Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ธันวาคม 2557 (บทความ) เปิดใจกุนซือ "ดิจิทัลอีโคโนมี" "รื้อ-โละ-สร้าง" พลิกโฉมประเทศ // สิทธิชัย โภไคยอุดม ระบุ หัวใจอยู่ที่โครงข่ายไฟเบอร์ออปติก ใช้งบฯรัฐราว 2 หมื่นล้านบาท อีก 8 หมื่นล้านบาทน่าจะหาจากตลาดหลักทรัพย์

ประเด็นหลัก


- สิ่งที่จะเป็นรูปธรรมในปี 2558

นอกจากบอร์ดกับกระทรวงใหม่ ที่สำคัญคือโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกต้องเข้าถึงทุกหมู่บ้านใน 3 ปี ปีแรกถึงทุกตำบล ได้เห็นอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดงสายโทรศัพท์ที่ให้ความเร็ว 100-200 Mbps ถึงทุกบ้านที่ต้องการ



- อนาคตวางทีโอที-กสทฯไว้แบบไหน

เป็นองค์กรที่มีคนมีความสามารถเยอะ แต่ต้องปรับปรุงวิธีคิดการจัดการให้ดีกว่านี้ยังพอมีทางรอด แต่ผมไม่ใช่รัฐมนตรีคงตอบไม่ได้ เสียมารยาท

ตอนผมเป็นรัฐมนตรีพยายามแก้ไข แต่เวลาสั้น รัฐบาลต่อมาก็ไม่ได้สนใจทำอะไร พ้นรัฐบาลนี้ไปก็ยังไม่แน่ว่ารัฐบาลต่อไปจะออกมาในรูปแบบไหน

- ต้องมีดาวเทียมเพื่อความมั่นคง

ไม่จำเป็น อย่างดาวเทียมระดับต่ำสำหรับถ่ายภาพ ใช้พวกอากาศยานไร้คนขับโดรนแทนได้ ส่วนดาวเทียมสื่อสาร ใช้ดาวเทียมพาณิชย์ทั่วไปมั่นคงพอสำหรับความมั่นคงระดับประเทศไทย

- ถ้าสร้างต้องใช้เงินเท่าไร

ลงทุนประมาณหมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่ายต่อปีราว 3 พันล้านบาท ไม่คุ้ม ภาครัฐใช้เพื่อความมั่นคงแค่ 1 ทรานสปอนเดอร์ก็พอ แต่กระทรวงดิจิทัลจะเข้ามาดูแลงานด้านกิจการอวกาศทั้งหมด



______________________________







เปิดใจกุนซือ "ดิจิทัลอีโคโนมี" "รื้อ-โละ-สร้าง" พลิกโฉมประเทศ



อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)สมัยรัฐบาลขิงแก่ (ยุค คมช.) กลับมาอีกครั้งพร้อมนโยบายสุดทันสมัย "ดิจิทัลอีโคโนมี" เขาเป็น 1 ใน 10 อรหันต์ ที่รัฐบาลระดมด็อกเตอร์รุ่นเก๋าผู้บุกเบิกวงการไอซีทีของประเทศมาร่วมกันช่วยคิดช่วยกันทำก่อร่างนโยบายนี้

ในครั้งที่ "สิทธิชัย โภไคยอุดม" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี "ไอซีที" นิยามตนเองว่าเป็นรัฐมนตรีสไตล์ "มวยวัด สูบซิการ์ จิบไวน์ และไม่โกง" อีกทั้งเคยเขย่าวงการด้วยการสั่งรื้อสัมปทานสื่อสารมาแล้ว (แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ทำอะไรเปลี่ยนไป)

ปัจจุบันเข้ามานั่งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เพื่อขับเคลื่อนดิจิทัลอีโคโนมีโดยเฉพาะ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับเขาดังต่อไปนี้

- กลับมาช่วยงานนี้ได้อย่างไร

ตอนตั้งรัฐบาลเสร็จใหม่ ๆ ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ มาถามว่า เคยเป็นรัฐมนตรีไอซีที ไม่มีความคิดปฏิรูปไอซีทีของประเทศหรือ ดร.โกศลร่างมา 4-5 แผ่น ก็เห็นว่าตื่นเต้นดี เลยโทร.หาคุณชาย (หม่อมอุ๋ย) คุณชายเห็นดีด้วย เลยพาไปพบ คสช. ทั้งพลเอกประวิตร (วงศ์สุวรรณ) และพลเอกประยุทธ์ (จันทร์โอชา) ก็เห็นดีด้วย เลยตั้งพวกผม 7-8 คน เป็นคณะกรรมการทำงาน ประชุมกันเรื่อยมาจนสรุปได้ว่าจะใช้คำว่า ดิจิทัลอีโคโนมีเป็นธงนำ

