Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2558 (บทความ) จำไว้! ไม่อยากโดนฟ้องละเมิดสิทธิ ต้องชัวร์ก่อนแชร์ // ไลค์-คอมเมนต์-แชร์ พฤติกรรมเคยชินในสังคมออนไลน์ จนละเลยเรื่องการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น จากข้อมูลของ บริษัท โซเชียล อิงค์ จำกัด ระบุว่า สิ้นเดือน มี.ค. 2558 มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยกว่า 35 ล้านคน หรือคิดเป็น 54% ของจำนวนประชากร 65 ล้านคน

ประเด็นหลัก




ไลค์-คอมเมนต์-แชร์ พฤติกรรมเคยชินในสังคมออนไลน์ จนละเลยเรื่องการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น จากข้อมูลของ บริษัท โซเชียล อิงค์ จำกัด ระบุว่า สิ้นเดือน มี.ค. 2558 มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยกว่า 35 ล้านคน หรือคิดเป็น 54% ของจำนวนประชากร 65 ล้านคน จำนวนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากปริมาณโทรศัพท์มือถือที่มีกว่า 97 ล้าน เลขหมาย หรือคิดเป็น 150% ของจำนวนประชากร ซึ่งใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแทนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไทยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 35 ล้านไอดี หรือ 54% ของประชากร เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 34.6% ติดอันดับ 9 ของโลก เป็นอันดับ 3 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียที่มี 74 ล้านไอดี และฟิลิปปินส์ 44 ล้านไอดี นอกจากนี้กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียต่อประชากรมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนผู้ใช้กว่า 20 ล้านไอดี จากประชากร 10 ล้านคน ส่วนทวิตเตอร์มีผู้ใช้ 4.5 ล้านไอดี มีการทวีต 6.6 ล้านครั้ง/วัน อินสตาแกรม 2 ล้านไอดี และไลน์แอคเคาท์ 33 ล้านไอดี









_________________________________________







จำไว้! ไม่อยากโดนฟ้องละเมิดสิทธิ ต้องชัวร์ก่อนแชร์ | เดลินิวส์


„จำไว้! ไม่อยากโดนฟ้องละเมิดสิทธิ ต้องชัวร์ก่อนแชร์ ปัจจุบันการโพสต์ข้อความด่าทอกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีจำนวนมากขึ้น และมีการแจ้งความดำเนินคดีมาก เพราะการโต้ตอบและเข้าถึงทำได้ง่าย วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2558 เวลา 2:23 น.



