Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 i-mobile ระบุ ปีนี้สมาร์ทโฟน 4G ราคาต่ำกว่า 5,000 บาท โดยจะเริ่มเห็นเข้าสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งทางไอ-โมบาย ก็จะเน้นจุดเด่นที่เป็นเครื่อง 2 ซิม รองรับทั้ง 4G และ 3G

ประเด็นหลัก



      *** ดันมือถือ 4G ต่ำกว่า 5 พันบาทพร้อมอัปสเปกรับโครงข่ายทีวีดิจิตอล
     
       โดยเป้าหมายโดยรวมของไอ-โมบาย ในปีนี้คือการผลักดันโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ตลาดประมาณ 5.5 ล้านเครื่อง เป็นสัดส่วนระหว่างสมาร์ทโฟน และฟีเจอร์โฟนอยู่ที่ 90% - 10% โดยจะมีทั้งส่วนที่จำหน่ายด้วยแบรนด์สามารถเอง และร่วมผลิตกับทางผู้ให้บริการเครือข่ายทั้ง 3 ราย ซึ่งเบื้องต้นวางงบประมาณในการทำตลาดไว้ที่ราว 300 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเปิดตัวสมาร์ทโฟนทั้งหมด 25 รุ่น ซึ่งในการจำหน่ายคาดว่าสัดส่วนระหว่างสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G จะอยู่ที่ราว 30% และเป็นเครื่องที่รองรับการชมทีวีดิจิตอลราว 30%
     
       ทั้งนี้ในปีนี้น่าจะได้เห็นสมาร์ทโฟน 4G ราคาต่ำกว่า 5,000 บาท โดยจะเริ่มเห็นเข้าสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งทางไอ-โมบาย ก็จะเน้นจุดเด่นที่เป็นเครื่อง 2 ซิม รองรับทั้ง 4G และ 3G ในการทำตลาด ซึ่งจุดขายหลักของสมาร์ทโฟนไอ-โมบาย ที่ถือเป็นฟีเจอร์พื้นฐานในการทำตลาดปีนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนของการรับชมดิจิตอลทีวี ในรุ่นที่มีรหัส DTV ต่อท้าย เพราะในช่วงที่ผ่านมาถือว่าได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี และเชื่อว่าเมื่อมีการขยายพื้นที่ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลออกไปทั่วประเทศ จะทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อมากขึ้น ทำให้ในส่วนนี้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
     
       อีกส่วนหนึ่งคือฟังก์ชันของกล้อง ทั้งกล้องหน้าและกล้องหลัง โดยจะมีการใส่ฟีเจอร์อย่างโหมดหน้าสวย (Beauty Mode) รวมไปถึงการใส่กล้องหลัง 2 ตัว เพื่อมาช่วยในการโฟกัสให้รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มลูกเล่นในการเลือกโฟกัสหลังถ่ายภาพ หรือเอฟเฟกต์ต่างๆได้มากขึ้น โดยปัจจุบัน ไอ-โมบาย จะแบ่งสมาร์ทโฟนออกเป็นหลายๆซีรีส์ โดยสังเกตจากตัวอักษรนำหน้าชื่อรุ่น เช่น ถ้าขึ้นต้นด้วย L จะเป็นซีรีส์ LTE อย่าง LEON ขึ้นต้นด้วยตัว O จะเป็นรุ่นที่ใช้หน่วยประมวลผลแบบ Octa Core ตัว Z จะเป็นรุ่นที่ใช้หน้าจอ Super AMOLED และที่ตามด้วย DTV ก็คือรุ่นที่รองรับทีวีดิจิตอล







_____________________________________________________
















ผ่ากลยุทธ์ 'วัฒน์ชัย' ปั้นรายได้แสนล้าน(Cyber Weekend)




