Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มีนาคม 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ.พิเชฐ ระบุ อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนวิจัยและพัฒนามากที่สุด คือ 1.ปิโตรเลียม 4,717 ล้านบาท 2.เคมี 4,130 ล้านบาท 3.อาหาร 3,557 ล้านบาท 4.บริการวิจัยและพัฒนา 1,865 ล้านบาท 5.บริการด้านธุรกิจอื่น ๆ1,625 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



"กิติพงค์ พร้อมวงค์" รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวว่า ภาคเอกชนมีการลงทุนด้านการวิจัยเติบโตขึ้นทุกปี จาก 20,684 ล้านบาท หรือ 0.19% ของจีดีพีในปี 2554 เป็น 26,768 ล้านบาท หรือ 0.22% ของจีดีพีในปี 2556

อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนวิจัยและพัฒนามากที่สุด คือ 1.ปิโตรเลียม 4,717 ล้านบาท 2.เคมี 4,130 ล้านบาท 3.อาหาร 3,557 ล้านบาท 4.บริการวิจัยและพัฒนา 1,865 ล้านบาท 5.บริการด้านธุรกิจอื่น ๆ1,625 ล้านบาท 6.แร่อโลหะและแก้ว 1,236 ล้านบาท 7.ธุรกิจค้าส่งและตัวแทนจำหน่าย 1,170 ล้านบาท 8.เครื่องจักร 1,064 ล้านบาท 9.ยานยนต์ 988 ล้านบาทและ 10.โลหะประดิษฐ์ 983 ล้านบาท

ขณะที่บุคลากรด้านการวิจัย 64% อยู่ในภาครัฐ 36% อยู่ในภาคเอกชน โดยประเทศไทยมีนักวิจัยเคมี 3,536 คน นักวิจัยอาหาร 3,373 คน นักวิจัยในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก 1,878 คน อุปกรณ์ไฟฟ้า 1,531 คน เครื่องจักร 1,389 คน วิทยุโทรทัศน์ 1,348 คน อสังหาริมทรัพย์ 1,326 คน แร่อโลหะและแก้ว 1,318 คน บริการด้านธุรกิจอื่น ๆ 1,250 คน และนักวิจัยยานยนต์ 1,048 คน


_____________________________________________________


















ดึง "นวัตกรรม" เพิ่มขีดแข่งขัน สร้างแรงจูงใจลงทุน R&D ในประเทศ


การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่กำลังจะมาถึงในปลายปี 2558 นี้ นับเป็นความท้าทายของประเทศไทยอย่างยิ่ง เพราะเป็นได้ทั้งโอกาสที่เปิดกว้างในการขยายตลาดไปต่างประเทศ แต่หากปรับตัวไม่ทันก็เป็นวิกฤตได้เช่นกัน ทั้งจากการมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น และการลงทุนจากต่างชาติที่อาจมีแรงดึงดูดไปยังประเทศเพื่อนบ้านแทน เพราะต้นทุนแรงงานในบ้านเราไม่ดึงดูดอีกต่อไป

การสนับสนุนเรื่องการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้ดีขึ้น

"พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า มีเป้าหมายในการผลักดันให้ประเทศไทยมีการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาทั้งประเทศให้ถึง 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หรือมีมูลค่าราว 130,000 ล้านบาทภายในปี 2559 เพิ่มจาก 0.47% ของจีดีพี หรือ 57,038 ล้านบาทในปี 2556 และมีสัดส่วนการลงทุนจากภาคเอกชน 70% และภาครัฐ 30% พร้อมกับการเพิ่มนักวิจัยไทยจากอัตราเฉลี่ย 10.5 คน/ประชากร 10,000 คน หรือ 70,686 คน/ปี เพราะถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เกาหลีใต้ มีนักวิจัยเฉลี่ย 60-70 คน/ประชากร 10,000 คน ทำให้ได้เปรียบด้านการพัฒนาเทคโนโลยี

"รัฐจะผลักดันทางด้านกฎหมายและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการสร้างมาตรการจูงใจในการลงทุน อาทิ มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ถึง 300% หรือ 3 เท่าของรายจ่ายจริง จากเดิมให้สิทธิ์ไว้ที่ 200%"

ทั้งหมดข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ใช้เทคโนโลยีในการแข่งขันไม่ใช่แค่ตลาดแรงงาน

ล่าสุดอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา และนวัตกรรม ที่ให้สิทธิ์ภาคเอกชนเข้าถึงแหล่งทุนจากภาครัฐ และสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการให้ทุนได้ เพื่อให้เอกชนนำงานวิจัยที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจอย่างแท้จริง คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายใน 2 เดือนนี้

"กิติพงค์ พร้อมวงค์" รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวว่า ภาคเอกชนมีการลงทุนด้านการวิจัยเติบโตขึ้นทุกปี จาก 20,684 ล้านบาท หรือ 0.19% ของจีดีพีในปี 2554 เป็น 26,768 ล้านบาท หรือ 0.22% ของจีดีพีในปี 2556

อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนวิจัยและพัฒนามากที่สุด คือ 1.ปิโตรเลียม 4,717 ล้านบาท 2.เคมี 4,130 ล้านบาท 3.อาหาร 3,557 ล้านบาท 4.บริการวิจัยและพัฒนา 1,865 ล้านบาท 5.บริการด้านธุรกิจอื่น ๆ1,625 ล้านบาท 6.แร่อโลหะและแก้ว 1,236 ล้านบาท 7.ธุรกิจค้าส่งและตัวแทนจำหน่าย 1,170 ล้านบาท 8.เครื่องจักร 1,064 ล้านบาท 9.ยานยนต์ 988 ล้านบาทและ 10.โลหะประดิษฐ์ 983 ล้านบาท

