Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 OPPO.จรูญ ระบุ ปี 2014 ที่ผ่านมายอดรวมสมาร์ทโฟนน่าจะตกอยู่ที่ราว 12 ล้านเครื่องในตลาด และคาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านเครื่อง โดยยังคงมีปัจจัยหลักมาจากการเปลี่ยนเครื่องที่ใช้งาน 2G มาเป็น 3G

ประเด็นหลัก



 นายจรูญ วิริยะพรพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย ออปโป้ จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2014 ที่ผ่านมายอดรวมสมาร์ทโฟนน่าจะตกอยู่ที่ราว 12 ล้านเครื่องในตลาด และคาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านเครื่อง โดยยังคงมีปัจจัยหลักมาจากการเปลี่ยนเครื่องที่ใช้งาน 2G มาเป็น 3G และระดับราคาของสมาร์ทโฟนที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น
     
       'ในปีนี้นอกจากผู้เล่นในตลาดเดิมอย่างเลอโนโว หัวเว่ย แซตทีอี แล้วอาจจะมีเสี่ยวหมี่เข้ามาร่วมวงในตลาดสมาร์ทโฟนด้วย ยิ่งทำให้โอกาสที่แบรนด์จีนจะเข้ามาครองตลาดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น เพราะแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีการนำเสี่ยวหมี่เข้ามาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ก็มีผู้บริโภคชาวไทยส่วนหนึ่งที่หาซื้อมาใช้งานกันแล้ว'
     
       ในขณะที่คู่แข่งจากประเทศอื่นอย่างญี่ปุ่น เนื่องจากเกิดปัญหาในบริษัทแม่ทำให้ไม่สามารถโฟกัสในธุรกิจได้เท่าที่ควร ส่วนแบรนด์จากเกาหลีก็เริ่มอยู่ในช่วงขาลงดังที่เห็นจากข้อมูลในตลาดทั่วโลก เช่นเดียวกับแบรนด์จากสหรัฐฯ ที่แม้จะถือส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ได้ แต่ก็ไม่มีรุ่นรองๆ ลงมาที่จะเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด
     
       เมื่อมองจากแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นว่าโอกาสของแบรนด์จีนในประเทศไทยค่อนข้างเปิดกว้าง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ให้การยอมรับมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่จะเข้ามาครองตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

_____________________________________________________
















“แบรนด์จีน” ถล่มตลาดสมาร์ทโฟนไทย



        นับเป็นกระแสที่เกิดขึ้นกับตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก เมื่อแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากประเทศจีนต่างกำลังยึดครองส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากที่แบรนด์เหล่านั้นเริ่มแข็งแรงขึ้น และพร้อมที่จะทำการตลาดระดับโลกเพื่อครองตำแหน่งผู้นำในตลาดสมาร์ทโฟนแซงหน้าแบรนด์จากเกาหลี
     
       รายงานล่าสุดในช่วงปลายปี 2014 ที่ผ่านมาระบุว่า ส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนของแบรนด์ที่มาจากประเทศจีนโดยรวมทั้ง หัวเว่ย เลอโนโว เสี่ยวหมี่ คูลแพด แซตทีอี ซีทีแอล วีโว ออปโป้ และจีโอนี ครองส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนไปแล้วราว 31.3% ตามมาด้วยคู่หูจากแบรนด์เกาหลีอย่าง ซัมซุง และแอลจี ที่ครองส่วนแบ่งตลาดไป 30.1% ถือเป็นสัญญาณที่ส่งให้เห็นว่า 'แบรนด์จีน' เริ่มยึดครองในตลาดสมาร์ทโฟนแล้ว
     
       เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย ในช่วงที่สมาร์ทโฟนยังไม่ได้รับความนิยม หรือในช่วงที่ผู้นำตลาดยังเป็นโนเกีย และซัมซุง ในช่วงเวลานั้นเฮาส์แบรนด์ และแบรนด์จีน เคยเข้ามายึดครองตลาดโทรศัพท์ในประเทศไทย ด้วยการฉุดส่วนแบ่งตลาดของโนเกียในเวลานั้นลงมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยฟีเจอร์โฟนที่ชูจุดเด่นอย่าง 2 ซิม ดูทีวีได้
     
       แต่หลังจากที่สมาร์ทโฟนเริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาด และแบรนด์จีนเหล่านั้นปรับตัวรับกับกระแสที่เกิดขึ้นไม่ทัน ส่งผลให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณภาพ และประสิทธิภาพของสินค้ามากขึ้น ทำให้แบรนด์จีนที่เคยรุ่งเรืองในช่วงเวลานั้นล้มหายตายจากกันไปแทบทั้งหมด
     
       กลับมาที่สถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อแบรนด์จีนที่เข้ามาทำตลาดสมาร์ทโฟนไม่ได้เป็นเพียงแค่เฮาส์แบรนด์เหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่ได้รับการชุบตัวจากตลาดทั่วโลก ทำให้ยกระดับแบรนด์ขึ้นมาเป็นอินเตอร์แบรนด์จากประเทศจีน ในขณะเดียวกันก็มีการวิจัยและพัฒนาที่ต่อเนื่อง พร้อมกับการปรับกลยุทธ์ทางการตลาด ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่ใช่ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนราคาถูกอีกต่อไป
     
