Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 กสทช.นที ระบุ ThaiPBS ต้องการยุติแอนะล็อกบางพื้นที่ปลายปี 2558 แต่บนเงื่อนไขที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่บนดิจิทัล สิ่งที่เกิดขึ้นคือการยุติระบบแอนะล็อกแลกจะทำให้เขาได้ช่องใหม่อีกช่อง

ประเด็นหลัก




- ถือว่าล้มเหลว

ไม่ล้มเหลว แต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็น ไม่ได้ทำให้การเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลช้า แต่ทำให้คนที่เป็นช่องเอชดีไม่ได้มีศักยภาพอย่างที่ควรเป็น วันนี้ถ้าบอกให้คนจ่ายเพิ่ม คนดูดาวเทียมที่มีอยู่ 60-70% ไม่มีใครใช้ อย่างมากไปแลกมาวางไว้

เฉย ๆ ทำให้การใช้คูปองไม่เยอะเท่าที่อยากให้เป็น ถามว่ากระทบอะไรต่อ กระทบเรื่องการยุติระบบแอนะล็อก ลองไปดูข้อเสนอของไทยพีบีเอสที่บอกว่าจะยุติต้องได้ 95% ของแอนะล็อก คือถ้าเป็นพันบาทแลกได้ทุกอย่างเป็นไปได้นะ จาก 95% เราต่อรองเหลือ 90 หรือ 80% ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะเหลือ 40-50%

ไทยพีบีเอสต้องการยุติแอนะล็อกบางพื้นที่ปลายปี 2558 แต่บนเงื่อนไขที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่บนดิจิทัล สิ่งที่เกิดขึ้นคือการยุติระบบแอนะล็อกไม่เป็นไปตามอย่างที่อยากให้เป็น จริง ๆ เราต้องการให้ไทยพีบีเอสนำร่องการยุติระบบแอนะล็อกเป็นพื้นที่ ตามแผนจะเริ่มปลายปีหน้า จะทำให้เขาได้ช่องใหม่อีกช่อง

สิ่งแรกที่คูปองจะนำมาซึ่งประโยชน์คือประชาชนเปลี่ยนผ่านเร็วขึ้น ประการ 2 ให้ดาวเทียมและเคเบิลกลับมาสู่การจัดเรียงช่องด้วยความสมัครใจ

วันนี้การแลกคูปองน้อยลงเพราะมูลค่าน้อยลง และเอาไปแลกไม่ได้หลากหลาย ประการถัดมาต้องออกประกาศให้จัดเรียงช่องเหมือนกันหมด ซึ่งจะนำไปสู่การฟ้องร้องกันที่ศาล

คนค้านเป็นคนขายกล่องภาคพื้นดิน พอค้านเสร็จไม่รู้จะไปยังไง บอกเป็นเพราะโครงข่ายไม่ถึง ซึ่งไม่ใช่ ที่ที่มีการแจกเป็นที่ที่พื้นที่การใช้งานไปถึง กรณี อสมท ปีแรกครบ 50% ของครัวเรือน ที่ช้าคือปีที่ 2 ที่ 51-80% อสมท 1 โครงข่ายล่าช้า 2 เดือน เพราะการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ก็แค่ 1 ใน 4 ของโครงข่ายหรือ 25% ของปีที่สอง

ความผิดพลาดทั้งหมดมาจากการบิดของคูปอง คูปองไม่จูงใจให้คนเปลี่ยนผ่าน เพราะมักซ์ไปตามลำดับเวลาของมันอยู่แล้ว อสมท ล่าช้า 2 เดือน เพราะจัดซื้อจัดจ้างไม่ทัน แต่ไม่ได้เกิดความเสียหายเท่าไร เพราะ 50% แรกทุกคนไปตามสเต็ปทุกประการ