        ใครจะคาดคิดบ้างว่าธุรกิจที่เริ่มต้นจากการทำเสาอากาศโทรทัศน์ จานดาวเทียม จะกล้าประกาศเป้าหมายรายได้ในอีก 5 ปีข้างหน้าถึง 1 แสนล้านบาท ทั้งที่การเติบโตของธุรกิจที่ผ่านมายังอยู่ในหลักหมื่นล้านต้นๆ เท่านั้น ประกอบกับยอดขายในปีที่ผ่านมาแม้จะมีรายได้เติบโตกว่าปีก่อนหน้าก็ตาม แต่ก็ยังไม่เข้าเป้าที่วางไว้ โดยปิดยอดที่ 2 หมื่นล้านบาทต้นๆ แล้วอะไรจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ก้าวกระโดดได้ไกลขนาดนั้น
     
       ความสงสัยก็สิ้นสุดลงเมื่อ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น หัวเรือใหญ่ของกลุ่มสามารถ ได้เฉลยออกมาว่าการจะก้าวไปสู่รายได้ระดับนั้น ต้องอาศัยธุรกิจใหม่เป็นหลัก ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม Utilities & Transportations หรือ U-Trans อันเป็นธุรกิจที่จะสร้างรายได้และการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับกลุ่มสามารถในอนาคต ส่วนธุรกิจอื่นๆ นั้นก็จะทำการปรับโครงสร้างและปรับกลยุทธ์ให้ทันยุคทันสมัยมากขึ้น
     
       U-Trans จะครอบคลุมบริการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ ระบบจัดการยานพาหนะเพื่อการขนส่งและการเดินทางตลอดจนธุรกิจด้านพลังงาน ทั้งในรูปแบบ Conventional และAlternative Energy หรือพลังงานทางเลือก ซึ่งขณะนี้กำลังเดินหน้าไปได้ดีโดยเฉพาะในต่างประเทศ
     
       ***โรงงานไฟฟ้าถ่านหินถ้าเป็นไปตามแผนรับรายได้ 3 หมื่นล้าน
     
       แผนหลักในการก้าวสู่รายได้หลักแสนล้านบาท คือ ธุรกิจด้านพลังงานทางเลือก ที่วัฒน์ชัยกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ประเทศไทย เพราะวัฒน์ชัยกล่าวว่า การก้าวไปสู่ธุรกิจใหม่นี้จะต้องมีปัจจัยที่เข้ามากระทบน้อยที่สุด จึงได้เข้าไปวางแผนที่จะตั้งโรงงานในประเทศกัมพูชา ด้วยกำลังการผลิต 2,000 เมกกะวัตต์ ซึ่งถ้าสำเร็จและเปิดดำเนินการได้จะสามารถสร้างรายได้ให้สามารถถึงปีละประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท
     
       โดยในส่วนของโรงไฟฟ้านั้นโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ใช่ธุรกิจพลังงานทางเลือกแรกที่สามารถจะเข้าไปทำ เพราะที่ผ่านมาได้เปิดโรงงานผลิตไฟฟ้ากัมปอตที่ประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนในประเทศไทยนั้นกลุ่มสามารถยังได้เตรียมเปิดโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะใน 2-3 จังหวัด ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 1และ 2 จะเห็นโรงงานในลักษณะนี้
     
       นอกเหนือไปจากนี้ล่าสุดยังได้ทำการเซ็นสัญญากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในการปรับปรุงสถานีไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีมูลค่า 483 ล้านบาท ถือเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่ากลุ่มสามารถจะทำการลงทุนในธุรกิจพลังงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
     
       สายธุรกิจ U-Trans ยังประกอบด้วยบริษัทลูกที่ช่วยกันสร้างรายได้อย่าง Cambodia Air Traffic Services, Kampot Power Plant และ Teda บริษัทผู้เชี่ยวชาญในการวางเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้ทำการเซ็นสัญญาโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจราจรทางอากาศกับกรมการบินพลเรือน ของประเทศสหภาพพม่า เซ็นสัญญากับ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย เพื่อติดตั้งระบบอุปกรณ์บริการการจราจรทางอากาศของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 465 ล้านบาท
     