ไลค์-คอมเมนต์-แชร์ พฤติกรรมเคยชินในสังคมออนไลน์ จนละเลยเรื่องการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น จากข้อมูลของ บริษัท โซเชียล อิงค์ จำกัด ระบุว่า สิ้นเดือน มี.ค. 2558 มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยกว่า 35 ล้านคน หรือคิดเป็น 54% ของจำนวนประชากร 65 ล้านคน จำนวนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากปริมาณโทรศัพท์มือถือที่มีกว่า 97 ล้าน เลขหมาย หรือคิดเป็น 150% ของจำนวนประชากร ซึ่งใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแทนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไทยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 35 ล้านไอดี หรือ 54% ของประชากร เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 34.6% ติดอันดับ 9 ของโลก เป็นอันดับ 3 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียที่มี 74 ล้านไอดี และฟิลิปปินส์ 44 ล้านไอดี นอกจากนี้กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียต่อประชากรมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนผู้ใช้กว่า 20 ล้านไอดี จากประชากร 10 ล้านคน ส่วนทวิตเตอร์มีผู้ใช้ 4.5 ล้านไอดี มีการทวีต 6.6 ล้านครั้ง/วัน อินสตาแกรม 2 ล้านไอดี และไลน์แอคเคาท์ 33 ล้านไอดี ช่องทางการสื่อสารและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มากมายสะดวกสบาย ย่อมทำให้การกระทบกระทั่งทางความคิด และละเลยเรื่องการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นเป็นเรื่องง่าย ซึ่งอาจกระทำไปทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว “ปัจจุบันการโพสต์ข้อความด่าทอกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีจำนวนมากขึ้น และมีการแจ้งความดำเนินคดีมาก เพราะการโต้ตอบและเข้าถึงทำได้ง่าย ดังนั้นประชาชนต้องระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เนื่องจากอาจกลายเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทและนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีได้” นายณัฐพยงค์ศรีนักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าว นายณัฐ กล่าวว่า การใช้คำหยาบในการแสดงความคิดเห็น (คอมเมนต์) อาจไม่ผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แต่อาจผิดกฎหมายอาญา เรื่องการหมิ่นประมาท หากทำให้บุคคลอื่น ๆ เสียหายหรือดูถูกเกลียดชัง แต่ทั้งนี้หากใช้คำหยาบด่าทอกัน แล้วใช้ข้อมูลเท็จโจมตีกันก็อาจเข้าข่ายผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นเดียวกับการใช้ภาพนักร้องนักแสดงที่ชื่นชอบเป็นโปรไฟล์ในอินสตาแกรมและโพสต์ข้อความที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่านักร้องนักแสดงคนดังกล่าวเป็นผู้โพสต์ หากผู้เสียหายแจ้งความก็สามารถดำเนินคดีได้ เพราะผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 16 ที่ระบุว่า การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด โดยที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้การละเมิดสิทธิบุคคลอื่นในโลกออนไลน์ยังเกิดได้จากหลายลักษณะ เช่น การถูกปลอมแปลงตัวตน (Impersonation Account) เช่น 1. ชื่นชอบตัวบุคคลเป็นการเฉพาะตัว จนเกิดการลอกเลียนแบบโดยแสดงข้อมูลเสมือนเป็นตัวผู้ที่ถูกปลอม 2.ใช้รูปบุคคลอื่นที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ได้ขออนุญาต และ 3. ใช้รูปบุคคลอื่นเพื่อกลั่นแกล้ง เมื่อมีการโกรธเคือง หรือไม่ชื่นชอบบุคคลดังกล่าว จึงปลอมแปลงบัญชีผู้ใช้งาน เพื่อนำไปแอบอ้าง โจมตีบุคคลอื่น เป็นต้น รวมทั้งการแชร์ข้อมูล โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ตามมา ขาดการกลั่นกรองข้อมูลขณะนำเสนอ เช่น การแชร์ชื่อและภาพของผู้เสียหายซึ่งถูกทารุณกรรมทางเพศ โดยใช้ชื่อจริง-นามสกุลจริง ภาพจริง และบุคคลนั้นยังเป็นผู้เยาว์ เหมือนเป็นการซ้ำเติมผู้เสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจ และการถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรณีเมื่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตนำเนื้อหา รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว มาเผยแพร่ โดยไม่ได้ขออนุญาต ดังนั้น การละเมิดสิทธิในสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจึงเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เมื่อได้กระทำการละเมิดสิทธิบุคคลอื่นไปแล้วโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม นายณัฐ กล่าวว่า ถือว่าการกระทำนั้นเกิดความผิดแล้ว กรณีนี้ต้องดูลักษณะเจตนาเป็นสำคัญ ซึ่งกระบวนการยุติธรรมจะใช้เจตนาเป็นตัวพิจารณาและกำหนดโทษ เพราะการทำให้ผู้อื่นเสียหายไม่ว่าจงใจหรือไม่จงใจก็ตามแต่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว จึงต้องมาดูลักษณะว่ามีความจงใจแค่ไหน หรือทำไปเพราะความไม่รู้ตัว เนื่องจากการกระทำที่ไม่รู้ตัว โทษอาจเบากว่า แต่อาจต้องให้ความช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวทางแพ่งต่อไป ส่วนขั้นตอนเมื่อถูกละเมิดสิทธิในโลกออนไลน์ คือ 1. ให้เก็บหลักฐานให้ได้มากที่สุด เช่น URL (ที่อยู่ของเนื้อหาบนเว็บไซต์) วันเวลาที่โพสต์ข้อความ ภาพหน้าจอของเว็บไซต์ที่เกิดเหตุ โดยแสดงให้เห็นเวลา และ URL บนภาพด้วย อาจใช้กล้องถ่ายรูปช่วยในการเก็บหลักฐานเพิ่มเติม โดยเก็บข้อมูลหลักฐานจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือจับภาพหน้าจอของโทรศัพท์ มือถือ 2. รีบแจ้งความลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน เพื่อแสดงถึงความเดือดร้อนของผู้เสียหายจริง ๆ และให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้ 3. ศึกษารายละเอียดการให้บริการของเว็บไซต์ เนื่องจากเว็บไซต์บางแห่งยินยอมให้ผู้เสียหายดำเนินการแก้ไขหรือร้องขอให้ลบหรือขอข้อมูลได้ และ 4. ประสานงานมายังกระทรวงไอซีทีเพื่อขอคำแนะนำด้านเทคนิค ขณะเดียวกันหากเราไปละเมิดสิทธิบุคคลอื่นในโลกออนไลน์ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว ให้ดำเนินการดังนี้ ถ้ากระทำโดยตั้งใจ กรณีที่ผู้เสียหายได้ดำเนินคดีไปแล้วก็ต้องว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ถ้าเป็นการกระทำที่เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว แต่ทราบแล้วว่าไปละเมิดสิทธิบุคคลอื่นควรรีบดำเนินการลบข้อมูลดังกล่าวออกจากระบบ เพื่อเป็นการแสดงถึงความจริงใจและเจตนา ทั้งลดความเสียหายต่อผู้เสียหาย หากมีการดำเนินการตามกฎหมาย ศาลจะพิจารณาจากโทษหนักเป็นเบาหรืออาจไม่ต้องรับโทษก็เป็นได้ สำหรับการใช้งานสังคมออนไลน์ให้ไม่ละเมิดสิทธิบุคคลอื่น นายณัฐ แนะนำว่า ให้คิดเสมอว่าการนำเข้าข้อมูลสู่อินเทอร์เน็ตย่อมเป็นการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ การดำเนินการใด ๆ ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังก่อนที่จะแชร์หรือนำข้อมูลเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้คิดเสมอว่าหากเป็นเราในภาพหรือเนื้อหานั้น จะได้รับความเสียหายหรือไม่อย่างไร วันนี้ทุกคนมีสิทธิในสังคมออนไลน์เท่าเทียมกัน ก็ควรใช้งานโดยไม่ละเมิดสิทธิบุคคลอื่น และมองผลกระทบให้รอบด้านก่อนแสดงความคิดเห็น กดไลค์ และแชร์ข้อมูล. น้ำเพชร จันทา @phetchan“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/334282

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.