_____________________________________________________















"จัดระเบียบโดยอุบัติเหตุ" สรุปบทเรียนสิ่งที่ กสท.ทำได้และได้ทำ


ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าคงไม่ยุบทิ้ง แต่บทบาทและสถานะจะคงเดิมหรือลดลงแค่ไหน จะแบ่งเป็น 2 บอร์ด แยกโทรคมนาคมและบรอดแคสต์เหมือนเดิมหรือไม่ คงต้องรอดูการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. ซึ่งอีกไม่นานก็คงรู้แน่ชัด และสำหรับปี 2557 ที่ผ่านมา มีหลายสิ่งเกิดขึ้นโดยการขับเคลื่อนของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และมีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง ตรงข้ามกับฝั่งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่โดนเบรกเรื่องการประมูลคลื่น 4G หลังการเข้ามาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพิ่งจบปี 2557 ไปหมาด ๆ ฝั่งฟาก "กสท." คงไม่มีใครสรุปได้ดีเท่ากับ "นที ศุกลรัตน์" ประธานคณะกรรมการ กสท. ดังนี้

- สรุปภาพรวมปีที่ผ่านมา

คงต้องบอกว่าเหมือนเริ่มต้นใหม่ เมื่อมี คสช. เพราะทั้งวิทยุทั้งโทรทัศน์โดนคำสั่งให้หยุดหมดทุกอย่าง ทำให้ฝั่งของทีวีที่ไม่ใช่คลื่นความถี่เข้าสู่ระบบของการเป็นเปย์ทีวี และเริ่มต้นการพิจารณาใหม่ทั้งหมด ทุกคนต้องเข้ามายืนยันความเป็นเปย์ทีวี และยืนยันว่าจะไม่มีการออกอากาศในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง ก่อนจะเปิดให้ดำเนินการต่อก็ต้องพิจารณาใหม่เป็นสถานี ๆ เฉพาะทีวีใช้เวลา 3 เดือน

ถือเป็นการจัดระเบียบโดยอุบัติเหตุเช่นกันกับสถานีวิทยุ ทุกคนที่ได้รับใบอนุญาตแล้วโดนยุติบริการจะกลับมาเปิดได้มีขั้นตอนว่า พวกที่ได้ใบอนุญาตทดลองแล้วต้องมาคุยกับ กสทช. และหน่วยงานด้านความมั่นคงมาตกลงกันว่าจะออกอากาศในลักษณะที่ไม่มีผลกระทบความมั่นคง และต้องบังคับให้เอาเครื่องไปตรวจให้ถูกต้องทางเทคนิค จากเดิมเรื่องเครื่องส่งมีปัญหามาก

เมื่อเครื่องมีการตรวจอย่างถูกต้องแล้วยังต้องเอามาทำให้เรียบร้อยภายใน 90 วัน ชุลมุนตั้งแต่เดือน พ.ค.เป็นต้นมา จนถึงตอนนี้ครึ่งหนึ่งก็ยังเป็นแบบนี้

ขณะที่ดิจิทัลทีวีเริ่มทดลองออกอากาศเดือน เม.ย.ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่าตั้งแต่ พ.ค.เป็นต้นมา ปี 2557 ทั้งปีในฝั่งวิทยุโทรทัศน์เหมือนจัดระเบียบซ้ำ งานหนักมาก งานด้านวิทยุโทรทัศน์ควรมีการประชุมอาทิตย์ละครั้ง ก็เพิ่มมาเป็น 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ แถมมีปัญหาเรื่องช่อง 3 อีก

- บานปลายมาก

บานปลายหรือเปล่าไม่รู้ ผมว่าประเทศเรามุ่งกระแสมากไป เน้นกระแสมากเกินความจริง ถ้าไม่ถูกต้องท้ายที่สุดจะมาทำร้ายเรา การเป็นองค์กรกำกับดูแลต้องยึดหลักการ ใครจะว่ายังไง ไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมาย คนไทยมีนักวิจารณ์อย่างเดียวอยู่ชุดหนึ่ง เขาจะวิจารณ์เรายังไง จะว่าเรายังไงไม่ส่งผลกระทบต่อเรา ถ้าเราทำผิดกฎหมายเมื่อไร อันนั้นมีผลกระทบแน่

