Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 พฤศจิกายน 2557 GMM แบ่ง 3 ช่องทางหลัก คือ ช่องทางดิจิทัล ทั้งดาวน์โหลด สตรีมมิ่งผ่านแอปพลิเคชั่น KK Box ร่วมกับพันธมิตร รวมถึงช่องทางการขายสินค้ารูปแบบบันเทิง (Physical) เช่น ซีดี ดีวีดี เป็นต้น

ประเด็นหลัก




เบื้องต้นแบ่ง 3 ช่องทางหลัก คือ ช่องทางดิจิทัล ทั้งดาวน์โหลด สตรีมมิ่งผ่านแอปพลิเคชั่น KK Box ร่วมกับพันธมิตร คาดว่าไตรมาส 1 ปีหน้า บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากช่องทางแอปพลิเคชั่น KK Box ชัดเจนขึ้น รวมถึงช่องทางการขายสินค้ารูปแบบบันเทิง (Physical) เช่น ซีดี ดีวีดี เป็นต้น

"จากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ทั้งดิจิทัลดาวน์โหลด ยูทูบ ช่องทางการฟังเพลงรูปแบบสตรีมมิ่ง ล้วนแต่เป็นเครื่องมือผลักดันให้รายได้ของธุรกิจเพลงปีหน้าพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง"

ตามด้วยการบริหารลิขสิทธิ์เพลง เช่น การจัดเก็บลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งผับบาร์ ร้านอาหาร รวมถึงการบริหารศิลปิน อีเวนต์ พรีเซ็นเตอร์ และช่องทางสุดท้าย คือ ธุรกิจโชว์บิซและคอนเสิร์ต หลังจากเปิดตัว "เมืองไทย จีเอ็มเอ็ม ไลฟ์เฮ้าส์" ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ ก็จะสามารถพัฒนาคอนเสิร์ตให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม ด้วยแผนธุรกิจดังกล่าว คาดว่าปีหน้าจะมีรายได้จากธุรกิจเพลงเพิ่มเป็น 3,000 ล้านบาทจากสิ้นปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ 2,500 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโชว์บิซและช่องทางดิจิทัลดาวน์โหลดเติบโตลดลง เรียกได้ว่า ปีหน้าธุรกิจเพลงของแกรมมี่ จะกลับมามีรายได้แบบเป็นกอบเป็นกำอีกครั้ง

______________________________







"ยกเครื่อง" ธุรกิจเพลง แกรมมี่-อาร์เอส ปั้นรายได้



ต้องเรียกว่าโชกโชน !!! สำหรับธุรกิจค่ายเพลงที่เวลานี้มีคู่แข่งหลักจริง ๆ แค่ 2 ค่ายยักษ์ แกรมมี่และอาร์เอส และยังไม่นับรวมคู่แข่งอย่างโซนี่มิวสิคไทยแลนด์และเลิฟอีส ที่อยู่ภายใต้ "บีอีซี-เทโร มิวสิค"

ตั้งแต่ยุคแรกที่เพลง คือ "เมนสตรีม" เป็นรายได้หลักอย่างแท้จริง จากการขายเทป ซีดี ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดาวน์โหลด และสตรีมมิ่งในขณะนี้

แม้ว่าพฤติกรรมการฟังเพลงของคนจะไม่ได้ลดลง แต่การใช้เงินกับการฟังเพลงน้อยลง สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีเอื้อให้เกิดทางเลือก และส่วนใหญ่เป็นช่องทางที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย กลายเป็นโจทย์สุดหินให้ "ธุรกิจเพลง" ต้องยกเครื่องและเฟ้นโมเดลการสร้างรายได้

"กริช ทอมมัส" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจเพลง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แต่ละปีบริษัทผลิตเพลงเฉลี่ย 300 เพลงต่อปี ซึ่งเพลง คือ Live ทำให้การบริหารธุรกิจเพลงต้องปรับตัวต่อเนื่อง ด้วยการสร้างช่องทางใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเพลง

"แนวทางการสร้างรายได้จากเพลงเปลี่ยนไป วันนี้ต้องมองว่า นำเพลงไปผูกกับธุรกิจไหนก็ต้องมีสร้างรายได้ทันที เช่น คอนเสิร์ต โชว์บิซ การขายแผ่นดีวีดี ซีดี เป็นต้น"

