Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 พฤศจิกายน 2557 ICT.พรชัย ระบุ TOT ได้ส่งรายละเอียดทรัพย์สินอย่างละเอียดมาให้แล้ว ซึ่งไม่ขอเปิดเผย ต้องรวม CAT และหน่วยงานอื่นๆ เช่น ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ( เพื่อให้การลงทุนในอนาคตไม่ซ้ำซ้อน )



ประเด็นหลัก

    นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ยังมีพื้นที่ที่ต้องขยายโครงข่ายเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน โดยน่าจะใช้เงินลงทุนเบื้องต้นมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งอาจจะแบ่งการดำเนินการเป็นระยะไป นอกเหนือจากงบประมาณของไอซีทีที่มีอยู่เดิมราว 3.7 พันล้านบาท ซึ่งขั้นตอนการของบประมาณจะเขียนรวบรวมไปในแผนที่ต้องเสนอคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
    "ผมประเมินว่า คงต้องใช้เงินมหาศาล แต่เบื้องต้นในเฟสแรก ก็น่าจะมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท คงต้องมาทำบรอดแบนด์ให้มีอัตราเข้าถึงมากขึ้นจากปัจจุบันราว 20 ล้านคน ให้เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวใน 3-5 ปีตามแผนดิจิตอลอีโคโนมี ส่วนเม็ดเงินจากอุตสาหกรรมไอทีก็น่าจะเพิ่มขึ้นได้เท่าตัวเป็น 1.2 ล้านล้านบาท จากที่ปี 2557 นี้คาดว่าจะอยู่ที่ 6.2 แสนล้านบาท" รมว.ไอซีทีกล่าว
    ทั้งนี้ ล่าสุด บมจ.ทีโอที ได้ส่งรายละเอียดทรัพย์สินอย่างละเอียดมาให้แล้ว ซึ่งไม่ขอเปิดเผย เพราะจะต้องนำไปรวมกับของ บมจ.กสท โทรคมนาคม อีกครั้งหนึ่ง แต่ที่เปิดเผยได้คือ ทั้ง 2 องค์กร มีสายไฟเบอร์ออพติกความยาวรวมกัน 110,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ ไอซีทีกำลังประสานไปยังหน่วยงานอื่นทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงข่ายลาสไมล์ที่เข้าถึงภาคครัวเรือนว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อให้การลงทุนในอนาคตไม่ซ้ำซ้อน



______________________________







ไอซีทีชงของบหมื่นล้าน จุดเชื้อดิจิตอลอีโคโนมี


  ไอซีทีเล็งของบเฟสแรกหมื่นล้าน หนุนแผนปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมเร่ง บมจ.ทีโอที-บมจ.กสทฯ แสดงบัญชีทรัพย์สิน ซิสโก้ดึงนักวิเคราะห์ต่างชาติตั้งทีมหนุนนโยบายดิจิตอลอีโคโนมี
    นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ยังมีพื้นที่ที่ต้องขยายโครงข่ายเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน โดยน่าจะใช้เงินลงทุนเบื้องต้นมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งอาจจะแบ่งการดำเนินการเป็นระยะไป นอกเหนือจากงบประมาณของไอซีทีที่มีอยู่เดิมราว 3.7 พันล้านบาท ซึ่งขั้นตอนการของบประมาณจะเขียนรวบรวมไปในแผนที่ต้องเสนอคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
    "ผมประเมินว่า คงต้องใช้เงินมหาศาล แต่เบื้องต้นในเฟสแรก ก็น่าจะมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท คงต้องมาทำบรอดแบนด์ให้มีอัตราเข้าถึงมากขึ้นจากปัจจุบันราว 20 ล้านคน ให้เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวใน 3-5 ปีตามแผนดิจิตอลอีโคโนมี ส่วนเม็ดเงินจากอุตสาหกรรมไอทีก็น่าจะเพิ่มขึ้นได้เท่าตัวเป็น 1.2 ล้านล้านบาท จากที่ปี 2557 นี้คาดว่าจะอยู่ที่ 6.2 แสนล้านบาท" รมว.ไอซีทีกล่าว
    ทั้งนี้ ล่าสุด บมจ.ทีโอที ได้ส่งรายละเอียดทรัพย์สินอย่างละเอียดมาให้แล้ว ซึ่งไม่ขอเปิดเผย เพราะจะต้องนำไปรวมกับของ บมจ.กสท โทรคมนาคม อีกครั้งหนึ่ง แต่ที่เปิดเผยได้คือ ทั้ง 2 องค์กร มีสายไฟเบอร์ออพติกความยาวรวมกัน 110,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ ไอซีทีกำลังประสานไปยังหน่วยงานอื่นทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงข่ายลาสไมล์ที่เข้าถึงภาคครัวเรือนว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อให้การลงทุนในอนาคตไม่ซ้ำซ้อน
    นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ซิสโก้ตั้งเป้าหมายการเติบโตที่เหนือตลาดมาตลอดอยู่แล้ว คาดว่าปีหน้าจะมีสัดส่วนการเติบโตมากกว่า 4-5% ของจีดีพีในประเทศ โดยมองว่าปี 58 ธุรกิจจะมีความสดใสมากกว่าปีนี้ เพราะในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศพอสมควร แต่ตอนนี้มีสัญญาณดีขึ้นตั้งแต่มีรัฐบาล เพราะเริ่มมีการลงทุนในภาครัฐ
    ทั้งนี้ ยังมองว่าในการลงทุนภาคเอกชนยังคงมีสัดส่วนที่ใหญ่กว่าภาครัฐ เพราะนโยบายภาครัฐในส่วนดิจิตอล อีโคโนมี ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นแนวทางใด และรัฐจะลงทุนส่วนใดเป็นหลัก บริษัทจึงต้องรอดูท่าทีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ได้มองหาทีมนักวิเคราะห์จากต่างชาติเข้ามาเป็นที่ปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมกับเรื่องนี้แล้ว เพื่อจะได้ตอบสนองนโยบายของรัฐได้ทันท่วงที ว่าจะพัฒนาเพื่อลงทุนด้านใดได้บ้าง.

http://www.thaipost.net/news/251114/99463

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.