ดังนั้นสิ่งที่ต้องยืนอยู่เสมอคือถ้าใครได้หรือเสียประโยชน์ ต้องอธิบายได้ว่าหลักการคืออะไร ถ้าอธิบายไม่ได้จะเป็นปัญหา

- งานที่คิดว่าทำเสร็จ

การจัดระเบียบทีวีทั้งหมดถือว่าเรียบร้อย เรื่องวิทยุเป็นเรื่องยากกว่าเพราะความเข้าใจของผู้ประกอบการน้อยกว่า และมีจำนวนมากกว่าเป็นสิบเท่าของทีวี

- การทำงานในบอร์ด

ผมว่าเป็นการปรับจูน ผมพูดเสมอว่าจะไม่ทำอะไรที่ผิดกฎหมายเด็ดขาดในทุกกรณี ถ้ากรณีไหนคิดว่าเป็นไปตามกฎหมาย ใครจะกดดันยังไงก็ไม่สน

ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์อะไรมากมาย เรื่องวิทยุคงไปได้พอสมควร พอเป็นแบบนี้ก็ช้า ความเข้าใจของกรรมการต้องบอกว่าศึกษาเป็นจุด ๆ ทั้งที่เราเป็นกรรมการฟูลไทม์ อะไรที่อยู่ในวาระ กสทช.ต้องเข้าใจอย่างละเอียด การเข้าใจอะไรเป็นจุด ๆ เป็นห้วง ๆ ทำให้ไม่เข้าใจ

กรรมการแต่ละคนมีข้อจำกัด กสทช.เป็นองค์กรของผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่องค์กรมือสมัครเล่น เรื่องเทคโนโลยีถ้าบอกว่า ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็ต้องมีที่ปรึกษาและต้องเชื่อเขา ไม่ใช่บอกไม่เข้าใจเทคโนโลยีแล้วปิดสวิตช์

- การแจกคูปองดิจิทัล

ทุกคนได้ข้อสรุปแล้วว่า มูลค่าควรเป็น 1 พันบาท และควรแจกกล่องดาวเทียมด้วย ดูจากอะไร จากยอดการใช้คูปอง แจกไป 4.7 ล้าน ใช้ไป 1.8-1.9 ล้านใบ การที่ใช้ไปแค่นี้ถึงวันนี้ ถามว่าจะถึง 50% หรือ 2.2-2.3 ล้านเป็นไปได้ไหม วันที่ใช้มากที่สุดคือเดือนแรก เคิร์ฟเริ่มลงแล้ว

- เพราะประชาสัมพันธ์ไม่ดี

ไม่ใช่เป็นเรื่องความรู้สึกของคน ถ้าแจกห้าพันทุกคนใช้แน่ ถ้าแจกสองพันเกือบทุกคนใช้ แต่ถ้าแจกไปแล้วต้องเพิ่มเงินซื้อเสาอากาศเอง หรืออยากได้กล่องดี ต้องเพิ่มเงิน แรงจูงใจก็น้อยลง ในอเมริกาแจกมากกว่าเรา คนยังนำคูปองไปใช้แค่ 50% สิ่งที่ กสท.เสนอไปไม่ใช่ได้เฉพาะกล่อง ต้องได้กล่อง และบังคับมีเคเบิลและสายอากาศด้วย เหลือแค่ค่าแรง เดิมเราเสนอที่ 1,200 บาท รวมค่าแรงด้วย แต่ลดลงมาเหลือพันบาทก็ไม่รวมค่าแรง พอเป็น 690 บาท เป็นกล่องเพียว ๆ ไม่มีเสาอากาศ

- ถือว่าล้มเหลว

ไม่ล้มเหลว แต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็น ไม่ได้ทำให้การเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลช้า แต่ทำให้คนที่เป็นช่องเอชดีไม่ได้มีศักยภาพอย่างที่ควรเป็น วันนี้ถ้าบอกให้คนจ่ายเพิ่ม คนดูดาวเทียมที่มีอยู่ 60-70% ไม่มีใครใช้ อย่างมากไปแลกมาวางไว้