สำเร็จไปเยอะแล้ว เหลือแต่ขั้นตอนการออกกฎหมายตั้งคณะกรรมการดิจิทัลอีโคโนมีแห่งชาติ เปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีทีเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเดือน 2 เดือนนี้จะมี 12-13 ฉบับ

- อะไรที่ว่าตื่นเต้น

จริง ๆ ไม่มีอะไรหรอก เพราะผมอยู่ในวงการนี้มานาน แต่มองว่าถึงเวลาที่ต้องปรับองคาพยพด้านไอซีทีให้ดีขึ้น

- ดิจิทัลอีโคโนมีคือมีกระทรวงใหม่

ไม่ใช่แค่นั้น แต่จะมีคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำงานเหมือนคณะกรรมการอีสเทิร์นซีบอร์ด คือออกแบบนโยบาย และมีบทลงโทษคนที่ไม่ปฏิบัติตาม

- สิ่งที่จะเป็นรูปธรรมในปี 2558

นอกจากบอร์ดกับกระทรวงใหม่ ที่สำคัญคือโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกต้องเข้าถึงทุกหมู่บ้านใน 3 ปี ปีแรกถึงทุกตำบล ได้เห็นอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดงสายโทรศัพท์ที่ให้ความเร็ว 100-200 Mbps ถึงทุกบ้านที่ต้องการ

- เงินลงทุนมาจากไหน

ไม่น่าเกินแสนล้านบาท เพราะไฟเบอร์ออปติกมีอยู่แล้ว แต่ใช้จริงนิดเดียว ใช้งบฯรัฐราว 2 หมื่นล้านบาท อีก 8 หมื่นล้านบาทน่าจะหาจากตลาดหลักทรัพย์ได้เดี๋ยวนี้มีอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์แล้ว เห็นได้ชัดว่าทำกำไรได้อย่างน้อยปีละ 6% การันตีได้

- ให้ทีโอที-กสทฯ เป็นคนทำ

ไม่แน่ อยู่ที่คณะกรรมการแห่งชาติเป็นคนดู แต่เราจะจัดให้มีกองทุนโครงข่ายพื้นฐานด้านโทรคมนาคม คนที่ลงทุนมีทั้งภาครัฐและเอกชน การบริหารจะใช้รูปแบบเอกชนเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

- รวมทั้งรัฐและเอกชนเข้าตลาดหุ้น

ยังไม่แน่ว่าจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า ต้องรอให้คณะกรรมการแห่งชาติตั้งก่อน

- ทีมดิจิทัลไม่มีคนโทรคมนาคม

ก็มีผมไง โทรคมนาคมไม่ต้องผลักดันอะไรเยอะ เพราะโอเปอเรเตอร์เก่งกันอยู่แล้ว ภาครัฐแค่อำนวยความสะดวก ที่น่าห่วงคือด้านไอที ที่ยังขาดคือโครงข่ายพื้นฐาน ความตั้งใจที่จะบูรณาการทำงาน ให้ชาวบ้านได้เข้าถึงการใช้ไอซีที

- ค่ายมือถือลงโครงข่ายพื้นฐานไปแล้ว

เขาลงเฉพาะด้านไวร์เลส ภาครัฐจะผลักดันด้านไวร์ไลน์ให้ ที่ผ่านมาเราผลักดันผ่านรัฐวิสาหกิจ ทีโอที กสทฯ แต่คราวนี้ไม่ผ่านกลไกนี้ เว้นแต่ถ้าเขาอยากมาร่วมก็เอามาร่วมโดยแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ต้องรอเป็นนโยบายรัฐบาล นี่เป็นแค่แนวคิดของผมในฐานะที่ปรึกษา

- ตอนเป็น รมต.ไอซีทีผลักดันไม่ได้

8 ปีที่แล้ว บรรยากาศต่างกันเยอะ ณ เวลานั้นมีเรื่องไม่ถูกต้องอยู่หลายอย่างต้องสะสางก่อน และไม่มีใครเสนอไอเดียนี้

