Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2557 (บทความ) “ซีเอ” ชี้เทรนด์ใหม่แอปเปลี่ยนโลก // CTO CA Technology ได้เตรียมบริการ Management Cloud เพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้นในการบริหารโครงการต่างๆ ให้สัมฤทธิผลอย่างที่ตั้งใจ ด้วยการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการสร้างบริการให้แก่การดำเนินธุรกิจของกิจการ ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนในกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ด้วยเวลาที่รวดเร็ว

ประเด็นหลัก



 *** 3 ปัจจัยขับเคลื่อนสู่เทรนด์ใหม่
     
       Andi Mann Vice President office of the CTO CA Technology กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการข้อมูลที่หลากหลายบนหลายแพลตฟอร์ม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียกใช้การบริหารจัดการที่ดี และแน่นอนว่า ซีเอ ได้เตรียมบริการ Management Cloud เพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้นในการบริหารโครงการต่างๆ ให้สัมฤทธิผลอย่างที่ตั้งใจ ด้วยการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการสร้างบริการให้แก่การดำเนินธุรกิจของกิจการ ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนในกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ด้วยเวลาที่รวดเร็ว
     
       DevOps เป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น เนื่องจาก DevOps เป็นกระบวนการผสานกันระหว่างนักพัฒนาแอป และส่วนบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งคู่ให้ผสานกันได้อย่างลงตัว ด้วยความรวดเร็วที่สุด ด้วยแพลตฟอร์มที่สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย จนสามารถลดขนาดหน่วยงานพัฒนาแอปพลิเคชันลงได้ และส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลง และที่สำคัญ DevOps ยังสามารถเชื่อมต่อได้กับทุกแพลตฟอร์ม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานระบบเปิดที่สามารถพัฒนา และแก้ไขได้ในอนาคต
     
       แน่นอนว่าการเชื่อมต่อทุกที่ทุกอุปกรณ์ และทุกแพลตฟอร์มเป็นความท้าทายเรื่อง Security ที่หน่วยงานต้องจัดการให้ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งซีเอ ได้คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งขั้นตอนการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ทุกแพลตฟอร์ม และลงลึกถึงระดับ APIs เพื่อการบริหารความปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์ โดยความปลอดภัยในขั้นตอนการใช้งานนั้นต้องง่ายในการเข้าถึง และไม่ปิดกั้นความสามารถของการพัฒนาโปรแกรมเพื่อตอบสนองการใช้งานได้อย่างที่ตั้งใจ และท้ายที่สุดเป็นการส่งเสริมให้องค์กรก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างรวด เร็ว และประหยัดต้นทุนด้านเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
______________________________







“ซีเอ” ชี้เทรนด์ใหม่แอปเปลี่ยนโลก



        “ซีเอ เทคโนโลยี” เผยบริษัทในเอเชียจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจยุคแอปพลิเคชันมากที่สุด ขณะที่ผู้บริหารเทคโนโลยีกว่า 94% ถูกกดดันด้านเวลาในการสร้างแอปพลิเคชันให้ตอบสนองการดำเนินธุรกิจ พร้อมชี้เทรนด์ใหม่ยุคแอปพลิเคชันเปลี่ยนโลก ด้วยแนวทาง 3 ประสาน Management Cloud, DevOps, Security ตอบสนองการใช้งานทุกที่ทุกเวลา และทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาโซลูชันตอบสนองการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดต้นทุนมากที่สุด
     
       ซีเอ เทคโนโลยี เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด ชี้บริษัทระดับเอนเตอร์ไพรซ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น (APJ) จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเศรษฐกิจยุคแอปพลิเคชัน เมื่อเทียบกับบริษัทจากทวีปอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) โดยมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริหารธุรกิจ และไอทีระดับสูงในภูมิภาค APJ กล่าวว่า กำลังเห็นผลกระทบจากเรื่องนี้ต่ออุตสาหกรรมของตน (APJ : 57%, ทวีปอเมริกา : 46%, EMEA : 45% และมีอีก 53% ที่ระบุว่า เริ่มเห็นผลกระทบต่อบริษัทของตนบ้างแล้ว (ทวีปอเมริกา : 45%, EMEA : 35%)
     
       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น จะเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่มีจากระบบเศรษฐกิจในยุคแอปพลิเชันแล้ว แต่ในขณะนี้ยังมีน้อยกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (49%) เท่านั้นที่รู้สึกว่าตนเองรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงอุปสรรคสำคัญๆ อย่างเช่น การรักษาความปลอดภัยระบบ (41%) และติดขัดงบประมาณ (36%) เป็นต้น
     
