Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 พฤศจิกายน 2557 Nectec.ศรัณย์ ระบุ ถ้ามีกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดขึ้นจริงแล้ว หากจะมีการพัฒนาองค์กรที่ทำหน้าที่ต่อยอดในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่แล้ว อาจมีการสร้างทีมงานเฉพาะขึ้นมาดูแลก็ได้ เชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ประเด็นหลัก


- มีแนวคิดที่จะให้โยกมาอยู่กระทรวงไอซีที

งานวิจัยและพัฒนาอยู่ที่ไหนก็ทำได้ตลอด แต่คิดว่ากระทรวงไอซีทีเองก็มีบุคลากรทำงานร่วมกันอยู่แล้ว การจะโอนเนคเทคให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงไอซีทีนั้น ถือว่าค่อนข้างเป็นไปได้ยาก น่าจะเป็นลักษณะการอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันมากกว่า แต่ถ้ามีกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดขึ้นจริงแล้ว หากจะมีการพัฒนาองค์กรที่ทำหน้าที่ต่อยอดในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่แล้ว อาจมีการสร้างทีมงานเฉพาะขึ้นมาดูแลก็ได้ เชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

บทบาทของเนคเทคก็ยังเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แต่ก็ต้องดูบริบทในการรับนโยบายมาพัฒนาต่อยอดด้วย



______________________________







เน้น R&D เสริม "ศก.ดิจิทัล" ภารกิจ-บทบาท "เนคเทค" ยุคใหม่


เข้าสู่ยุคผลัดใบ ส่งไม้ต่อให้ผู้บริหารรุ่นใหม่ เมื่อ "ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์" อดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) หมดวาระไปเมื่อ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากทำหน้าที่นี้มายาวนานถึง 8 ปี ล่าสุด "เนคเทค" ได้นักวิจัยหนุ่มรุ่นใหม่วัย 41 ปี "ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร" มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการแทน

ดร.ศรัณย์เป็นนักวิจัยที่เนคเทคมาตั้งแต่ปี 2544 เชี่ยวชาญด้านการผสานความรู้ทั้งด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของแสง อิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ สร้างผลงานที่นำไปใช้ได้จริงทั้งด้านเกษตร ความมั่นคงโทรคมนาคม อาทิ เครื่องตรวจคุณภาพเมล็ดข้าว เครื่องตรวจบัตรเครดิตปลอม อุปกรณ์สวิตชิ่ง และอุปกรณ์ควบคุมความเข้มแสง

เรียกว่าเป็นนักวิจัยพัฒนาเต็มขั้นเมื่อได้รับเลือกให้มานั่งเก้าอี้นี้ เจ้าตัวเองถึงกับออกปากว่า "เป็นการเข้ารับตำแหน่งโดยไม่คาดคิด และยังอยากกลับไปทำงานวิจัยเต็มตัว"

ถึงอย่างนั้นเมื่อต้องมารับงานด้านบริหารเป็นเวลา 4 ปี จากนี้ก็พร้อมเต็มที่กับการทำงาน "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับผู้อำนวยการ "เนคเทค" คนใหม่ถึงทิศทางต่อจากนี้ ซึ่งถือเป็นจังหวะเวลาที่สำคัญไม่น้อย ด้วยว่านโยบาย "เศรษฐกิจดิจิทัล" ของรัฐบาลยุคในปัจจุบันที่่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างองค์กร

- ทิศทางของเนคเทคจากนี้

จะยังคงเน้นการสร้างงานวิจัยและต่อยอดให้เกิดการนำไปใช้งานจริง เพื่อให้เกิดผลในทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างผลงานให้มีมูลค่าและคุณค่าเป็นที่ยอมรับได้ต่อไป เพราะคนไทยเข้าสู่ยุคไอทีอย่างเต็มตัวแล้ว การนำความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่น ๆ กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้ว