       ***ปรับกลยุทธ์สายงานไอซีทีใหม่รอรับทรัพย์ดิจิตอลอิโคโนมี
     
       อีกสายงานหนึ่งที่กลุ่มสามารถค่อนข้างเน้นเป็นพิเศษนับจากนี้คือ กลุ่มธุรกิจ ICT Solutions และตั้งเป้าเติบโตในปีนี้กว่า 40% หรือสร้างรายได้ถึง 10,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยได้กำหนดโครงสร้างธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย 1.โซลูชันโครงสร้างเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม หรือNetwork Infrastructure Solutions 2.โซลูชันเทคโนโลยีประยุกต์ หรือ Enhanced Technology Solutions และ 3.แอปพลิเคชันสนับสนุนการประกอบธุรกิจ หรือBusiness Applications ซึ่งในแต่ละสายงานนั้นล้วนแล้วแต่สามารถตอบสนองต่อการก้าวไปสู่ดิจิตอลอีโคโนมี ตามแนวนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น
     
       วัฒน์ชัยกล่าวว่า การกำหนดโครงสร้างทางธุรกิจใหม่นั้นจะใช้ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่เดิม เข้ามาเสริมกับแนวทางเทรนด์ด้านไอทีที่เปลี่ยนไป และในสายงานนี้จะมีการซื้อบริษัทที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายช่องทางสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น โดยอาศัยความเชี่ยวชาญทางด้าน ICT ที่ครบวงจร เพื่อรองรับกับการขยายโครงข่ายการสื่อสาร การส่งเสริมธุรกิจ e-Commerce ตลอดจนการพัฒนา e-Government Services ตามแนวทางดิจิตอลอีโคโนมี และที่สำคัญก็ไม่ลืมที่จะขยายฐานลูกค้าสู่ภาคธุรกิจเอกชน
     
       ส่วนธุรกิจ Mobile Multi-media นั้น ในกลยุทธ์หลักจะเน้นกลยุทธ์ Partnership Marketing ในการขยายตลาดผ่านเครือข่ายพันธมิตร ด้วยการเจาะลงไปกับโลคอลมาร์เก็ตติ้งมากขึ้น เพื่อให้จับเข้าไปยังกลุ่มผู้ใช้งานแบบใกล้ชิด อาทิ การเข้าไปร่วมกับสโมสรฟุตบอล และเครือข่ายผู้ให้บริการ เมื่อรวมกับไอ-โมบาย ก็จะกลายเป็น 3 ผสานในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า
     
       นอกจากนี้ในส่วนของสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ก็จะมีแฟนบอลประจำอยู่แล้ว การที่เข้าไปเป็นสปอนเซอร์ทีม พร้อมกับการจำหน่ายสมาร์ทโฟนไอ-โมบาย และทำการผูกสมาชิกกับโอเปอเรเตอร์ ก็อาจจะมีสิทธิพิเศษเพิ่มเติมให้อย่างส่วนลดค่าบัตรเข้าชม หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมด้วย
     
       *** ดันมือถือ 4G ต่ำกว่า 5 พันบาทพร้อมอัปสเปกรับโครงข่ายทีวีดิจิตอล
     
       โดยเป้าหมายโดยรวมของไอ-โมบาย ในปีนี้คือการผลักดันโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ตลาดประมาณ 5.5 ล้านเครื่อง เป็นสัดส่วนระหว่างสมาร์ทโฟน และฟีเจอร์โฟนอยู่ที่ 90% - 10% โดยจะมีทั้งส่วนที่จำหน่ายด้วยแบรนด์สามารถเอง และร่วมผลิตกับทางผู้ให้บริการเครือข่ายทั้ง 3 ราย ซึ่งเบื้องต้นวางงบประมาณในการทำตลาดไว้ที่ราว 300 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเปิดตัวสมาร์ทโฟนทั้งหมด 25 รุ่น ซึ่งในการจำหน่ายคาดว่าสัดส่วนระหว่างสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G จะอยู่ที่ราว 30% และเป็นเครื่องที่รองรับการชมทีวีดิจิตอลราว 30%
     
