Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ระบุ หน่วยงานวิจัยที่สำคัญของไทย ได้กล่าวไว้ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ พ.ศ. 2558” ในงาน นาสด้า อินเวสเตอร์ เดย์ 2015 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เทคโนโลยีแรกที่ ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า มาเร็วและแรงสุด ๆ

ประเด็นหลัก




เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงและมาเร็วกว่าที่คิด...การดำรงชีวิตในยุคดิจิตอล หากไม่รู้เท่าทัน นอกจากจะตกเทรนด์แล้วยังอาจพลาดโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญอีกด้วย ...มาดูกันซิว่า ในปี 2558 นี้ เทคโนโลยีแบบไหนที่กำลังเป็นที่สนใจ... ซึ่ง “ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล” ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานวิจัยที่สำคัญของไทย ได้กล่าวไว้ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ พ.ศ. 2558” ในงาน นาสด้า อินเวสเตอร์ เดย์ 2015 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เทคโนโลยีแรกที่ ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า มาเร็วและแรงสุด ๆ ในขณะนี้ก็คือ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์ หรือ IoT ที่เคยพูดถึงเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา และมีการพูดถึงกันมากขึ้นในปัจจุบัน ว่าจะมาเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ของคนเราด้วยการทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยสิ่งที่สำคัญที่การ์ทเนอร์ (Gartner) บอกไว้ คือ ความท้าทายสำหรับอนาคต ไม่ใช่ในเรื่องการทำให้อุปกรณ์ฉลาดขึ้น แต่เป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีนี้ต่างหาก อย่างเช่นอุปกรณ์เล็ก ๆ อย่าง เทอร์โมสตัท (Thermostat)ในบ้าน



______________________________________________





เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2558


„เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2558 มาเร็วและแรงสุดๆ ในขณะนี้ก็คืออินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์ หรือ IoT ที่เคยพูดถึงเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา และมีการพูดถึงกันมากขึ้นในปัจจุบัน ว่าจะมาเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ของคนเรา วันพฤหัสที่ 10 กันยายน 2558 เวลา 4:32 น. หมวด: ไอที คำสำคัญ: เทคโนโลยี จับตามอง

