Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 ICT.พรชัย โชว์ผลงานจับกุมขายของออนไลน์ผิด เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 58 ที่ผ่านมา รวมมูลค่าของกลางกว่า 15 ล้านบาท โดยได้จับกุมนายเจษฎา ยะวงษ์ โดยการแจ้งข้อกล่าวหาเบื้องต้นว่ากระทำการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารโดยแสดงฉลากไม่ถูกต้อง

ประเด็นหลัก

       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้กระทรวงไอซีทีแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งการกระทำความผิดอาญาอื่นทางอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา ล่าสุดสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดรายใหญ่ได้ 1 ราย เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 58 ที่ผ่านมา รวมมูลค่าของกลางกว่า 15 ล้านบาท โดยได้จับกุมนายเจษฎา ยะวงษ์ โดยการแจ้งข้อกล่าวหาเบื้องต้นว่ากระทำการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารโดยแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตามความผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6 (10) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท และหากสอบสวนต่อไปแล้วพบว่ามีการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ นำเข้าสินค้าโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ หากตรวจพบสารต้องห้ามในสินค้าคือ แอมเฟตามีน ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทด้วยแล้วจะต้องระวางโทษจำคุก 5-20 ปี ปรับตั้งแต่ 1-4 แสนบาท



_____________________________________________________














ไอซีทีโชว์ผลงานจับกุมขายของออนไลน์ผิด กม.รายใหญ่มูลค่า 15 ล้านบาท



        ไอซีทีแสดงผลงานจับกุมผู้ค้าอาหารเสริมออนไลน์รายใหญ่ผิด กม.มูลค่า 15 ล้านบาท หลังมีการตั้งคณะกรรมการเอาผิดอย่างจริงจัง พร้อมทำงานบูรณาการกำจัดเว็บไซต์หลอกลวงให้หมดไปจากประเทศไทยภายใน 6 เดือน รับนโยบาย Digital Economy
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้กระทรวงไอซีทีแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งการกระทำความผิดอาญาอื่นทางอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา ล่าสุดสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดรายใหญ่ได้ 1 ราย เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 58 ที่ผ่านมา รวมมูลค่าของกลางกว่า 15 ล้านบาท โดยได้จับกุมนายเจษฎา ยะวงษ์ โดยการแจ้งข้อกล่าวหาเบื้องต้นว่ากระทำการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารโดยแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตามความผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6 (10) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท และหากสอบสวนต่อไปแล้วพบว่ามีการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ นำเข้าสินค้าโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ หากตรวจพบสารต้องห้ามในสินค้าคือ แอมเฟตามีน ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทด้วยแล้วจะต้องระวางโทษจำคุก 5-20 ปี ปรับตั้งแต่ 1-4 แสนบาท

ไอซีทีโชว์ผลงานจับกุมขายของออนไลน์ผิด กม.รายใหญ่มูลค่า 15 ล้านบาท

        สำหรับของกลางที่ได้ประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 12 รายการ ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสเต็มเซลล์ NKT 233 แคปซูลสีน้ำตาล กล่องสีเขียว จำนวน 239 กล่อง 2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสเต็มเซลล์ NKT 233 กล่องสีน้ำตาล จำนวน 25 กล่อง 3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีชมพูเข้ม 1 ถุง จำนวน 5,000 เม็ด 4. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีชมพูอ่อน 1 ถุง จำนวน 5,000 เม็ด 5. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีฟ้า 1 ถุง จำนวน 5,000 เม็ด 6. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีแดงเลือดหมู 1 ถุง จำนวน 5,000 เม็ด 7. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีขาว 1 ถุง จำนวน 5,000 เม็ด 8. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีเขียวเข้ม 1 ถุง จำนวน 5,000 เม็ด 9. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีเขียว 1 ถุง จำนวน 2,000 เม็ด 10. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟเจลเม็ดสีส้ม 1 ถุง จำนวน 2,000 เม็ด 11. ขวดบรรจุผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 200 ขวด 12. ฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 3 ลัง
     
       ผลงานครั้งนี้เป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบโดยอนุกรรมการที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการชุดดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแจ้งไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าตรวจค้นและจับกุม ซึ่งนับเป็นการทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 17 หน่วยงาน เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวัฒนธรรม กสทช. กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นต้น โดยมีกระทรวงไอซีทีเป็นศูนย์กลางของการทำงานเพื่อให้การทำงานที่แต่เดิมต่างคนต่างทำหันมาทำงานร่วมกันเพื่อให้งานเดินหน้าได้รวดเร็วขึ้น โดยมั่นใจว่าภายใน 6 เดือนจะสามารถปราบปรามเว็บไซต์หลอกลวงให้หมดไปจากประเทศไทย และจะไม่ให้การทำงานเป็นเพียงไฟไหม้ฟาง เพื่อให้สอดรับกับนโยบาย Digital Economy และทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซใสสะอาดขึ้น

ไอซีทีโชว์ผลงานจับกุมขายของออนไลน์ผิด กม.รายใหญ่มูลค่า 15 ล้านบาท

        'แม้ว่าจะไม่มีคณะกรรมการชัดเจนเหมือนทุกวันนี้เราก็ทำงานกันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเคสล่าสุด 2 เคสที่ได้จับกุมไปเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 57 จับกุม 2 ราย คือ นายปณัฐนิติ ป้อมสูง คดีเปิดเว็บไซต์กระทำความผิดโฆษณา ขายยานอนหลับ ยาสลบ ยาเสียสาว ยาป้าย หลอกลวงขายสินค้าโดยไม่มีสินค้า มูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท และนายปริญญา จันทวิชญสุทธิ์ เปิดเว็บไซต์กระทำความผิด ขายเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 มูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท'
     
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กระทรวงไอซีทีก็ยังคงดำเนินการทำหน้าที่ปิดกั้นเว็บไซต์ที่กระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดตั้งแต่วันที่ 5-11 ม.ค. 58 มีการปิดกั้นเว็บไซต์ที่กระทำความผิดในเรื่องต่างๆ ไปแล้วจำนวน 456 เว็บไซต์ แบ่งเป็นการกระทำความผิดในการขายสินค้าออนไลน์ จำนวน 102 เว็บไซต์ การกระทำความผิดด้านสังคม และยาเสพติด จำนวน 41 เว็บไซต์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร และการหมิ่นศาสนา จำนวน 217 เว็บไซต์ และการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคงของรัฐ จำนวน 96 เว็บไซต์


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000004696

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.