ขณะเดียวกัน แนวทางการบริหารธุรกิจเพลงปี 2558 บริษัทจะต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ ด้วยการบริหารธุรกิจเพลงครบวงจรมากขึ้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดช่องทางการสร้างรายได้ให้ชัดเจนขึ้น

เบื้องต้นแบ่ง 3 ช่องทางหลัก คือ ช่องทางดิจิทัล ทั้งดาวน์โหลด สตรีมมิ่งผ่านแอปพลิเคชั่น KK Box ร่วมกับพันธมิตร คาดว่าไตรมาส 1 ปีหน้า บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากช่องทางแอปพลิเคชั่น KK Box ชัดเจนขึ้น รวมถึงช่องทางการขายสินค้ารูปแบบบันเทิง (Physical) เช่น ซีดี ดีวีดี เป็นต้น

"จากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ทั้งดิจิทัลดาวน์โหลด ยูทูบ ช่องทางการฟังเพลงรูปแบบสตรีมมิ่ง ล้วนแต่เป็นเครื่องมือผลักดันให้รายได้ของธุรกิจเพลงปีหน้าพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง"

ตามด้วยการบริหารลิขสิทธิ์เพลง เช่น การจัดเก็บลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งผับบาร์ ร้านอาหาร รวมถึงการบริหารศิลปิน อีเวนต์ พรีเซ็นเตอร์ และช่องทางสุดท้าย คือ ธุรกิจโชว์บิซและคอนเสิร์ต หลังจากเปิดตัว "เมืองไทย จีเอ็มเอ็ม ไลฟ์เฮ้าส์" ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ ก็จะสามารถพัฒนาคอนเสิร์ตให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม ด้วยแผนธุรกิจดังกล่าว คาดว่าปีหน้าจะมีรายได้จากธุรกิจเพลงเพิ่มเป็น 3,000 ล้านบาทจากสิ้นปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ 2,500 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโชว์บิซและช่องทางดิจิทัลดาวน์โหลดเติบโตลดลง เรียกได้ว่า ปีหน้าธุรกิจเพลงของแกรมมี่ จะกลับมามีรายได้แบบเป็นกอบเป็นกำอีกครั้ง

ฟาก อาร์เอส หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงแบบยกเครื่อง โดยรวมการบริหารค่ายเพลงสตริงและเพลงลูกทุ่งเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเพลง "ศุภชัย นิลวรรณ" รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มธุรกิจเพลง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า แม้ผู้บริโภคไม่ได้ฟังเพลงลดลง แต่ใช้เงินกับเพลงน้อยลง เนื่องจากมีช่องทางการฟังเพลงที่หลากหลาย ทั้งดาวน์โหลด ออนไลน์ ยูทูบ ทำให้โจทย์ของธุรกิจเพลงยากขึ้น และการสร้างรายได้จากธุรกิจเพลงก็ต้องเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมที่มีรายได้หลักจากการขายเทป ซีดี

เมื่อความเคลื่อนไหวเปลี่ยนเร็ว การบริหารธุรกิจเพลงก็ต้องเปลี่ยนตาม ต้องปรับกลยุทธ์ วางแผนธุรกิจ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยการหาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจเพลงเข้ามาทดแทน

"ศุภชัย" ชี้ให้เห็นว่า อาร์เอสมอง "เพลง" คือ ธุรกิจต้นน้ำ ดังนั้นต้องนำเพลงไปต่อยอดสู่ธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะธุรกิจสื่อ ทั้งช่องทีวีดิจิทัล ช่องทีวีดาวเทียม แม้การดึงนักร้องมาเป็นนักแสดง เล่นละครให้แก่ช่องทีวีก็ล้วนแต่เป็นการใช้เพลงเป็นต้นน้ำต่อยอดสู่ธุรกิจ อื่น ๆ รวมถึงการไทอิน (Tie-in) สินค้าผ่านมิวสิกวิดีโอของนักร้อง ก็ล้วนเป็นช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ ๆ เช่นกัน

เท่ากับว่า โมเดลการสร้างรายได้จากธุรกิจเพลงวันนี้ ไม่มีสูตรสำเร็จแค่หนึ่งช่องทางอีกต่อไป แต่มาจากทุกทิศทุกทาง กลายเป็นความท้าทายอีกครั้งของค่ายเพลง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416857321

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.