เฉย ๆ ทำให้การใช้คูปองไม่เยอะเท่าที่อยากให้เป็น ถามว่ากระทบอะไรต่อ กระทบเรื่องการยุติระบบแอนะล็อก ลองไปดูข้อเสนอของไทยพีบีเอสที่บอกว่าจะยุติต้องได้ 95% ของแอนะล็อก คือถ้าเป็นพันบาทแลกได้ทุกอย่างเป็นไปได้นะ จาก 95% เราต่อรองเหลือ 90 หรือ 80% ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะเหลือ 40-50%

ไทยพีบีเอสต้องการยุติแอนะล็อกบางพื้นที่ปลายปี 2558 แต่บนเงื่อนไขที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่บนดิจิทัล สิ่งที่เกิดขึ้นคือการยุติระบบแอนะล็อกไม่เป็นไปตามอย่างที่อยากให้เป็น จริง ๆ เราต้องการให้ไทยพีบีเอสนำร่องการยุติระบบแอนะล็อกเป็นพื้นที่ ตามแผนจะเริ่มปลายปีหน้า จะทำให้เขาได้ช่องใหม่อีกช่อง

สิ่งแรกที่คูปองจะนำมาซึ่งประโยชน์คือประชาชนเปลี่ยนผ่านเร็วขึ้น ประการ 2 ให้ดาวเทียมและเคเบิลกลับมาสู่การจัดเรียงช่องด้วยความสมัครใจ

วันนี้การแลกคูปองน้อยลงเพราะมูลค่าน้อยลง และเอาไปแลกไม่ได้หลากหลาย ประการถัดมาต้องออกประกาศให้จัดเรียงช่องเหมือนกันหมด ซึ่งจะนำไปสู่การฟ้องร้องกันที่ศาล

คนค้านเป็นคนขายกล่องภาคพื้นดิน พอค้านเสร็จไม่รู้จะไปยังไง บอกเป็นเพราะโครงข่ายไม่ถึง ซึ่งไม่ใช่ ที่ที่มีการแจกเป็นที่ที่พื้นที่การใช้งานไปถึง กรณี อสมท ปีแรกครบ 50% ของครัวเรือน ที่ช้าคือปีที่ 2 ที่ 51-80% อสมท 1 โครงข่ายล่าช้า 2 เดือน เพราะการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ก็แค่ 1 ใน 4 ของโครงข่ายหรือ 25% ของปีที่สอง

ความผิดพลาดทั้งหมดมาจากการบิดของคูปอง คูปองไม่จูงใจให้คนเปลี่ยนผ่าน เพราะมักซ์ไปตามลำดับเวลาของมันอยู่แล้ว อสมท ล่าช้า 2 เดือน เพราะจัดซื้อจัดจ้างไม่ทัน แต่ไม่ได้เกิดความเสียหายเท่าไร เพราะ 50% แรกทุกคนไปตามสเต็ปทุกประการ

- มีมาตรการเยียวยาไหม

เกี่ยวอะไรกับ กสทช. คุณทำสัญญากันระหว่างช่องกับ MUX

- กรณีมือถือย้ายโครงข่ายช้ามีเยียวยา

คนละกรณี เราเป็นคนให้ใบอนุญาตโครงข่าย ถ้าทำอะไรที่ผิดเงื่อนไขใบอนุญาตลงโทษได้ แต่ถ้าเป็นการไปเช่าโครงข่าย คุณคุยกันสองคนไม่เกี่ยวกับผม ไม่ใช่คุณไปเช่าเขา ผมลงโทษคุณแล้วเยียวยาอีกคน ไม่ใช่หน้าที่ กสทช. ถ้าทำผิดต่อกันคุณควรจัดการกันเอง

เราเป็นผู้กำกับจะลงไปเป็นโอเปอเรเตอร์ไม่ได้ การที่เขาทำโครงข่ายได้ไม่ครอบคลุมแล้วไปบังคับว่า คุณต้องไปยืมของคนนั้น ไปเช่าของคนนี้ ไม่ใช่หน้าที่ผม ถ้าคุณทำโครงข่ายไม่ครบตามเงื่อนไขใบอนุญาต อันนี้หน้าที่เรา



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420392468

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.