Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2558 CAT มีพื้นที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูลจำนวน 1,100 แรค (RACK) หรือคิดเป็น 4,400 ตารางเมตร ส่วน TOT มีจำนวน 300 แรค คิดเป็น 1,200 ตารางเมตร ซึ่งตอนนี้ความต้องการใช้งานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ของภาครัฐมีทั้งหมดอยู่ ประมาณ 30,000 ตารางเมตร

ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ ปัจจุบัน บมจ.กสทฯ มีพื้นที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูลจำนวน 1,100 แรค (RACK) หรือคิดเป็น 4,400 ตารางเมตร ส่วน บมจ.ทีโอที มีจำนวน 300 แรค คิดเป็น 1,200 ตารางเมตร ซึ่งตอนนี้ความต้องการใช้งานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ของภาครัฐมีทั้งหมดอยู่ ประมาณ 30,000 ตารางเมตร ซึ่งจำนวน 10,000 ตารางเมตร จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบในการจัดเก็บข้อมูลแล้ว เพราะใช้มานานครบระยะเวลา 7 ปี โดยปกติรัฐจะต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาในการจัดเก็บข้อมูลประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาทต่อปี

ด้านนายชัยยุทธ สันทนานุการ ที่ปรึกษาอาวุโส รักษาการในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวศูนย์ แคท ดาต้า เซ็นเตอร์ นนทบุรี ทู (CAT data center Nonthaburi II) เพิ่มพื้นที่บริการอีก 300 แรค ใช้เงินลงทุนกว่า 500 ล้านบาท จากเดิมมีอยู่ 800 แรค ทำให้ตอนนี้บริษัทมีพื้นที่บริการ 1,100 แรค เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกผู้ให้บริการโครงข่ายได้อย่างอิสระ เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ.









___________________________________________




ทีโอที-กสทฯรับส้มลูกค้ารัฐ



บอร์ดดีอีใส่พานลูกค้าดาต้าเซ็นเตอร์ให้ 2 รัฐวิสาหกิจ ทีโอที-กสทฯ พิสูจน์ศักยภาพ ระหว่างรอดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติแล้วเสร็จ ขณะที่ บมจ.กสทฯ ขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่ม 300 แรค

นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เมื่อวันที่ 15 ก.ค.58 ที่ผ่านมา มีมติให้หน่วยงานรัฐทั้งหมดที่จะต้องจัดเก็บข้อมูลเลือกเช่าใช้ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ของ บมจ.กสทฯ และบริษัท ทีโอที (มหาชน) จำกัด ในระหว่างที่รอโครงการศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนแล้วเสร็จ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะให้บริการได้ต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ดังนั้น การให้หน่วยงานรัฐเข้าใช้บริการของทั้ง บมจ.กสทฯ และ บมจ.ทีโอทีก่อนนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทั้ง 2 บริษัท ได้โชว์ศักยภาพที่มีอยู่ และเป็นการพิสูจน์ถึงความสามารถในการแข่งขันกับเอกชนด้วย

ทั้งนี้ ปัจจุบัน บมจ.กสทฯ มีพื้นที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูลจำนวน 1,100 แรค (RACK) หรือคิดเป็น 4,400 ตารางเมตร ส่วน บมจ.ทีโอที มีจำนวน 300 แรค คิดเป็น 1,200 ตารางเมตร ซึ่งตอนนี้ความต้องการใช้งานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ของภาครัฐมีทั้งหมดอยู่ประมาณ 30,000 ตารางเมตร ซึ่งจำนวน 10,000 ตารางเมตร จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบในการจัดเก็บข้อมูลแล้ว เพราะใช้มานานครบระยะเวลา 7 ปี โดยปกติรัฐจะต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาในการจัดเก็บข้อมูลประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาทต่อปี

ด้านนายชัยยุทธ สันทนานุการ ที่ปรึกษาอาวุโส รักษาการในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวศูนย์ แคท ดาต้า เซ็นเตอร์ นนทบุรี ทู (CAT data center Nonthaburi II) เพิ่มพื้นที่บริการอีก 300 แรค ใช้เงินลงทุนกว่า 500 ล้านบาท จากเดิมมีอยู่ 800 แรค ทำให้ตอนนี้บริษัทมีพื้นที่บริการ 1,100 แรค เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกผู้ให้บริการโครงข่ายได้อย่างอิสระ เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ.

http://www.thaipost.net/?q=ทีโอที-กสทฯรับส้มลูกค้ารัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.