       ข้อมูลล่าสุดจากออปโป้ระบุว่า ในปี 2014 ที่ผ่านมาแบรนด์จีนที่ทำตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนอยู่ราว 10-15% และคาดว่าจะเติบโตขึ้นในปีนี้กว่า 150% หรือจะทำให้แบรนด์สมาร์ทโฟนจีนในไทยมีส่วนแบ่งมากกว่า 30% ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน และถ้ารวมแบรนด์จากไต้หวันที่ถือเป็นลูกพี่ลูกน้องในจีนด้วยกันแล้วส่วนแบ่งตลาดก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก
     
       นายจรูญ วิริยะพรพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย ออปโป้ จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2014 ที่ผ่านมายอดรวมสมาร์ทโฟนน่าจะตกอยู่ที่ราว 12 ล้านเครื่องในตลาด และคาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านเครื่อง โดยยังคงมีปัจจัยหลักมาจากการเปลี่ยนเครื่องที่ใช้งาน 2G มาเป็น 3G และระดับราคาของสมาร์ทโฟนที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น
     
       'ในปีนี้นอกจากผู้เล่นในตลาดเดิมอย่างเลอโนโว หัวเว่ย แซตทีอี แล้วอาจจะมีเสี่ยวหมี่เข้ามาร่วมวงในตลาดสมาร์ทโฟนด้วย ยิ่งทำให้โอกาสที่แบรนด์จีนจะเข้ามาครองตลาดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น เพราะแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีการนำเสี่ยวหมี่เข้ามาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ก็มีผู้บริโภคชาวไทยส่วนหนึ่งที่หาซื้อมาใช้งานกันแล้ว'
     
       ในขณะที่คู่แข่งจากประเทศอื่นอย่างญี่ปุ่น เนื่องจากเกิดปัญหาในบริษัทแม่ทำให้ไม่สามารถโฟกัสในธุรกิจได้เท่าที่ควร ส่วนแบรนด์จากเกาหลีก็เริ่มอยู่ในช่วงขาลงดังที่เห็นจากข้อมูลในตลาดทั่วโลก เช่นเดียวกับแบรนด์จากสหรัฐฯ ที่แม้จะถือส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ได้ แต่ก็ไม่มีรุ่นรองๆ ลงมาที่จะเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด
     
       เมื่อมองจากแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นว่าโอกาสของแบรนด์จีนในประเทศไทยค่อนข้างเปิดกว้าง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ให้การยอมรับมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่จะเข้ามาครองตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

“แบรนด์จีน” ถล่มตลาดสมาร์ทโฟนไทย

        ***เจาะกลยุทธ์ชิงส่วนแบ่ง
     
       ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในการเข้ามาครองส่วนแบ่งของแบรนด์จีนคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำตลาด โดยทั้งออปโป้ และหัวเว่ย ต่างหันมาโฟกัสที่ตลาดในกลุ่มไฮเอนด์เป็นหลัก ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมเข้ามาสร้างความแตกต่างในตลาด พร้อมกับเป็นการสร้างแบรนด์ไปในตัว ทำให้ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกมองว่าเป็นแบรนด์จีนราคาถูกอีกต่อไป
     
       นายจรูญกล่าวต่อว่า จุดที่ออปโป้ต้องทำการเสริมทัพสมาร์ทโฟนในปีนี้ คือเครื่องในระดับราคา 8,000-12,000 บาท ที่ปัจจุบันออปโป้มีส่วนแบ่งในกลุ่มนี้ค่อนข้างน้อย เพราะยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เข้ามาในตลาดมากนัก ส่วนกลุ่มที่เหลือจะมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมหมดแล้วตั้งแต่ 3,990-19,990 บาท
     
       ทั้งนี้ ออปโป้งเป้าจำหน่ายสมาร์ทโฟนในปีนี้ไว้ที่ 2 ล้านเครื่อง จากปี 2014 ที่ผ่านมาจำหน่ายไปราว 9 แสนเครื่อง และหวังจะขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับ 3 ในตลาดสมาร์ทโฟน จากการที่มีการเพิ่มพนักงานขายอย่างต่อเนื่องจนมีจำนวนมากที่สุดในท้องตลาดขณะนี้ และสัดส่วนการจำหน่ายส่วนใหญ่กว่า 70% จะมาจากตลาดต่างจังหวัด
     
       ขณะที่ นายโทมัส หลิว กรรมการผู้จัดการบริษัท หัวเว่ย ดีไวซ์ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ข้อมูลว่า ทางหัวเว่ยมีแผนที่จะวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 20 รุ่น เพื่อให้สามารถจำหน่ายสมาร์ทโฟนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 4 แสนเครื่องในปีนี้ พร้อมกับการเปิดแบรนด์ชอปแห่งแรกในประเทศไทยเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค
     
