hard Infrastructure,Soft Infrastructure,Service Infrastructure,Digital Society



ประเด็นหลัก


       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ปาถกฐาพิเศษเรื่อง Digital Economy กับประเทศไทย ในงาน 3 Years ETDA Enabling Digital Economy ว่า เรื่อง Digital Economy ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งพูดกันเมื่อ 3 เดือนก่อน แต่เป็นสิ่งที่พูดกันมามากกว่า 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุคเกิดอินเทอร์เน็ต แต่ที่ผ่านมา กลับผลักดันให้มันเกิดไม่ได้ ดังนั้น ในยุคนี้แนวคิดดังกล่าวจะเสร็จได้ต้องมาจากการให้ความสำคัญต่อการทำงานใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแรก การพัฒนา Hard Infrastructure เช่น การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร ทั้งการเชื่อมต่อในประเทศและต่างประเทศ สัญญาณต้องไม่สะดุด มีดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อรองรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ดูว่าส่วนไหนที่รัฐบาลมีศักยภาพในการดำเนินงานบ้าง และส่วนไหนควรให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ
     
       ด้านที่สอง การพัฒนา Soft Infrastructure เพื่อสร้างระบบการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานอย่างปลอดภัย มีระบบการยืนยันตัวทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้รู้ตัวตนที่แท้จริง รวมถึงต้องสร้างระบบ และกระบวนการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่กฎหมายรองรับ เวลาฟ้องร้องที่ศาล แล้วศาลต้องรับฟ้อง ที่สำคัญคือ ต้องมีทีมดูแลเรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ให้แก่ระบบที่ใช้ในการทำธุรกิจ และในหน่วยงานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้โดยตรง
     
       ด้านที่สาม การพัฒนา Service Infrastructure หรือการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมและการสร้างธุรกิจของประเทศ โดยอาจจะให้กูเกิลเข้ามาเป็นผู้พัฒนาให้ ด้านที่สี่ การส่งเสริม Digital Economy ด้วยการพัฒนาให้เกิดนักธุรกิจใหม่โดยใช้ไอทีเป็นเครื่องมือ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ไม่มีเงินลงทุนแต่มีความคิดดีๆ ในการสร้างธุรกิจจะมีโอกาสระดมทุนในโลกออนไลน์ ซึ่งเรื่องนี้ต้องตั้งหน่วยงานพี่เลี้ยงขึ้นมาดูแล เพื่อช่วยเหลือในการให้คำปรึกษา มีเครื่องมือ หรือระบบต่างๆ ที่สามารถเข้าไปศึกษา และใช้งานแบบออนไลน์ได้ แต่หากสุดท้ายผู้ประกอบการไม่สามารถทำเองได้ก็จะต้องมีการฝึกอบรมการใช้งาน
     
       “ใครมีไอเดีย แต่ไม่มีเงินทุนทำธุรกิจ ก็สามารถขายไอเดียในอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อระดมทุน หรือรัฐบาลเข้าไปร่วมลงทุนด้วย ในรูปแบบแบ่งรายได้กัน แต่ไม่ใช่การให้เงินกู้ ดังนั้น จึงต้องมีหน่วยงานพี่เลี้ยงช่วย ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนถึงการขยายตลาด หน่วยงานนี้อาจจะเป็นหน่วยงานใหม่ หรือหน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้วก็ได้ ตรงนี้จะทำให้เรามีกองทัพเอสเอ็มอีใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก”
     
       และด้านสุดท้ายคือ การพัฒนา Digital Society หรือการสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงเครือข่าย และข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้ง 5 ด้านนี้ต้องมีระบบการบริหารให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้การดำเนินการทั้ง 5 ด้านกระจัดกระจาย หรือต่างคนต่างทำ ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานในแต่ละด้าน ซึ่งกรรมการจะมาจากทั้งส่วนภาครัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระ ซึ่งทุกเรื่องต้องทำแบบเร่งด่วนจากเดิมใช้เวลา 10 ปี ก็ต้องให้เสร็จภายใน 1 ปีให้ได้ บางเรื่อง เช่น การพัฒนา Hard Infrastructure สามารถทำได้ 2 ช่วง ช่วงแรกในรัฐบาลนี้ และวางรูปแบบให้รัฐบาลหน้าทำในช่วงต่อไป ขณะที่เรื่อง Soft Infrastructure ที่มอบหมายให้ สพธอ.และการส่งเสริม Digital Economy ให้เกิดธุรกิจใหม่ ทำต้องเสร็จภายในปีนี้ ส่วนเรื่องที่กังวลว่าอาจจะเสร็จช้าหน่อยคือเรื่อง Service Infrastructure เพราะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มที่ต้องใช้เวลา


______________________________







“หม่อมอุ๋ย” ชี้ Digital Economy จะสำเร็จต้องปฏิรูป 5 ด้าน



        “หม่อมอุ๋ย” เผยกลไกสร้าง Digital Economy ภายใน 1 ปี ต้องเดินหน้าตามแผนงาน 5 ด้าน พร้อมตั้งคณะกรรมการจากภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระเพื่อทำงานร่วมกัน หลัง กม.สำคัญ 2 ฉบับ จาก 13 ฉบับ จะผ่าน สนช.ภายในสิ้นปีนี้ และกดปุ่มทำงานได้ทันที
     