เนคเทคยุคนี้จึงต้องมุ่งทำภารกิจที่ตอบสนองความต้องการของหลายภาคส่วนในประเทศ พร้อมกับการสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเป็นเลิศของไทยในวงการวิจัยระดับโลก โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพให้ภาคอุตสาหกรรมและสังคม การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรผ่านการสร้างองค์ความรู้ที่จะเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศ

- โครงสร้างเนคเทคจะเปลี่ยนไป

ยังเหมือนเดิม มีรอง ผอ. 4 คนดูแลงาน 4 ด้าน ทั้งซอฟต์แวร์ นวัตกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในภาคธุรกิจและการวางแผนกลยุทธ์การจัดการ แต่ภารกิจจะต่างจากเดิมที่เน้นการวิจัยเป็นหลัก

- มีแนวคิดที่จะให้โยกมาอยู่กระทรวงไอซีที

งานวิจัยและพัฒนาอยู่ที่ไหนก็ทำได้ตลอด แต่คิดว่ากระทรวงไอซีทีเองก็มีบุคลากรทำงานร่วมกันอยู่แล้ว การจะโอนเนคเทคให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงไอซีทีนั้น ถือว่าค่อนข้างเป็นไปได้ยาก น่าจะเป็นลักษณะการอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันมากกว่า แต่ถ้ามีกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดขึ้นจริงแล้ว หากจะมีการพัฒนาองค์กรที่ทำหน้าที่ต่อยอดในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่แล้ว อาจมีการสร้างทีมงานเฉพาะขึ้นมาดูแลก็ได้ เชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

บทบาทของเนคเทคก็ยังเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แต่ก็ต้องดูบริบทในการรับนโยบายมาพัฒนาต่อยอดด้วย

- งานตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

เศรษฐกิจดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่หลายหน่วยงานโดยเฉพาะเอกชนเริ่มทำไปแล้วอย่างอีคอมเมิร์ซ ขณะที่เนคเทคก็มีส่วนร่วมในหลายด้าน เช่น การพัฒนาด้านการเกษตร ก็มีโจทย์ว่า ทำอย่างไรถึงจะเอาเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลมาปรับใช้ได้

การมีนโยบายเป็นเสมือนการชี้ว่าจะมีการสนับสนุนอย่างจริงจังในการพัฒนาประเทศ ซึ่งกระทรวงไอซีทีก็ได้ขอยืมตัวบุคลากรของทั้ง สวทช. และเนคเทค 20 กว่าคนไปร่วมกันทำงานตามนโยบาย

- อะไรเป็นงานเร่งด่วน

ในปี 2558 คือเรื่องการเกษตร ตามนโยบายรัฐบาลคือให้เอาผลงานวิจัยไปใช้ในพื้นที่จริงเป็นการสร้างประโยชน์จากนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และ SMEs เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

ที่กำลังทำอยู่คือ การช่วยเหลือในการลงทะเบียนเกษตรกร การจัดโซนนิ่งด้านเกษตรกรรม การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ E-learning การวิจัยและพัฒนาสุขภาพการแพทย์ ซึ่งต้องบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วยในปีงบประมาณ 2558 เนคเทคต้องเน้นนำงานวิจัยไปใช้จริง ไม่ใช่เก็บองค์ความรู้ไว้กับตัว

- งบประมาณที่ได้รับ

ปัจจุบันมี 2 ทาง คืองบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาภายใน ซึ่งจะมีอยู่ราวปีละ 40-50 ล้านบาท เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานให้พร้อมต่อยอด และจากภายนอกที่เนคเทครับจ้างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการทำวิจัยพัฒนา ซึ่งมีมูลค่าอยู่ราว 100 ล้านบาท

- งานวิจัยหลักจากนี้

เราต้องทำงานภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล ซึ่งแบ่งโจทย์ไว้ 7 ด้าน คือ อาหารและการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ ทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อม ชุมชนชนบทและผู้ด้อยโอกาส สุขภาพการแพทย์ และความมั่นคง ซึ่งเนคเทคต้องช่วยวิจัยเพื่อนำความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เข้าไปตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศ


ภาพจาก superict.com


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416856673

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.