       เบื้องต้นทางออปโป้วางงบสำหรับการทำตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้ไว้ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท จากในปีที่ผ่านมาเคยตั้งงบไว้ราว 200 ล้านบาท แต่ใช้ไปทั้งหมด 500 ล้านบาท ส่วนทางหัวเว่ยวางงบการตลาดในปีนี้ไว้ที่ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 200 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการทุ่มเงินลงทุนเข้ามาในตลาดประเทศไทยอย่างมหาศาล
     
       ในขณะที่เลอโนโว และเอซุส ต่างมองไปในตลาดใกล้เคียงกัน ด้วยการนำสมาร์ทโฟนที่เน้นความคุ้มค่าเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพื่อกวาดส่วนแบ่งในเครื่องระดับราคาต่ำกว่าหมื่นบาท ที่ถือเป็นสัดส่วนขนาดใหญ่ที่สุดของตลาดสมาร์ทโฟน
     
       โดยในปีที่ผ่านมาเอซุสค่อนข้างประสบความสำเร็จกับซีรีส์อย่าง Zenfone ทั้ง Zenfone 4 Zenfone 5 และ Zenfone 6 ที่มีการอัปเดตสเปกอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ระดับราคาเดิม ทำให้ลูกค้าพอใจเมื่อเทียบกับค่าเงินที่เสียไป และถือว่าเป็นแบรนด์เดียวที่ทำตลาดร่วมกับการใช้หน่วยประมวลผลของอินเทลอย่างจริงจัง
     
       แบรนด์ที่เหลืออย่างวีโว ก็พยายามสอดแทรกเข้ามาในตลาดระดับกลางบน ด้วยการชูจุดเด่นในเรื่องของดีไซน์ และกล้อง ส่วนทางแซตทีอี ยังคงให้ความสำคัญต่อการทำตลาดในฐานะเป็นผู้ผลิต (OEM) ให้แก่แบรนด์โอเปอเรเตอร์ แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะเข้ามาทำตลาดภายใต้แบรนด์ของแซตทีอีเสริมเข้ามาด้วย
     
       ที่น่าจับตาดูกันต่อไปก็คือเสี่ยวหมี่ ที่คาดว่าจะเข้ามาทำตลาดอย่างเป็นทางการในประเทศไทยภายในปีนี้ ว่าจะยังคงรูปแบบการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เหมือนในหลายๆ ประเทศหรือไม่ เพราะที่ผ่านมามักจะได้เห็นข่าวยอดจองสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ของเสี่ยวหมี่หมดภายในเวลาไม่กี่วินาทีอยู่เรื่อยมา
     
       ประกอบกับความสำเร็จของเสี่ยวหมี่ในปีที่ผ่านมา ที่สามารถไต่อันดับในตลาดสมาร์ทโฟนขึ้นมาครองตำแหน่งที่ 3 ในตลาดโลก ด้วยยอดขายกว่า 61 ล้านเครื่อง ทำให้รายได้รวมเติบโตจากปีก่อนหน้า 135% โดยการทำตลาดเฉพาะในทวีปเอเชียยิ่งทำให้การแจ้งเกิดของเสี่ยวหมี่ในเวทีโลกชัดเจนขึ้น
     
       ที่สำคัญคือ การออกมาจับตลาดสมาร์ทโฟนในระดับไฮเอนด์หลังจากเปิดตัว Mi Note เรียกได้ว่าเป็นการออกมาชนกับ Apple iPhone 6 Plus และ Samsung Galaxy Note 4 ด้วยขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว ในระดับราคาเริ่มต้นที่ 2,299 หยวน (ราว 12,000 บาท)
     
       ยังไม่นับรวมกับรุ่น Mi Note Pro ที่จะออกวางจำหน่ายในอนาคตด้วยการเพิ่มสเปกเข้าไปเป็นจอระดับ 2K ที่ราคา 3,299 หยวน (ราว 17,300 บาท) ยิ่งทำให้แบรนด์ที่เคยเป็นเจ้าตลาดนี้อย่างซัมซุงเริ่มตกที่นั่งลำบากเข้าไปอีก จากแบรนด์จีนที่ทยอยยึดครองตลาดโลก
     
       อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูกันถึงผลตอบรับที่จะเกิดขึ้นจากผู้บริโภคในประเทศไทย เพราะถือว่าเป็นตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูงตลอดเวลา และที่สำคัญคือต้องไม่ลืมในเรื่องของบริการหลังการขาย รวมไปถึงช่องทางจำหน่ายที่คนไทยยังไม่นิยมการซื้อของออนไลน์ ยิ่งทำให้เสี่ยวหมี่มีการบ้านหนักกว่าที่เคย
     
       สุดท้าย ถ้าหากเสี่ยวหมี่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเร็วเท่าไหร่ ภาพของการครองตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจากแบรนด์จีนก็จะชัดเจนยิ่งขึ้นไม่เลือนรางอีกต่อไป
     

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000008588

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.