Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มกราคม 2558 กสทช. เร่งประกาศ ให้การใช้งานมือถือแบบพรีเพดต้องลงทะเบียนซิมการ์ด ภายใน 31 ก.ค. 2558 มิฉะนั้น เบอร์ดังกล่าวอาจไม่สามารถใช้บริการได้ (โดยซิมพรีเพดในปัจจุบันมีผู้ใช้ มากกว่า 90 ล้านเลขหมาย แต่มีการลงทะเบียนเพียง 1.6 ล้านเลขหมายเท่านั้น)

ประเด็นหลัก



ล่าสุด "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เปิดเผยว่า เตรียมออกประกาศให้การใช้งานมือถือแบบพรีเพดต้องลงทะเบียนซิมการ์ด ภายใน 31 ก.ค. 2558 มิฉะนั้น เบอร์ดังกล่าวอาจไม่สามารถใช้บริการได้ครบถ้วน เช่น รับสาย และข้อความได้ แต่โทร.ออกไม่ได้ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละราย

พร้อมระบุว่า ซิมพรีเพดในปัจจุบันมีผู้ใช้ มากกว่า 90 ล้านเลขหมาย แต่มีการลงทะเบียนเพียง 1.6 ล้านเลขหมายเท่านั้น ซึ่งการไม่ลงทะเบียนแสดงตัวตนอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงเรื่องความมั่นคงที่ไม่สามารถตามหาผู้กระทำผิดได้ และแม้ที่ผ่านมา กสทช.จะพยายามร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนซิมการ์ดได้สะดวกขึ้น แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือ


_____________________________________________________












คุ้มครองผู้บริโภค? บีบลงทะเบียน ก่อน "ปิดซิม"



หลังจากมีความพยายามจะให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน(พรีเพด) ต้องลงทะเบียนซิมการ์ดเพื่อให้ยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้ มาตั้งแต่ยุค "กทช." ผ่านมาเกือบ 10 ปี ถึงยุค "กสทช." ก็ยังไม่ได้มีการบังคับใช้จริงจัง

ล่าสุด "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เปิดเผยว่า เตรียมออกประกาศให้การใช้งานมือถือแบบพรีเพดต้องลงทะเบียนซิมการ์ด ภายใน 31 ก.ค. 2558 มิฉะนั้น เบอร์ดังกล่าวอาจไม่สามารถใช้บริการได้ครบถ้วน เช่น รับสาย และข้อความได้ แต่โทร.ออกไม่ได้ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละราย

พร้อมระบุว่า ซิมพรีเพดในปัจจุบันมีผู้ใช้ มากกว่า 90 ล้านเลขหมาย แต่มีการลงทะเบียนเพียง 1.6 ล้านเลขหมายเท่านั้น ซึ่งการไม่ลงทะเบียนแสดงตัวตนอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงเรื่องความมั่นคงที่ไม่สามารถตามหาผู้กระทำผิดได้ และแม้ที่ผ่านมา กสทช.จะพยายามร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนซิมการ์ดได้สะดวกขึ้น แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือ

ด้าน "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า การลงทะเบียนซิมการ์ด ส่งผลดีด้านความมั่นคง ขณะเดียวกันก็คุ้มครองสิทธิ์ของผู้บริโภคหากเกิดปัญหาจากการใช้บริการก็แสดงตนเรียกร้องสิทธิ์ได้ โดยเฉพาะการจะ "ย้ายค่ายเบอร์เดิม" แต่ที่ผ่านมาบรรดาโอเปอเรเตอร์ รวมถึงสำนักงาน กสทช.ต่างละเลยหน้าที่ ยอมให้มีการเปิดซิมใช้งานโดยไม่ต้องลงทะเบียนจนเกิดเป็นปัญหาในปัจจุบัน

"ตอนจะเปิดบริการ 3G บนคลื่น 2100 MHz กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) มีนโยบายชัดว่าต้องมีการลงทะเบียนซิมอย่างจริงจัง แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองทั้งจากผู้ให้บริการและสำนักงาน กสทช. มาครั้งนี้ทางสำนักงานประกาศจะเอาจริง ก็เป็นเรื่องดี แต่การออกมาตรการโดยอนุญาตให้ค่ายมือถือระงับบริการหรือ "ปิดซิม" ได้ จนกว่าจะมาลงทะเบียน ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ที่สำคัญก็คือ อำนาจระงับบริการนั้นจะทำบนฐานกฎหมายใด วิธีนี้เป็นการละเมิดสิทธิ์และส่งผลกระทบมากกว่าการกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ดำเนินการก่อนเข้าสู่บริการ เช่น จะเติมเงินไม่ได้หากไม่ลงทะเบียน เป็นต้น ซึ่งในที่สุดถ้าเงินหรือเวลาหมดก็จะทำให้บริการสิ้นสุดเอง แบบนี้จะดีกว่า" นายประวิทย์กล่าว

นอกจากการบังคับให้ผู้ใช้ลงทะเบียนซิมการ์ดแล้ว เลขาธิการ กสทช.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. ล่าสุด (21 ม.ค. 2558) ได้เห็นชอบให้นำร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยอาศัยการใช้เครือข่าย หรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ.... เข้าสู่กระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะ

โดยในร่างประกาศนี้ นิยาม "การโฆษณา" ให้รวมถึงข้อความเพื่อประโยชน์ทางการค้าและกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ทั้งที่จัดโดยค่ายมือถือหรือคู่ค้าหรือตัวแทนช่วง ซึ่งการกระทำที่ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ได้แก่ การไม่แจ้งให้ผู้บริโภคทราบรายละเอียดการให้บริการอย่างชัดเจน เพื่อให้ทำสัญญาและเลือกใช้บริการได้อย่างถูกต้อง การให้บริการในลักษณะที่บังคับให้ผู้บริโภคต้องใช้บริการนั้นทั้งที่ไม่ประสงค์ การทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริการ การคิดค่าบริการไม่เป็นธรรม การโทรศัพท์หรือส่งข้อความโฆษณาที่ทำให้เดือดร้อนรำคาญหรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้บริโภค (ยกเว้นการแจ้งภัยพิบัติ/เพื่อประโยชน์สาธารณะ/ข้อมูลเงื่อนไขการให้บริการ)

โดยให้ กสทช. สั่งปรับทางปกครองได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 แสนบาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตาม

"หลังประกาศนี้บังคับใช้จะแก้ปัญหาผู้บริโภคที่ถูกคิดค่าบริการเสริม หรือ SMS โฆษณาที่ไม่ได้สมัคร รวมถึงจะมีผลบังคับให้โอเปอเรเตอร์ ต้องคิดค่าโทร.เป็นวินาทีตามการใช้งานจริงได้" เลขาธิการ กสทช.กล่าว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1422506162

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.