Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2558 (บทความ)บัวหลวงไอแบงกิ้ง เตือนแอปปลอมแฝงไวรัสขโมยรหัสประจำตัวระบาด // ธนาคารขอยืนยันว่า ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS, MMS หรืออีเมล เพื่อขอให้ลูกค้าดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร

ประเด็นหลัก





MMS อีเมล หรือจัดทำหน้าจอหลอกลวงโดยแอบอ้างว่าส่งมาจากธนาคาร เพื่อให้ผู้รับดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมลงบนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวมีไวรัสที่สามารถขโมยรหัสประจำตัว รหัสลับส่วนตัว และข้อความ SMS รวมถึงรหัสผ่านครั้งเดียว (OTP) ที่ส่งผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องดังกล่าวเพื่อใช้ลักลอบเข้าทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของท่านผ่านบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตโดยที่ท่านไม่ทราบ





___________________________________







MMS อีเมล หรือจัดทำหน้าจอหลอกลวงโดยแอบอ้างว่าส่งมาจากธนาคาร เพื่อให้ผู้รับดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมลงบนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวมีไวรัสที่สามารถขโมยรหัสประจำตัว รหัสลับส่วนตัว และข้อความ SMS รวมถึงรหัสผ่านครั้งเดียว (OTP) ที่ส่งผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องดังกล่าวเพื่อใช้ลักลอบเข้าทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของท่านผ่านบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตโดยที่ท่านไม่ทราบ
โดยแนะนำว่า เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ธนาคารขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ (URL) ที่ส่งมากับ SMS MMS อีเมล หรือหน้าจอหลอกลวงข้างต้น

หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

 
บัวหลวงไอแบงกิ้ง เตือนแอปปลอมแฝงไวรัสขโมยรหัสประจำตัวระบาด

ธนาคารกรุงเทพ ร่อนจดหมายเตือนผูัใช้บริการ “บัวหลวงไอแบงกิ้ง” ให้ระวังแอปพลิเคชันปลอมจากกลุ่มมิจฉาชีพที่ส่งผ่าน SMS MMS อีเมล หรือหน้าจอหลอกลวง โดยแอบแฝงติดตั้งไวรัสเพื่อขโมยรหัสประจำตัวในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอินเทอร์เน็ต พร้อมแนะ 4 ข้อควรปฏิบัติทันที
ธนาคารกรุงเทพ ออกจดหมายเตือนผู้ใช้บริการ บัวหลวง ไอแบงกิ้ง ว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพส่ง SMS
หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์ที่ได้รับการดัดแปลงระบบปฏิบัติการ (jail break สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS และ root สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์)

ติดตั้งแอปพลิเคชันป้องกันไวรัสบนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะที่ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์


ทั้งนี้ ธนาคารขอยืนยันว่า ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS, MMS หรืออีเมล เพื่อขอให้ลูกค้าดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร หรือจัดทำหน้าจอเพื่อให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัว ดังนั้น หากท่านได้รับ SMS, MMS หรืออีเมลในทำนองดังกล่าว หรือได้ทำการคลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมที่ต้องสงสัยไปแล้ว หรือพบหน้าจอหรือข้อความที่ไม่คุ้นเคย หรือผิดไปจากปกติให้หยุดทำรายการทันที โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันทีที่บัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ (66) 0-2645-5555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000096697&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+27-8-58&utm_campaign=20150827_m127107147_Manager+Morning+Brief+27-8-58&utm_term=_E0_B8_9A_E0_B8_B1_E0_B8_A7_E0_B8_AB_E0_B8_A5_E0_B8_A7_E0_B8_87_E0_B9_84_E0_B8_AD_E0_B9_81_E0_B8_9A_E0_B8_87_E0_B8_81_E0_B8_B4_E0_B9_89_E0_B8_87+_E0_B9_80_E0_B8_95_E0_B8_B7_E0_B8_AD_E0_B8_99_E0_B9_81_E0_B8_AD_E0_B8_9B_E0_B8_9B_E0_B8_A5_E0_B8_AD_E0_B8_A1_E

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.