ง่าย ๆ ตอนนั้น Youtube ยังไม่มีความหมาย ผมสั่งปิดได้ตั้ง 4 เดือน ลองมาปิดตอนนี้สิ ได้ที่ไหน ความเจริญด้านไอซีทีมันรวดเร็วมาก

- สัมปทานที่รื้อไว้ก็ยังค้างอยู่

ไม่มีใครสานต่อ ในฐานะเป็นรัฐมนตรีทำเองไม่ได้ ต้องส่งให้บอร์ดทีโอที-กสทฯไปดำเนินการ ทวงไปก็บอกแต่ดำเนินการอยู่ ทำได้แค่นั้นระบบราชการไทย

- ทำให้ปัญหาค้างไว้

ค่าเอซี-ไอซี ทีโอที กับ กสทฯ ดีแทค ทรูมูฟ ยังค้างอยู่เป็นแสนล้าน บอร์ดแต่ละบริษัท รวมถึง คนร.ต้องสะสางเอาเอง บอร์ดดิจิทัลอีโคโนมีจะไม่เข้ามายุ่ง

- อนาคตวางทีโอที-กสทฯไว้แบบไหน

เป็นองค์กรที่มีคนมีความสามารถเยอะ แต่ต้องปรับปรุงวิธีคิดการจัดการให้ดีกว่านี้ยังพอมีทางรอด แต่ผมไม่ใช่รัฐมนตรีคงตอบไม่ได้ เสียมารยาท

ตอนผมเป็นรัฐมนตรีพยายามแก้ไข แต่เวลาสั้น รัฐบาลต่อมาก็ไม่ได้สนใจทำอะไร พ้นรัฐบาลนี้ไปก็ยังไม่แน่ว่ารัฐบาลต่อไปจะออกมาในรูปแบบไหน

- ต้องมีดาวเทียมเพื่อความมั่นคง

ไม่จำเป็น อย่างดาวเทียมระดับต่ำสำหรับถ่ายภาพ ใช้พวกอากาศยานไร้คนขับโดรนแทนได้ ส่วนดาวเทียมสื่อสาร ใช้ดาวเทียมพาณิชย์ทั่วไปมั่นคงพอสำหรับความมั่นคงระดับประเทศไทย

- ถ้าสร้างต้องใช้เงินเท่าไร

ลงทุนประมาณหมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่ายต่อปีราว 3 พันล้านบาท ไม่คุ้ม ภาครัฐใช้เพื่อความมั่นคงแค่ 1 ทรานสปอนเดอร์ก็พอ แต่กระทรวงดิจิทัลจะเข้ามาดูแลงานด้านกิจการอวกาศทั้งหมด

- ดิจิทัลอีโคโนมีแบบไทยซื้อแต่เทคโนโลยี

ไม่ แต่จะทำให้เกิดการค้าขายมากขึ้น ทำให้มีเศรษฐีใหม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ส่วนจะยั่งยืนหรือไม่อยู่ที่ความสามารถ และคุณค่าของธุรกิจนั้น

- 8 ปีไอซีทีไทยที่ผ่านมา

หยุดอยู่กับที่ มีแค่ 3G ที่เพิ่มขึ้นมา มันน่าเสียดายที่แล้ว ๆ มา อย่างทีโอทีกับ กสทฯ โดนนักการเมืองเข้าไปกัดกร่อนทำลายจนเกิดความอ่อนแอขององค์กร แต่นักการเมืองล่อซะเรียบ เป็นเรื่องน่าเศร้า

- จะกลับมาเป็น รมต.กระทรวงใหม่

ผมอายุมากแล้ว การมาเป็นที่ปรึกษาเป็นงานที่หนักเกินตัวแล้ว

- เป็นคนยุคเก่าที่ยึดติดกับอีสเทิร์นซีบอร์ด

เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเราพยายามเลียนแบบเพียงแต่ป๋าเปรมบริหารอยู่8 ปี ถึงทำงานต่อเนื่องได้ แต่รัฐบาลนี้อย่างมากคงสักสองปี อาจไม่ต่อเนื่องจึงให้มีบทลงโทษไว้ หวังว่านายกฯคนต่อไปจะสนใจ



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1418621467

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.