Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 พฤศจิกายน 2557 PwC Consulting THAILAND จำนวนภัยคุกคามข้อมูลสารสนเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 3,741 เหตุการณ์ หรือเติบโต 25% จากปีก่อน ในขณะที่ความเสียหายทางการเงิน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 18%

ประเด็นหลัก


     ข้อเท็จจริงดังกล่าวสอดคล้องต่อผลสำรวจล่าสุดของบริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) ที่ระบุว่า จำนวนภัยคุกคามข้อมูลสารสนเทศ และไซเบอร์ครามทั่วโลกในปีที่ผ่านมามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3,741 เหตุการณ์ หรือเติบโต 25% จากปีก่อน ในขณะที่ความเสียหายทางการเงิน (Financial losses) ที่เกิดจากภัยคุกคามข้อมูลองค์กรก็เติบโตในทิศทางเดียวกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 18% โดยเฉลี่ยในช่วงเดียวกันของปีก่อน
     
       นายวรพงษ์ กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทต่างๆ ที่ทำธุรกิจในประเทศไทยว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงภัยของไซเบอร์คราม โดยมีเพียง 39 % ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่รับรู้ว่ามีภัยคุกคามรูปแบบนี้อยู่
     
       ทั้งนี้ 1 ใน 5 ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ประเมินว่า ความเสียหายที่เกิดจากไซเบอร์ครามอยู่ในวงเงินสูงถึง 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับไอทีในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นกรณีที่มีความซับซ้อน และตรวจสอบความเสียหายได้ยาก ดังนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่ว่า มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจริงจะสูงกว่าตัวเลขที่มีการประเมินกันไว้มาก


______________________________







PwC ชี้อาชญากรรมไซเบอร์ไม่ได้หยุดแค่ไอที



PwC ชี้ภัยคุกคามเติบโตจากปีก่อนไม่ต่ำกว่า 25% โดยมุ่งสร้างความเสียหายทางด้านการเงิน พร้อมระบุองค์กรส่วนใหญ่ในไทยยังไม่เท่าทันภัยคุกคาม ยกตัวอย่างภัยคุกคามจากการดักจับข้อมูลอีเมล ก่อนส่งอีเมลหลอกให้โอนเงิน
     
       นายวรพงษ์ สุธานนท์ หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในประเทศไทย จารกรรมทางไอทีก็เป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบ่อยมาก และไม่ได้เกิดขึ้นต่อบริษัทขนาดกลาง หรือขนาดเล็กเท่านั้น แม้กระทั่งบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ของไทยก็เคยได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์มาแล้ว และนี่ถือว่าเป็นภัยคุกคามที่มาแรงเป็นอันดับต้นๆ จากการทำงานร่วมกับธนาคารชั้นนำหลายแห่ง
     
       โดยที่ผ่านมา ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ได้รับการติดต่อจากบริษัทแห่งหนึ่งให้สืบสวนสอบสวนการปลอมแปลงข้อมูลในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของบริษัทขนาดกลางแห่งหนึ่ง โดยเมื่อหลายเดือนก่อน ลูกค้าของบริษัทดังกล่าวได้รับ E-mail จากทางบริษัทให้โอนเงินไปยังบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นบัญชีธนาคารเดิมที่เคยถูกใช้ในการหลอกลวงลูกค้าของบริษัทฯ มาแล้วเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น
     
       จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ส่งอีเมล พบว่า บัญชีดังกล่าวถูกจารกรรมจากแฮกเกอร์ในต่างประเทศ ซึ่งเมื่อแฮกเกอร์สามารถเข้าใช้งานโดยที่ไม่ต้องใส่รหัสผ่านได้แล้ว ก็สามารถดูข้อมูลจากบัญชีรายชื่อลูกค้าที่มีการติดต่อกับบริษัท และเขียนอีเมลไปยังลูกค้าให้โอนเงินเข้ามายังบัญชีธนาคารของแฮกเกอร์ได้ทันที
     
       กรณีนี้ทีมผู้เชี่ยวชาญของ PwC ตรวจสอบพบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทติดโทรจัน ซึ่งโทรจันสามารถขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปให้แฮกเกอร์ โดยแฮกเกอร์สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการเข้าถึงอีเมล จนกระทั่งสามารถเข้าถึงรายชื่อ และข้อมูลที่มีการติดต่อกับบริษัท นอกจากนั้นแล้ว โทรจันยังเป็น keyword locker โดยจดจำด้วยว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เคย key อะไรเข้าไปในเครื่องบ้าง ซึ่งทำให้สามารถทำให้มีจารกรรมเข้าไปถึงโปรแกรมต่างๆ ที่เคยมีการใช้งานได้ด้วย เช่น webcam
     
       ข้อเท็จจริงดังกล่าวสอดคล้องต่อผลสำรวจล่าสุดของบริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) ที่ระบุว่า จำนวนภัยคุกคามข้อมูลสารสนเทศ และไซเบอร์ครามทั่วโลกในปีที่ผ่านมามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3,741 เหตุการณ์ หรือเติบโต 25% จากปีก่อน ในขณะที่ความเสียหายทางการเงิน (Financial losses) ที่เกิดจากภัยคุกคามข้อมูลองค์กรก็เติบโตในทิศทางเดียวกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 18% โดยเฉลี่ยในช่วงเดียวกันของปีก่อน
     
       นายวรพงษ์ กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทต่างๆ ที่ทำธุรกิจในประเทศไทยว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงภัยของไซเบอร์คราม โดยมีเพียง 39 % ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่รับรู้ว่ามีภัยคุกคามรูปแบบนี้อยู่
     
       ทั้งนี้ 1 ใน 5 ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ประเมินว่า ความเสียหายที่เกิดจากไซเบอร์ครามอยู่ในวงเงินสูงถึง 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับไอทีในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นกรณีที่มีความซับซ้อน และตรวจสอบความเสียหายได้ยาก ดังนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่ว่า มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจริงจะสูงกว่าตัวเลขที่มีการประเมินกันไว้มาก
     
       “จากกรณีตัวอย่าง โทรจันที่เราตรวจพบเป็นโทรจันที่ออกมานานแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยไม่เฉลียวใจเพราะใช้โปรแกรม anti-virus ปลอม ซึ่งไม่สามารถตรวจพบ (detect) โทรจันดังกล่าวได้ ทุกวันนี้อาชญากรไซเบอร์ก่อเหตุกันง่ายมาก คนกลุ่มนี้แสวงหาโอกาสจากบริษัท หรือองค์กรต่างๆ ที่ขาดความระมัดระวังเรื่อง IT Security ซึ่งเมื่อเขาเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว ก็เท่ากับว่า เขายึดเครื่องเราไปทั้งเครื่องโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางนั่งเครื่องบิน แล้วใช้มีดใช้ปืนมาจี้เพื่อขู่กรรโชกทรัพย์ไปจากเรา”
     
       ทั้งนี้ ยังให้ความมั่นใจว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นต่อบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน แล้วไม่มีโปรแกรม anti-virus ซึ่งถ้าบริษัทยอมลงทุนติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมาย มีโปรแกรมสแกนไวรัสที่อัปเดต และมีประสิทธิภาพจริงๆ โทรจันตัวนี้ก็โดนตรวจพบนานแล้ว
     
       อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นกับบริษัทไหน ต้องมีหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญไปสืบค้นข้อเท็จจริงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วหาทางกำจัดอย่างถูกต้อง และเหมาะสม เพราะถ้าไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงแล้วจะก็ไม่สามารถหาทางกำจัดไปได้
     
       Company Relate Link :


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000132202

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.