Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 การสำรวจในประเทศสิงคโปร์พบว่าคุณแม่มือใหม่ยุคดิจิทัลมีพฤติกรรมในการกดชื่นชอบสื่อโซเชียลมีเดียของสินค้ายี่ห้อดังและมีเพียง6% ติดต่อสื่อสารกับคุณแม่ท่านอื่นในลักษณะออฟไลน์ ขณะที่ในอินโดนีเซีย กว่า 80% นิยมค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และมีถึง 83% ที่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์

ประเด็นหลัก


จากการสำรวจในประเทศสิงคโปร์พบว่าคุณแม่มือใหม่ยุคดิจิทัลมีพฤติกรรมในการกดชื่นชอบสื่อโซเชียลมีเดียของสินค้ายี่ห้อดังและมีเพียง6% ติดต่อสื่อสารกับคุณแม่ท่านอื่นในลักษณะออฟไลน์ ขณะที่ในอินโดนีเซีย กว่า 80% นิยมค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และมีถึง 83% ที่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และอีก 80% นิยมหาข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับในมาเลเซียมีเพียง 40% ที่ยังอ่านข้อมูลจากนิตยสาร และ 72% นิยมใช้สื่อออนไลน์โดยนิยมติดตามสินค้าลดราคา และส่วนลดสินค้าต่าง ๆ


_____________________________________________________










สำรวจ "คุณแม่" ยุคใหม่ โซเชียลเน็ตเวิร์กแหล่งข้อมูลยอดนิยม



การเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้าก็เพื่อที่จะรู้จักและเข้าใจ เพื่อหาทางเข้าถึงผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างหลากหลายได้ตรง มีประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะการใช้ช่องทางออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลมากขึ้นตามความนิยมในการใช้งานสมาร์ทดีไวซ์

"ณัฐธนธร ฟอร์ด" ผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท ทิคเคิลด์ มีเดีย จำกัด เจ้าของ theAsian parent.com เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และเลี้ยงลูกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดทำรายงาน "The Asian Digital Mum Report 2015" โดยรวบรวมข้อมูลจากคุณแม่ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นจำนวนกว่า 2,700 คน มีอายุระหว่าง 25-35 ปี และมีอายุบุตรเฉลี่ยไม่เกิน 1 ขวบ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและเทรนด์การบริโภคสื่อยุคดิจิทัลทั้งของคุณแม่มือใหม่ และว่าที่คุณแม่ เนื่องจากผู้หญิงในบทบาทของ "แม่" มีส่วนต่อการตัดสินใจใช้จ่ายภายในครอบครัวเป็นอย่างมากจึงถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามองและไม่ควรมองข้าม

จากการสำรวจในประเทศสิงคโปร์พบว่าคุณแม่มือใหม่ยุคดิจิทัลมีพฤติกรรมในการกดชื่นชอบสื่อโซเชียลมีเดียของสินค้ายี่ห้อดังและมีเพียง6% ติดต่อสื่อสารกับคุณแม่ท่านอื่นในลักษณะออฟไลน์ ขณะที่ในอินโดนีเซีย กว่า 80% นิยมค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และมีถึง 83% ที่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และอีก 80% นิยมหาข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับในมาเลเซียมีเพียง 40% ที่ยังอ่านข้อมูลจากนิตยสาร และ 72% นิยมใช้สื่อออนไลน์โดยนิยมติดตามสินค้าลดราคา และส่วนลดสินค้าต่าง ๆ

ข้อมูลข้างต้นยังทำให้เห็นถึงพฤติกรรมของคุณแม่ในแต่ละประเทศว่ามีความแตกต่างกัน โดยสื่อออนไลน์เป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตสำหรับคุณแม่ยุคใหม่มากขึ้น

เมื่อโฟกัสมาในประเทศไทย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยคุณแม่มือใหม่ ประมาณ 800,000 คน/ปี โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,600 คน พบว่า อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของกลุ่มคุณแม่มากกว่าสื่อประเภทอื่น และเป็นกลุ่มที่มีสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ในครอบครัว เช่น การซื้อสินค้าหรือการตัดสินใจต่าง ๆ และสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทในการหาข้อมูลต่าง ๆ

โดยโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นแหล่งในการหาข้อมูลอันดับ 1 รองลงมาคือ เว็บไซต์ และครอบครัว ขณะที่สื่อดั้งเดิมอย่างโทรทัศน์ และนิตยสาร อยู่รั้งท้าย

82% ของคุณแม่ชาวไทยจะท่องโลกอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเลตมากขึ้น แบ่งเป็นโทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 48% ไอโอเอส 48% วินโดวส์ 1% และอื่น ๆ 1% ทั้งมีเพียง18% เท่านั้นที่ยังเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดย 46% ของแม่คนไทยเลือกหาข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เพราะเข้าถึงได้ง่ายและ 22% มองว่ารวดเร็วกว่า



จากการสำรวจยังพบด้วยว่า คุณแม่มือใหม่ยุคดิจิทัลใช้เวลาทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตราว 1-6 ชั่วโมงต่อวัน โดย 50% ใช้เวลาเฉลี่ย 1-3 ชั่วโมง, 30% ใช้ 4-6 ชั่วโมง และมากกว่า 6 ชั่วโมง 4% ซึ่งช่วงเวลาที่ออนไลน์สูงสุดอยู่ระหว่าง 1-3 ทุ่ม

"โซเชียลมีเดีย" ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังเป็น "เฟซบุ๊ก" ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 99% มีบัญชีเฟซบุ๊ก, มีอินสตาแกรม 62%, youtube 57% และทวิตเตอร์ 18% ทั้งแนวโน้มปัจจุบัน "คลิปวิดีโอ" เป็นสื่อที่เหล่าคุณแม่มือใหม่นิยมใช้หาข้อมูล ที่ต้องการ เพราะมาจากการใช้งานจริงในการรีวิวต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเทคนิคในการเลี้ยงดูบุตรหลาน เห็นได้จากการที่"ยูทูบ" เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

ในรายงานยังระบุอีกว่า 86% หันมาค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตหลังคลอดบุตรมากขึ้น ขณะที่ปริมาณการบริโภคสื่อดั้งเดิม ทั้งโทรทัศน์และนิตยสารลดน้อยลงมากอยู่ที่ 51% และ 33% ตามลำดับ

หากเปรียบเทียบระหว่างสื่อออนไลน์กับสื่อดั้งเดิมอย่าง "นิตยสาร" จะพบด้วยว่าเมื่อคุณแม่ชาวไทยรับสื่อหรือข้อมูลจากออนไลน์ มีถึง 68% ค้นหาข้อมูลนั้นทันทีและเข้าชมเว็บไซต์ 23% ส่งผลให้เกิดการรับชมรีวิวสินค้าต่าง ๆ 27% ต่างจากเมื่ออ่านนิตยสารแล้วสนใจที่จะค้นหาเพียง 38%, ค้นหาข้อมูลต่อ 9% และรับชมรีวิว 13% เท่านั้น ชัดเจนว่า สื่อออนไลน์มีอิทธิพลกับคุณแม่ชาวไทยอย่างมากในการตัดสินใจหรือการเสพข้อมูลด้วยว่าสื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการสื่อสาร และกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากในไทยทำให้ 55% ของคุณแม่มือใหม่ติดต่อสื่อสารผ่านโลกออนไลน์กับคุณแม่อื่น ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และมีเพียง 3% เท่านั้นที่ติดต่อกันผ่านช่องทางออฟไลน์สัปดาห์ละครั้ง

จากผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า คุณแม่ชาวไทยมีการใช้โปรแกรมไลน์มากที่สุด จากการสำรวจใน 6 ประเทศ โดย 99% ใช้แอปพลิเคชั่นนี้เป็นหลักในการส่งข้อความถึงกัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 97% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ส่งข้อความทางเฟซบุ๊ก (Facebook Messenger) 87%, WhatsApp 10%, iMessage 7% และ Wechat 5%


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440047948

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.