       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ปาถกฐาพิเศษเรื่อง Digital Economy กับประเทศไทย ในงาน 3 Years ETDA Enabling Digital Economy ว่า เรื่อง Digital Economy ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งพูดกันเมื่อ 3 เดือนก่อน แต่เป็นสิ่งที่พูดกันมามากกว่า 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุคเกิดอินเทอร์เน็ต แต่ที่ผ่านมา กลับผลักดันให้มันเกิดไม่ได้ ดังนั้น ในยุคนี้แนวคิดดังกล่าวจะเสร็จได้ต้องมาจากการให้ความสำคัญต่อการทำงานใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแรก การพัฒนา Hard Infrastructure เช่น การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร ทั้งการเชื่อมต่อในประเทศและต่างประเทศ สัญญาณต้องไม่สะดุด มีดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อรองรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ดูว่าส่วนไหนที่รัฐบาลมีศักยภาพในการดำเนินงานบ้าง และส่วนไหนควรให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ
     
       ด้านที่สอง การพัฒนา Soft Infrastructure เพื่อสร้างระบบการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานอย่างปลอดภัย มีระบบการยืนยันตัวทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้รู้ตัวตนที่แท้จริง รวมถึงต้องสร้างระบบ และกระบวนการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่กฎหมายรองรับ เวลาฟ้องร้องที่ศาล แล้วศาลต้องรับฟ้อง ที่สำคัญคือ ต้องมีทีมดูแลเรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ให้แก่ระบบที่ใช้ในการทำธุรกิจ และในหน่วยงานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้โดยตรง
     
       ด้านที่สาม การพัฒนา Service Infrastructure หรือการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมและการสร้างธุรกิจของประเทศ โดยอาจจะให้กูเกิลเข้ามาเป็นผู้พัฒนาให้ ด้านที่สี่ การส่งเสริม Digital Economy ด้วยการพัฒนาให้เกิดนักธุรกิจใหม่โดยใช้ไอทีเป็นเครื่องมือ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ไม่มีเงินลงทุนแต่มีความคิดดีๆ ในการสร้างธุรกิจจะมีโอกาสระดมทุนในโลกออนไลน์ ซึ่งเรื่องนี้ต้องตั้งหน่วยงานพี่เลี้ยงขึ้นมาดูแล เพื่อช่วยเหลือในการให้คำปรึกษา มีเครื่องมือ หรือระบบต่างๆ ที่สามารถเข้าไปศึกษา และใช้งานแบบออนไลน์ได้ แต่หากสุดท้ายผู้ประกอบการไม่สามารถทำเองได้ก็จะต้องมีการฝึกอบรมการใช้งาน
     
       “ใครมีไอเดีย แต่ไม่มีเงินทุนทำธุรกิจ ก็สามารถขายไอเดียในอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อระดมทุน หรือรัฐบาลเข้าไปร่วมลงทุนด้วย ในรูปแบบแบ่งรายได้กัน แต่ไม่ใช่การให้เงินกู้ ดังนั้น จึงต้องมีหน่วยงานพี่เลี้ยงช่วย ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนถึงการขยายตลาด หน่วยงานนี้อาจจะเป็นหน่วยงานใหม่ หรือหน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้วก็ได้ ตรงนี้จะทำให้เรามีกองทัพเอสเอ็มอีใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก”
     
       และด้านสุดท้ายคือ การพัฒนา Digital Society หรือการสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงเครือข่าย และข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้ง 5 ด้านนี้ต้องมีระบบการบริหารให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้การดำเนินการทั้ง 5 ด้านกระจัดกระจาย หรือต่างคนต่างทำ ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานในแต่ละด้าน ซึ่งกรรมการจะมาจากทั้งส่วนภาครัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระ ซึ่งทุกเรื่องต้องทำแบบเร่งด่วนจากเดิมใช้เวลา 10 ปี ก็ต้องให้เสร็จภายใน 1 ปีให้ได้ บางเรื่อง เช่น การพัฒนา Hard Infrastructure สามารถทำได้ 2 ช่วง ช่วงแรกในรัฐบาลนี้ และวางรูปแบบให้รัฐบาลหน้าทำในช่วงต่อไป ขณะที่เรื่อง Soft Infrastructure ที่มอบหมายให้ สพธอ.และการส่งเสริม Digital Economy ให้เกิดธุรกิจใหม่ ทำต้องเสร็จภายในปีนี้ ส่วนเรื่องที่กังวลว่าอาจจะเสร็จช้าหน่อยคือเรื่อง Service Infrastructure เพราะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มที่ต้องใช้เวลา
     
       ด้าน นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หนึ่งในทีมผู้ทำ Digital Economy กล่าวว่า อย่างน้อยกฎหมาย 2 ฉบับ ใน 13 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที พร้อมทั้งหน่วยงานภายใต้สังกัด และ พ.ร.บ.กรรมการดิจิตอล อีโคโนมี เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการชุดนี้ ต้องผ่านสภานิติบัญญัติ (สนช.) ก่อน จึงจะเริ่มตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานใน 5 ด้านได้ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในปีนี้

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000130924

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.