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงและมาเร็วกว่าที่คิด...การดำรงชีวิตในยุคดิจิตอล หากไม่รู้เท่าทัน นอกจากจะตกเทรนด์แล้วยังอาจพลาดโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญอีกด้วย ...มาดูกันซิว่า ในปี 2558 นี้ เทคโนโลยีแบบไหนที่กำลังเป็นที่สนใจ... ซึ่ง “ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล” ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานวิจัยที่สำคัญของไทย ได้กล่าวไว้ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ พ.ศ. 2558” ในงาน นาสด้า อินเวสเตอร์ เดย์ 2015 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เทคโนโลยีแรกที่ ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า มาเร็วและแรงสุด ๆ ในขณะนี้ก็คือ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์ หรือ IoT ที่เคยพูดถึงเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา และมีการพูดถึงกันมากขึ้นในปัจจุบัน ว่าจะมาเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ของคนเราด้วยการทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยสิ่งที่สำคัญที่การ์ทเนอร์ (Gartner) บอกไว้ คือ ความท้าทายสำหรับอนาคต ไม่ใช่ในเรื่องการทำให้อุปกรณ์ฉลาดขึ้น แต่เป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีนี้ต่างหาก อย่างเช่นอุปกรณ์เล็ก ๆ อย่าง เทอร์โมสตัท (Thermostat)ในบ้าน เมื่อถูกทำให้ฉลาดขึ้นสามารถควบคุมอุณหภูมิห้องได้เองให้เหมาะสมกับความต้องการของเรา วิเคราะห์ได้ว่าจะสามารถประหยัดพลังงานมากน้อยเพียงใด การเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายของอุปกรณ์เหล่านี้ ทำให้เมืองทั้งเมืองสามารถวิเคราะห์ความต้องการพลังงานได้ ธุรกิจสำคัญที่จะเกิดขึ้นก็คือ ธุรกิจของการบริหารจัดการพลังงาน นั่นเอง สำหรับเทคโนโลยีต่อมา ซึ่งได้รับความสนใจไม่แพ้กันก็คือ Deep Learning and AI หรือการเรียนลึก และปัญญาประดิษฐ์ เช่น ความแม่นยำของการรู้จำใบหน้าของเฟซบุ๊ก ที่เบื้องหลังความสามารถนี้ก็คือการพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ ที่คอมพิวเตอร์ถูกออกแบบให้ลอกเลียนการทำงานของระบบประสาท ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ปัจจุบันมีคนกว่า 1,490 ล้านคน กลายเป็นพนักงานที่ป้อนข้อมูลให้กับเฟซบุ๊กโดยไม่รู้ตัว ข้อมูลจำนวนมากหรือบิ๊กดาต้า กลายเป็นแหล่งที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการเรียนรู้และฝึกฝนระบบประสาทสัมผัสมากขึ้น การ์ทเนอร์ ระบุถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้ว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2560) 10% ของระบบคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ในการเรียนรู้มากกว่าการประมวลผล ซึ่งในปัจจุบันเราก็เริ่มเห็นการใช้งานของปัญญาประดิษฐ์นี้ในโปรแกรม เช่น SIRI หรือการสื่อสารกับสมาร์ทโฟน ด้วยเสียงพูด ส่วนเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ 4 ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า อินดัสตี้ 4.0 (Industry 4.0) โดยเป็นยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล และการสื่อสารเข้ามาปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ทั้งเครื่องพิมพ์สามมิติ การใช้เซ็นเซอร์ควบคุมการผลิตผ่านระบบเครือข่าย รวมถึงการบริการเช่าใช้เทคโนโลยี ผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีแห่งอนาคต อย่างเช่น ซูเปอร์แบตเตอรี่ (Super Battery) ที่จะทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถชาร์จได้เต็มใน 5 นาที และใช้งานได้ทั้งวัน แถมยังเปลี่ยนแนวทางการใช้พลังงานในบ้านที่ในอนาคตอาจใช้แบตเตอรี่เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแทนไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟ ต่อมาเป็นเทคโนโลยีด้านสเต็มเซลล์ ที่เรียกว่า สมองน้อยลองยา (Brain Organoid) หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์จนได้ก้อนสมองจิ๋ว ไว้เพื่อเป็นโมเดลสำหรับทดลองในการวิจัยด้านความผิดปกติทางสมอง แทนการทดสอบกับสมองของมนุษย์โดยตรง ซึ่งสมองจิ๋วนี้ปัจจุบันมีนักวิจัยสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วโดยมีขนาดใหญ่สุดประมาณก้อนยางลบดินสอและส่งถ่ายกระแสประสาทได้จริง สำหรับอีก 5 เทคโนโลยีที่น่าจับตา ก็คือ เรื่องการสังเคราะห์แสงเทียม (Artificial photosynthesis) ที่เลียนแบบการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งมีทั้งการใช้วิธีแยกน้ำออกเป็นไฮโดร เจนและออกซิเจน และการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ไฮโดรคาร์บอนที่เป็นประโยชน์ จักรวาลจุลินทรีย์ในร่างกาย (Microbiome) ที่แม้ปัจจุบันจะมีการนำจุลินทรีย์บางชนิดมาใส่ในอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น โยเกิร์ต แต่ในอนาคตน่าจะมีจุลินทรีย์ที่จำเพาะมากขึ้นอีก มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น มาช่วยทั้งกระตุ้นการเติบโต กระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือแม้แต่ใช้รักษาโรคบางอย่าง หมอบนข้อมือ (Nanoparticle-based diagnosis) ที่อนาคตข้อมูลจากนาฬิกาที่ใส่อยู่ทุกวันจะสามารถบอกสถานะสุขภาพของเราได้ การพิมพ์สี่มิติ (4D Printing) ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตหน้าที่ของงานพิมพ์ออกไปอีก โดยอาศัยความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือการจับตัวกันของวัตถุอย่างจำเพาะเจาะจง ทำให้วัตถุที่พิมพ์ออกมาแล้วด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่างตัวเองได้ในภายหลัง หากอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือได้รับสารกระตุ้นอย่างเหมาะสม และสุดท้าย เสื้อผ้าฉลาด (Smart Textiles) เสื้อผ้าในอนาคตอันใกล้ ที่นอกจากจะใช้เพื่อปกป้องร่างกาย หรือเป็นแฟชั่นแล้ว ยังทำอีกหลายอย่างที่เสื้อผ้าแบบเดิม ๆ ทำไม่ได้ เช่น ปรับอุณหภูมิให้ใส่สบาย เก็บพลังงานไว้ใช้ชาร์จมือถือได้ หรือแม้แต่จับจังหวะการเต้นของหัวใจ ทึ่งกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่เชื่อว่าจะมาอยู่ใกล้ตัวเราได้ในอีกไม่นาน!!!. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/346885

http://www.dailynews.co.th/it/346885

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.