Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 พฤศจิกายน 2557 คตง.สุทธิพล ( อดีย กสทช. ) ชี้ รัฐบาลจะกำกับ กสทช. ให้ความสำคัญกับดิจิทัลอีโคโนมี ต้องให้ กสทช.บริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงกฎหมายให้ตอบสนองความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ใช่ลดสถานะหรือเปลี่ยน องค์กร

ประเด็นหลัก


ฟาก อดีต กสทช. "สุทธิพล ทวีชัยการ" ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) กล่าวว่า แนวทางสากลการกำกับดูแลกิจการด้านกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและสาธารณะ ต้องมีองค์กรกำกับดูแลเฉพาะ เพื่อให้ความถี่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสร้างตลาดที่แข่งขันเสรีเป็นธรรม เปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทานโดยภาครัฐเป็นการให้ใบอนุญาต การคงอยู่ไว้ของ กสทช.จึงเป็นประโยชน์และที่ต้องเป็นองค์กรอิสระเพื่อให้ทำงานต่อ เนื่องแม้เปลี่ยนรัฐบาล ถ้าเห็นว่ามีปัญหาก็ให้ปรับปรุง เพราะ กสทช.มีข้อจำกัดด้านกฎหมายหลายอย่างทำให้ทำงานไม่ได้เต็มที่

"หาก รัฐบาลต้องการให้ความสำคัญกับดิจิทัลอีโคโนมี ต้องให้ กสทช.บริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงกฎหมายให้ตอบสนองความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ใช่ลดสถานะหรือเปลี่ยน องค์กร ประเด็นการใช้เงิน ต้องดูว่าใช้จ่ายมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนแล้วค่อยแก้ไข การที่จะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภารกิจ กรณีไปต่างประเทศต้องดูวัตถุประสงค์ เพราะ กสทช.เป็นองค์กรที่นำรูปแบบการทำงานมาจากต่างประเทศ ต้องทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศมาก"

ส่วนแนวคิดที่จะรวม "กสทช." ให้มีกรรมการแค่ชุดเดียว ตนมองว่าจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น และเป็นองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนดิจิทัลอีโคโนมีได้อย่างดี



______________________________







"กสทช." ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง ยุบรวม 2 บอร์ด-ทอนอำนาจ


เป็นเรื่องร้อนอีกครั้งสำหรับ "กสทช." เมื่อ "วัลลภ ตังคณานุรักษ์" สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" ในการประชุม สนช. โดยขอให้ชี้แจงแนวทางการปรับปรุงกระบวนการจัดทำงบประมาณ รวมถึงมาตรการเร่งด่วนในการตรวจสอบและควบคุมการใช้จ่ายของ กสทช. หลังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พบว่าในปี 2556 ใช้จ่ายมากเกินจำเป็น

"กสทช. คัดเลือกมาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ แต่มีคณะปฏิบัติงานประจำรวมกว่า 110 คน มีคณะอนุกรรมการและคณะทำงานรวมกันอีกกว่า 900 คน ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงใช้เงินได้มากมายมหาศาล รัฐบาลไม่มีสิทธิยับยั้งหรือ มีองค์กรอิสระมากมายแต่ไม่มีกระบวนการตรวจสอบจึงมองว่า กสทช. ยุบได้ก็ควรยุบ"

และถ้าจะแก้กฎหมายควรปรับให้รวมเป็นชุดเดียว ไม่ใช่แยก กสท. และ กทค. เพราะประชุมแต่ละครั้ง โหวตแค่ 3 เสียงก็ชนะแล้ว รวมเป็นชุดเดียว ชนะโหวต 6 เสียงดีกว่า

ฟากรองนายกรัฐมนตรี "วิษณุ เครืองาม"ชี้ แจงแทน โดยระบุว่า กสทช.เป็นองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษไม่ถือเป็นส่วนราชการไม่อยู่ ใต้การควบคุมของรัฐ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นเอกเทศ มีความเป็นอิสระในเชิงงบประมาณ การดูงานจำเป็นหรือไม่ อยู่ที่ กสทช.พิจารณา รัฐบาลหรือแม้แต่รัฐสภาเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ มีได้กรณีเดียวตามมาตรา 65 และมาตรา 66 พ.ร.บ. กสทช.ที่ระบุว่า ถ้า กสทช.มีงบประมาณไม่พอรัฐต้องจัดงบประมาณเข้าไปอุดหนุนให้ แต่ตั้งแต่มี กสทช.รายได้มากจึงไม่เคยขอเงินอุดหนุนเพิ่ม

