Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 สิงหาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) TDRI ระบุ ในกรณีนี้หากมีผู้เข้าประมูลเพียง 3 ราย หรือมีรายที่ 4 แต่รายที่ 4 ไม่ได้เข้มแข็งด้านการเงินพอที่จะสู้กับรายอื่นๆ การประมูลลักษณะนี้ก็จะเข้าข่ายเป็นช่องให้เกิดการสมยอมราคา หรือฮั้วประมูล ระหว่างผู้ประกอบการได้

ประเด็นหลัก





ขณะที่ประเด็นที่ 2 คือ กสทช. จัดให้มีการเสนอราคาการประมูลพร้อมกันทั้ง 2 ย่านความถี่ในวันที่ 11 พ.ย. 58 นี้ โดยแบ่งเป็นคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ในช่วงเช้า และคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ในช่วงบ่าย โดยทั้ง 2 ย่านความถี่ดังกล่าวเมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีจำนวนใบอนุญาตทั้งสิ้น 4 ใบอนุญาต ในกรณีนี้หากมีผู้เข้าประมูลเพียง 3 ราย หรือมีรายที่ 4 แต่รายที่ 4 ไม่ได้เข้มแข็งด้านการเงินพอที่จะสู้กับรายอื่นๆ การประมูลลักษณะนี้ก็จะเข้าข่ายเป็นช่องให้เกิดการสมยอมราคา หรือฮั้วประมูล ระหว่างผู้ประกอบการได้






____________________________________________________





'ทีดีอาร์ไอ' หวั่นฮั้วประมูลคลื่น 4 จี



ทีดีอาร์ไอ แนะกสทช. ไม่ควรประมูลคลื่น 1800-900 วันเดียวกัน หวั่นเปิดฮั้วประมูล

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติให้ นำ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือไอเอ็ม ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะนั้น ทีดีอาร์ไอได้ศึกษาร่างประกาศดังกล่าวแล้วเห็นว่า มี 3 ประเด็นหลักที่ไม่เห็นด้วย และ กสทช.ควรดำเนินการแก้ไข ได้แก่ 1.การกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลที่ 13,920 ล้านบาทต่อใบอนุญาต มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

ขณะที่ประเด็นที่ 2 คือ กสทช. จัดให้มีการเสนอราคาการประมูลพร้อมกันทั้ง 2 ย่านความถี่ในวันที่ 11 พ.ย. 58 นี้ โดยแบ่งเป็นคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ในช่วงเช้า และคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ในช่วงบ่าย โดยทั้ง 2 ย่านความถี่ดังกล่าวเมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีจำนวนใบอนุญาตทั้งสิ้น 4 ใบอนุญาต ในกรณีนี้หากมีผู้เข้าประมูลเพียง 3 ราย หรือมีรายที่ 4 แต่รายที่ 4 ไม่ได้เข้มแข็งด้านการเงินพอที่จะสู้กับรายอื่นๆ การประมูลลักษณะนี้ก็จะเข้าข่ายเป็นช่องให้เกิดการสมยอมราคา หรือฮั้วประมูล ระหว่างผู้ประกอบการได้

สำหรับประเด็นที่ 3 กสทช.กำหนดให้ผู้ที่ชนะการประมูลต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของการเข้าถึงของประชากรในประเทศ ภายใน 4 ปี และหลังจากนั้นจะไม่มีการบังคับเพิ่มเติม ถือว่าต่ำเกินไป
นอกจากนี้ อยากให้ กสทช.เร่งดำเนินการเจรจากับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทั้ง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อความชัดเจนในเรื่องสิทธิการใช้งานคลื่นความถี่ และหาทางออกร่วมกันในการที่ กสทช.นำคลื่นความถี่ของทั้ง 2 หน่วยงานหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมาประมูล.

http://www.thaipost.net/?q=ทีดีอาร์ไอ-หวั่นฮั้วประมูลคลื่น-4-จี

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.