ขณะที่บุคลากรด้านการวิจัย 64% อยู่ในภาครัฐ 36% อยู่ในภาคเอกชน โดยประเทศไทยมีนักวิจัยเคมี 3,536 คน นักวิจัยอาหาร 3,373 คน นักวิจัยในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก 1,878 คน อุปกรณ์ไฟฟ้า 1,531 คน เครื่องจักร 1,389 คน วิทยุโทรทัศน์ 1,348 คน อสังหาริมทรัพย์ 1,326 คน แร่อโลหะและแก้ว 1,318 คน บริการด้านธุรกิจอื่น ๆ 1,250 คน และนักวิจัยยานยนต์ 1,048 คน





"โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์" ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนาคารกรุงเทพกล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนจากต่างชาติเป็นหลัก ขณะที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำลง ทำให้ความต้องการสินค้าลดลง ส่งผลให้มูลค่าของสินค้าลดลงด้วย ดังนั้น เอกชนต้องหาทางเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ของตนเอง เปลี่ยนซัพพลายให้มูลค่ามากขึ้นควบคุมต้นทุน ดังนั้น การลงทุนเพื่อพัฒนาและวิจัยจึงเข้ามาเป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างจุดแข็งให้ภาคเอกชนไทย

อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะทำให้ต่างชาติมีโอกาสเลือกเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ประเทศไทยมากขึ้น ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้กลายเป็นฐานการลงทุนที่มีองค์ความรู้พร้อมต่อยอดการผลิตของบริษัทเหล่านั้นให้ได้เพื่อดึงดูดให้ต่างชาติเลือกลงทุนในไทย

"ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทุกรายแย่เหมือนกันหมด แต่สหรัฐอเมริกากำลังจะกลับมาได้ไม่ใช่เพราะดีมานด์ดีขึ้นแต่เป็นเพราะเขามีนวัตกรรมในสิ่งที่ประเทศอื่นจำเป็นต้องอุดหนุนเขาทั้งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่านวัตกรรมสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ บริษัทไทยอีกจำนวนมากไม่จำกัดเฉพาะแต่บริษัทขนาดใหญ่ จึงต้องสนับสนุนการวิจัยในองค์กรเพื่อขยายตลาดการค้าของตน โดยใช้องค์ความรู้ที่มีประสบการณ์ที่ได้จากคู่ค้าต่างชาติมาพัฒนาด้วย"

ขณะที่ "กานต์ ตระกูลฮุน" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) เปิดเผยว่า เอสซีจีเริ่มลงทุนเพื่อวิจัยพัฒนามาตั้งแต่ปี 2547 จากจุดเริ่มต้นที่ตระหนักว่าบริษัทต้องเข้าไปแข่งขันในตลาดที่ใหญ่ขึ้น ไม่ใช่แค่ลูกค้าในประเทศไทย แต่เป็นระดับภูมิภาค ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่มีจึงต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มในตนเอง

"ปัจจุบันสินค้าที่เกิดจากนวัตกรรมของเรามีสัดส่วนรายได้กว่า35% ของรายได้รวมหรือราว 169,071 ล้านบาท โตขึ้น 13% จากปี 2556 ที่มีสัดส่วน 35% เหมือนเดิม แต่มีมูลค่าเพียง 149,924 ล้านบาท เอสซีจีเห็นการเติบโตที่จับต้องได้จากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เช่น กล่องกระดาษที่วิจัยจนเกิดเป็นกล่องอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งลดน้ำหนักตัวกล่องลงได้ 16% แต่มีความแข็งแรงขึ้น 10 เท่า ทำให้เป็นที่ตอบรับจากตลาดในต่างประเทศเป็นอย่างมาก"

ล่าสุดในปี 2558 จะมีการเพิ่มงบประมาณการวิจัยขึ้นเป็น 1% ของยอดขายรวม หรือราว 4,890 ล้านบาท มากกว่าปีที่ผ่านมาที่มีงบฯลงทุนที่ 2,710 ล้านบาท หรือ 0.6% ของยอดขาย เพื่อยกระดับการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ปัจจุบันไม่ใช่ผู้ซื้อนวัตกรรมอีกต่อไป แต่เป็นผู้ขายนวัตกรรม หรือพัฒนานวัตกรรมร่วมกับผู้อื่น

"กานต์" ย้ำว่า การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา นอกจากเป็นผลดีต่อเอกชนในการเสริมสร้างการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้ภาครัฐจากผลประกอบการที่ดีขึ้น ในรูปแบบของภาษีที่มากขึ้น จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทุกฝ่าย

"ภาคเอกชนสามารถลงทุนระยะยาวกับบุคลากรได้ เช่น โมเดลของเอสซีจีที่ให้ทุนบุคลากรไปศึกษาวิจัยพัฒนาต่อเนื่องกว่า 26 ปี ปัจจุบันมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ในระดับสูงกลับมาทำงานในองค์กร 489 คน ซึ่งสามารถตอบโจทย์การทำงานในการเป็นผู้พัฒนานวัตกรรมของบริษัทได้ในทันที"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426135649

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.