"ต้องพูดกันด้วยความเข้าใจและเห็นใจ กสทช.ด้วย กสทช.เคยประสานขอให้สำนักงบประมาณนำงบรายรับจ่ายเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของกรรมาธิการงบ ประมาณ เพื่อให้กรรมาธิการเชิญ กสทช.ไปซักถามได้ แต่กรรมาธิการงบประมาณแจ้งเป็นทางการไปแล้วว่าไม่มีอำนาจดำเนินการ น่าจะใช้ช่องทางกรรมาธิการปกติอื่น มีเพียง สตง.ที่ตรวจสอบได้ ซึ่ง ครม.และสมาชิก สนช.ได้เห็นรายงานแล้ว"

การแก้ปัญหาในอนาคตจะมีการแก้ กฎหมายเพื่อให้ตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้กรรมาธิการงบประมาณเข้าไปตรวจสอบ หรือกำหนดให้งบประมาณรายจ่าย กสทช. ต้องประกาศลงราชกิจจานุเบกษา หรือให้ขึ้นเว็บไซต์ ซึ่งรัฐบาลกำลังจะแก้ พ.ร.บ. กสทช. แต่ในประเด็นอื่นก็จะทำควบคู่ไป

"จากการประสานงานเป็นการภายใน กสทช.ยินดีปรับปรุง เพราะไม่สบายใจและอึดอัดใจพอสมควร ยินดีให้ตรวจสอบ"

ก่อน หน้านี้ มีประกาศ คสช.แก้กฎหมาย กสทช. เรื่องการนำส่งเงินประมูลไปแล้วจากที่ต้องส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ได้แก้ให้นำส่งเข้าเป็นเงินแผ่นดิน และแก้องค์ประกอบคณะกรรมการกองทุน เพราะขาดหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้เพิ่มตัวแทนจากสำนักงบประมาณและกระทรวง กลาโหมแต่จะให้มีประกาศ คสช.ไปถึงขั้นยุบ กสทช. หรือแก้ไขสิ่งอื่นที่มากกว่านี้ อยากให้รอมี สนช.ก่อน เพื่อความรอบคอบและให้เป็นผลของการปฏิรูปจะดีกว่า

"ถ้ายุบ กสทช.แล้วไม่รอบคอบวางกรอบโครงสร้างที่ดีไว้ก่อน กระทรวงใหม่ที่จะมาก็จะมาสวมทับปัญหาเดิมอีก"

ฟาก อดีต กสทช. "สุทธิพล ทวีชัยการ" ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) กล่าวว่า แนวทางสากลการกำกับดูแลกิจการด้านกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและสาธารณะ ต้องมีองค์กรกำกับดูแลเฉพาะ เพื่อให้ความถี่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสร้างตลาดที่แข่งขันเสรีเป็นธรรม เปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทานโดยภาครัฐเป็นการให้ใบอนุญาต การคงอยู่ไว้ของ กสทช.จึงเป็นประโยชน์และที่ต้องเป็นองค์กรอิสระเพื่อให้ทำงานต่อ เนื่องแม้เปลี่ยนรัฐบาล ถ้าเห็นว่ามีปัญหาก็ให้ปรับปรุง เพราะ กสทช.มีข้อจำกัดด้านกฎหมายหลายอย่างทำให้ทำงานไม่ได้เต็มที่

"หาก รัฐบาลต้องการให้ความสำคัญกับดิจิทัลอีโคโนมี ต้องให้ กสทช.บริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงกฎหมายให้ตอบสนองความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ใช่ลดสถานะหรือเปลี่ยน องค์กร ประเด็นการใช้เงิน ต้องดูว่าใช้จ่ายมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนแล้วค่อยแก้ไข การที่จะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภารกิจ กรณีไปต่างประเทศต้องดูวัตถุประสงค์ เพราะ กสทช.เป็นองค์กรที่นำรูปแบบการทำงานมาจากต่างประเทศ ต้องทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศมาก"

ส่วนแนวคิดที่จะรวม "กสทช." ให้มีกรรมการแค่ชุดเดียว ตนมองว่าจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น และเป็นองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนดิจิทัลอีโคโนมีได้อย่างดี

จะยุบรวมหรือยกลดสถานะไปอยู่ในกำกับของกระทรวงใหม่หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416808291

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.