       ทั้งนี้ในปีนี้น่าจะได้เห็นสมาร์ทโฟน 4G ราคาต่ำกว่า 5,000 บาท โดยจะเริ่มเห็นเข้าสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งทางไอ-โมบาย ก็จะเน้นจุดเด่นที่เป็นเครื่อง 2 ซิม รองรับทั้ง 4G และ 3G ในการทำตลาด ซึ่งจุดขายหลักของสมาร์ทโฟนไอ-โมบาย ที่ถือเป็นฟีเจอร์พื้นฐานในการทำตลาดปีนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนของการรับชมดิจิตอลทีวี ในรุ่นที่มีรหัส DTV ต่อท้าย เพราะในช่วงที่ผ่านมาถือว่าได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี และเชื่อว่าเมื่อมีการขยายพื้นที่ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลออกไปทั่วประเทศ จะทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อมากขึ้น ทำให้ในส่วนนี้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
     
       อีกส่วนหนึ่งคือฟังก์ชันของกล้อง ทั้งกล้องหน้าและกล้องหลัง โดยจะมีการใส่ฟีเจอร์อย่างโหมดหน้าสวย (Beauty Mode) รวมไปถึงการใส่กล้องหลัง 2 ตัว เพื่อมาช่วยในการโฟกัสให้รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มลูกเล่นในการเลือกโฟกัสหลังถ่ายภาพ หรือเอฟเฟกต์ต่างๆได้มากขึ้น โดยปัจจุบัน ไอ-โมบาย จะแบ่งสมาร์ทโฟนออกเป็นหลายๆซีรีส์ โดยสังเกตจากตัวอักษรนำหน้าชื่อรุ่น เช่น ถ้าขึ้นต้นด้วย L จะเป็นซีรีส์ LTE อย่าง LEON ขึ้นต้นด้วยตัว O จะเป็นรุ่นที่ใช้หน่วยประมวลผลแบบ Octa Core ตัว Z จะเป็นรุ่นที่ใช้หน้าจอ Super AMOLED และที่ตามด้วย DTV ก็คือรุ่นที่รองรับทีวีดิจิตอล
     
       *** ก้าวสู่ทศวรรษที่ 7 ปรับธุรกิจให้ก้าวตามโลกมากขึ้น
     
       ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่กลุ่มสามารถดำเนินธุรกิจมานั้น หากติดตามดีๆ จะเห็นได้ว่ามีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาโดยตลอด และพยายามที่จะกระจายตัวไปสู่ธุรกิจที่ครอบคลุมเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้มากขึ้น อย่างเช่นธุรกิจใหม่อย่าง บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ หนึ่งในบริษัทลูกที่ให้บริการ Call Center ครบวงจร ในปีที่ผ่านมาก็ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และพร้อมขยายฐานธุรกิจสู่ต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการเปิดสาขาแรกที่ประเทศกัมพูชา
     
       โดยแผนงานที่ปรับเปลี่ยนทั้งหมดนี้ หัวเรือใหญ่ของกลุ่มสามารถบอกว่าถือเป็นการรองรับการก้าวสู่ทศวรรษที่ 7 ของกลุ่มสามารถ โดยใช้ธีมว่า 'Enter the New Era Empower the Future' หรือ การก้าวสู่ทศวรรษที่ 7 เพิ่มพลังสู่อนาคต และถือเป็นการปรับเปลี่ยนทางเดินธุรกิจอีกครั้ง ส่วนบันไดที่วางไว้นั้นจะทำให้ก้าวสู่รายได้ 1 แสนล้านบาทได้หรือไม่นั้น วัฒน์ชัยสรุปให้ฟังว่า ถ้าแผนงานโรงงานไฟฟ้าถ่านหินสำเร็จ เป้าหมายนั้นก็เป็นไปได้ไม่ยาก
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000008590

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.