       เคนเนธ อาเรนดอนโด ประธานและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น บริษัทซีเอ เทคโนโลยี เปิดเผยว่า ความเปลี่ยนแปลงของการเสพข้อมูลในโลกปัจจุบัน เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกเริ่มมีการปรับเปลี่ยน นั่นเพราะแอปพลิเคชันที่เกิดขึ้นใหม่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกนี้ทั้งใบ ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ วันนี้ทุกบริษัทกลายสภาพเป็นบริษัทด้านซอฟต์แวร์ที่เริ่มต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ไนกี้ อเมซอน และเทสโก้ ที่เริ่มมีการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินกิจการ ทุกกลุ่มธุรกิจเริ่มต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน เพื่อนำข้อมูลจากทุกสิ่งเข้ามาวิเคราะห์ และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาธุรกิจต่อไป
     
       จากการวิจัยในครั้งนี้ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจ และเพื่อการรับมือต่อเศรษฐกิจในยุคแอปพลิเคชัน ได้ทำให้บรรดาบริษัทเอนเตอร์ไพรซ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่นได้เริ่มเตรียมการเพิ่มระดับการลงทุนด้วยอัตราเฉลี่ยที่ราว 18% ภายในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า และเริ่มนำงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลับมาอยู่ภายในบริษัทมากขึ้น (เพิ่มขึ้น 4% ในช่วงเวลา 4 ปี ) หรือแม้กระทั่งเข้าซื้อกิจการบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพงานซอฟต์แวร์ของตัวเองให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยพบว่ามีถึง 38% ได้ซื้อกิจการบริษัทซอฟต์แวร์ไปแล้ว หรือวางแผนที่จะทำในปีหน้า โดยบางส่วนได้ดำเนินการเรื่องแอปให้ลูกค้าไปแล้วอย่างน้อยเฉลี่ย 6 ราย ในตลอดช่วงปีที่ผ่านมา โดยสถิติที่พบมี 42% ที่ได้พัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันให้แก่ลูกค้า 4 ราย หรือมากกว่านั้น
     
       นอกจากนี้ ผู้บริหารในสายงานธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ยังมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องแรงกดดันของเศรษฐกิจยุคแอป โดยมียอดผู้บริหารจำนวนมากถึง 94% ที่ระบุว่ากำลังเจอกับแรงกดดันให้ต้องเร่งออกซอฟต์แวร์แอปให้เร็วขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากลูกค้าเร่งรัดความต้องการ (58%) และแรงกดดันจากการแข่งขัน (65%) ถึงแม้จะเร่งความเร็วในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น (โดยเฉลี่ยทำได้ 6 แอปสาหรับลูกค้าภายนอก และอีก 6 แอปสำหรับงานภายในบริษัทในช่วงปีที่ผ่านมา) แต่มีผู้บริหารในสายงานธุรกิจ 15% เท่านั้นที่พอใจเต็มที่ต่อความเร็วในนำเสนอแอปพลิเคชัน และเซอร์วิสใหม่ๆ ดังนั้้น ผลก็คือกว่า 82% ของบริษัทเอนเตอร์ไพรซ์ที่มีการสำรวจได้มีการรับแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ แบบ DevOps มาใช้แล้ว หรือกำลังวางแผนที่จะมีเพื่อเร่งความเร็วในงานพัฒนาแอปพลิเคชันต่อไป
     
       “การมาของยุคอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาพบได้ทั่วไป มาจนถึงปัจจุบันที่แอปพลิเคชันได้กลายมาเป็นปัจจัยพื้นฐานในทุกธุรกิจที่ต้องการจะอยู่รอด และเติบโตให้ได้ในยุคเศรษฐกิจแอป ขณะที่ภูมิภาคที่มีการใช้เน็ตมากอย่างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น งานแอปพลิเคชันกำลังสร้างบทบาทใหม่ในส่วนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ติดต่อกับลูกค้า และบุกเบิกการขยายตัวทางธุรกิจ ซึ่งผลจากงานวิจัยในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจทางไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ได้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า เร็วกว่าในยุคเศรษฐกิจแอป” เคนเนธ อาเรนดอนโด ประธานและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น บริษัทซีเอ เทคโนโลยี กล่าวเสริม

“ซีเอ” ชี้เทรนด์ใหม่แอปเปลี่ยนโลก

        *** ช่องว่างระหว่างผู้นำ และผู้ตามท้ายสุด
     
       ในงานศึกษาชิ้นนี้ได้มีการแยกกลุ่ม “ผู้นำ” และ “ผู้ตามท้ายสุด” ในระบบเศรษฐกิจแอปพลิเคชัน ซึ่งในการยอมรับยุคเศรษฐกิจแอปนั้น ทางกลุ่ม “ผู้นำ” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานว่าเหนือกว่ากลุ่ม “ผู้ตามท้ายสุด” ในการชี้วัดทุกรูปแบบมาตรฐานทางธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้ขณะนี้ได้เกิดช่องว่างในการใช้งานแอปพลิเคชันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่นขึ้นมาแล้ว
     
       นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ในกลุ่ม “ผู้นำ” นั้นมียอดรายได้มากกว่า 4 เท่า และผลกำไรมากกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่ม “ผู้ตามท้ายสุด” รวมทั้งทางกลุ่ม “ผู้นำ” ยังได้เปรียบเชิงธุรกิจจากช่องทางใหม่ๆ ทางโปรดักต์ และเซอร์วิสมากกว่ากลุ่ม “ผู้ตามท้ายสุด” ถึงกว่า 2 เท่า “ผู้นำ” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ยังได้ใช้งานเทคโนโลยีและกระบวนการทำงานใหม่ๆ หลายอย่างเพื่อให้อยู่รอด และเติบโตในยุคเศรษฐกิจแอป โดยกว่า 43% ของกลุ่ม “ผู้นำ” ได้ใช้ทั้งวิธีการ และเทคโนโลยีที่สนับสนุนแนวคิด DevOps เพื่อเร่งอัตราการพัฒนาแอปพลิเคชัน ในขณะที่กลุ่ม “ทิ้งท้าย” มีการริเริ่มเรื่องนี้ไปแค่ 4% เท่านั้น อีกทั้งกลุ่ม “ผู้นำ” ยังมีค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาความปลอดภัยมากกว่ากลุ่ม “ผู้ตามท้ายสุด” และราวหนึ่งในสามของงบค่าใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมดจะถูกใช้เพื่อการนี้ในกลุ่มผู้นำ
     
       ส่งผลให้กลุ่ม “ผู้นำ” สามารถจัดการงานเรื่องไอทีในแบบธุรกิจ และมีประสิทธิภาพทางด้านงานไอทีเหนือกว่าในภาพรวม และมีแนวโน้มที่จะใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ มาจัดการงานไอทีให้เป็นแบบธุรกิจมากกว่า และบ่อยครั้งกว่าเมื่อเทียบกันกับกลุ่ม “ผู้ตามท้ายสุด” และมากกว่าสองในสาม (69%) ของกลุ่ม “ผู้นำ” กำลังปรับมาใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั่วทั้งบริษัท เพื่อเพิ่มความพอใจในการใช้งานของลูกค้า และออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่มีอัตราเพียง 14% เท่านั้นในกลุ่ม “ผู้ตามท้ายสุด”
     
       ทั้งนี้ ผลวิจัยดังกล่าวมาจากการศึกษากลุ่มผู้นำกว่า 650 ราย จากสายไอทีและธุรกิจจากหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงินการธนาคาร สาธารณสุข อุตสาหกรรมการผลิต ค้าปลีก โทรคมนาคม และสื่อมวลชน/บันเทิง ใน 6 ตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น เช่น ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมออกความเห็นในการศึกษาในครั้งนี้ที่ดำเนินงานโดยบริษัทวิจัย Vanson Bourne และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยี โดยการสำรวจในภูมิภาคนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจวิจัยตลาดระดับโลก ที่รวมถึงในอีก 9 ประเทศสำคัญในตลาดทวีปอเมริกา และตะวันออกกลาง และแอฟริกา EMEA

“ซีเอ” ชี้เทรนด์ใหม่แอปเปลี่ยนโลก
Andi Mann Vice President office of the CTO CA Technology

        *** 3 ปัจจัยขับเคลื่อนสู่เทรนด์ใหม่
     
       Andi Mann Vice President office of the CTO CA Technology กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการข้อมูลที่หลากหลายบนหลายแพลตฟอร์ม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียกใช้การบริหารจัดการที่ดี และแน่นอนว่า ซีเอ ได้เตรียมบริการ Management Cloud เพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้นในการบริหารโครงการต่างๆ ให้สัมฤทธิผลอย่างที่ตั้งใจ ด้วยการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการสร้างบริการให้แก่การดำเนินธุรกิจของกิจการ ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนในกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ด้วยเวลาที่รวดเร็ว
     
       DevOps เป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น เนื่องจาก DevOps เป็นกระบวนการผสานกันระหว่างนักพัฒนาแอป และส่วนบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งคู่ให้ผสานกันได้อย่างลงตัว ด้วยความรวดเร็วที่สุด ด้วยแพลตฟอร์มที่สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย จนสามารถลดขนาดหน่วยงานพัฒนาแอปพลิเคชันลงได้ และส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลง และที่สำคัญ DevOps ยังสามารถเชื่อมต่อได้กับทุกแพลตฟอร์ม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานระบบเปิดที่สามารถพัฒนา และแก้ไขได้ในอนาคต
     
       แน่นอนว่าการเชื่อมต่อทุกที่ทุกอุปกรณ์ และทุกแพลตฟอร์มเป็นความท้าทายเรื่อง Security ที่หน่วยงานต้องจัดการให้ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งซีเอ ได้คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งขั้นตอนการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ทุกแพลตฟอร์ม และลงลึกถึงระดับ APIs เพื่อการบริหารความปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์ โดยความปลอดภัยในขั้นตอนการใช้งานนั้นต้องง่ายในการเข้าถึง และไม่ปิดกั้นความสามารถของการพัฒนาโปรแกรมเพื่อตอบสนองการใช้งานได้อย่างที่ตั้งใจ และท้ายที่สุดเป็นการส่งเสริมให้องค์กรก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างรวด เร็ว และประหยัดต้นทุนด้านเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000134570

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.