Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 มกราคม 2558 กสทช.ฐากร ระบุ การเสนอแผนบริหารคลื่นความถี่ให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลที่มีนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งยืนยันว่าประเทศไทยต้องมีการประมูล 4G แน่นอน

ประเด็นหลัก



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวยืนยันว่า กสทช.ยังคงทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กิจการวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงการประมูล 4 จี แต่ต้องรับนโยบายจากคณะกรรมการดิจิตอลเท่านั้น

สำหรับการหารือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้คำนวณค่าบริการมือถือเป็นวินาทีตามที่มีการร้องเรียนไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นั้น ทางผู้ให้บริการขอเวลาในการปรับปรุงระบบบิลลิ่ง คาดว่าไม่เกินวันที่ 1 มี.ค.2558 จะสามารถออกแพ็กเกจโปรโมชั่นใหม่ให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภคได้ และจะคำนวณราคาเป็นวินาทีได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.นั้น นอกจากการยุบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ให้เหลือเพียงบอร์ดกสทช.เท่านั้นแล้ว ยังมีอีกประเด็นที่ถือเป็นสาระสำคัญคือ คลื่นความถี่ จากเดิมระบุว่าคลื่นต้องประมูล เปลี่ยนเป็นการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการธุรกิจ จะให้ดำเนินการโดยใช้วิธีการคัดเลือกโดยดูที่คุณสมบัติ (บิวตี้คอนเทสต์) ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น ซึ่งต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด ส่วนคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อใช้คลื่นความถี่นั้น ให้คำนึงถึงประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิ– ภาพและเกิดความคุ้มค่า ป้องกันการผูกขาดการส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรม การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ทั้งนี้การจัดสรรคลื่นด้วยวิธีบิวตี้คอนเทสต์นั้น เป็นแนวทางที่เอกชนผลักดันมาโดยตลอด เพราะเป็นวิธีที่จะช่วยเอกชนประหยัดเงิน ไม่ต้องทุ่มเงินแข่งขันประมูลเพื่อให้ได้คลื่นมา.





_____________________________________________________
















เปิดช่องไม่ต้องประมูลคลื่น พ.ร.บ.กสทช.โฉมใหม่ถูกใจค่ายมือถือ


พ.ร.บ.กสทช.ฉบับแก้ไขใหม่ เปิดช่องไม่ต้อง “ประมูลคลื่น” แต่สามารถใช้วิธีคัดเลือกดูคุณสมบัติแบบบิวตี้คอนเทสต์ ช่วยเอกชนค่ายมือถือประหยัดเงินค่าประมูล “พรชัย” จับมือ “ฐากร” โชว์โลกสวย ยืนยัน กสทช.ยังมีอำนาจเหมือนเดิม แม้การตัดสินใจเรื่องคลื่นความถี่ต้องรับนโยบายจากรัฐบาล

นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า การแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ โดยคาดว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว จะแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย.นี้ ส่วนการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์นั้น กสทช. ก็สามารถดำเนินควบคู่ไปได้กับการเสนอแผนบริหารคลื่นความถี่ให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลที่มีนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งยืนยันว่าประเทศไทยต้องมีการประมูล 4 จีแน่นอน

นอกจากนี้การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังช่วยแก้ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น การวางโครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติก ที่พาดตามสายและเสาไฟฟ้าที่มีจำนวนมาก สร้างปัญหาในหลายพื้นที่ และไม่มีหน่วยงานใดจัดการปัญหาดังกล่าวได้อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันจะต้องบังคับให้ผู้ให้บริการมือถือลงทะเบียนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกระบบ เพราะปัจจุบันถือว่าละเลยมาก ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้เป็นช่องโหว่ในการต้มตุ๋นผู้บริโภค “ผมถูกกลุ่มมิจฉาชีพโทร.มาหลอกต้มตุ๋นถึง 2 ครั้ง แต่ผมสามารถตรวจเช็กได้ว่าคนหลอกโทร.มาจากอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แต่เมื่อตามไปตรวจเช็ก คนใช้เบอร์มือถือนั้นก็หักซิมทิ้ง แล้วตามตัวไม่ได้ เพราะไม่ได้ลงทะเบียนซิม”

นายพรชัย กล่าวย้ำว่า การแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.นั้น ไม่ได้ทำให้สำนักงาน กสทช.ถูกยุบหรือริบอำนาจ โดย กสทช.ต้องทำหน้าที่กำกับดูแลค่าบริการ คุณภาพ การออกใบอนุญาต การเปิดประมูลคลื่นความถี่ เพียงแต่การประมูลคลื่นความถี่นั้นจะต้องเป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการเศรษฐกิจ ดิจิตอลที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อกำหนดว่าคลื่นใดสามารถประมูลเพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ คลื่นใดใช้เพื่อบริการสังคม เพื่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่คลื่นทุกคลื่นต้องเปิดประมูลเท่านั้น

สำหรับคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล จะมีกรรมการร่วมกันกว่า 30 คน ประกอบด้วย รอง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ประธาน กสทช. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย และผู้เชี่ยวชาญของไอซีทีอีก 3-5 คน มีหน้าที่กำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวยืนยันว่า กสทช.ยังคงทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กิจการวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงการประมูล 4 จี แต่ต้องรับนโยบายจากคณะกรรมการดิจิตอลเท่านั้น

สำหรับการหารือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้คำนวณค่าบริการมือถือเป็นวินาทีตามที่มีการร้องเรียนไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นั้น ทางผู้ให้บริการขอเวลาในการปรับปรุงระบบบิลลิ่ง คาดว่าไม่เกินวันที่ 1 มี.ค.2558 จะสามารถออกแพ็กเกจโปรโมชั่นใหม่ให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภคได้ และจะคำนวณราคาเป็นวินาทีได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.นั้น นอกจากการยุบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ให้เหลือเพียงบอร์ดกสทช.เท่านั้นแล้ว ยังมีอีกประเด็นที่ถือเป็นสาระสำคัญคือ คลื่นความถี่ จากเดิมระบุว่าคลื่นต้องประมูล เปลี่ยนเป็นการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการธุรกิจ จะให้ดำเนินการโดยใช้วิธีการคัดเลือกโดยดูที่คุณสมบัติ (บิวตี้คอนเทสต์) ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น ซึ่งต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด ส่วนคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อใช้คลื่นความถี่นั้น ให้คำนึงถึงประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิ– ภาพและเกิดความคุ้มค่า ป้องกันการผูกขาดการส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรม การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ทั้งนี้การจัดสรรคลื่นด้วยวิธีบิวตี้คอนเทสต์นั้น เป็นแนวทางที่เอกชนผลักดันมาโดยตลอด เพราะเป็นวิธีที่จะช่วยเอกชนประหยัดเงิน ไม่ต้องทุ่มเงินแข่งขันประมูลเพื่อให้ได้คลื่นมา.

http://www.thairath.co.th/content/473417

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.