Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 ศาลปกครองกลางยกคำร้อง TOT กรณียือ 900 ( ศาลระบุ คำสั่ง กสทช. ชอบด้วยกฏหมาย และ มติคุ้มครองคลื่นถูกต้องตามกฏหมาย ) วงในชี้ ระวังเรื่องกักตุนคลื่นความถี่

ประเด็นหลัก




  อย่างไรก็ดี ในคำฟ้องของทีโอทีดังกล่าว ศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยคำร้องฯ แล้วเมื่อวันที่ 25 ส.ค.58 มีประเด็นว่า การออกประกาศมาตรการคุ้มครองฯ และมติที่ประชุมของคณะกรรมการ กทค.น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วมีความเห็น ดังนี้ 1.การดำเนินการของ กสทช. เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในฐานะองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม เพื่อกำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้สัมปทาน และผู้รับสัมปทานตามการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ปฏิบัติเพิ่มเติมอันเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะ กรณียังไม่พอฟังว่าการออกประกาศมาตรการคุ้มครองฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎนั้นน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
   
       2.มติที่ประชุมคณะกรรมการ กทค.ที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการอนุญาตฯ นั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กทค. ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการอนุญาตตามความจำเป็นหากเห็นว่ามีเหตุสำคัญเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือกฎหมาย หรือพฤติการณที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการแก้ไขเงื่อนไขใบอนุญาตตามมติที่ประชุม กทค.ดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องต่อเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตามกฎหมายใหม่ และประกาศ กสทช. เพื่อให้คุ้มครองผู้ใช้บริการภายหลังสื้นสุดสัญญาสัมปทาน จึงยังไม่พอฟังว่าเป็นมติที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
   
       ดังนั้น เมื่อได้ศาลได้พิเคราะห์แล้วว่า การออกกฎและคำสั่งพิพาทของคณะกรรมการ กสทช. คณะกรรมการ กทค.และเลขธิการ กสทช. ยังไม่พอฟังว่าเป็นกฎ หรือคำสั่งทางปกครองที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเงื่อนไขประการแรกของการที่ศาลจะมีอำนาจมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองได้ กรณีจึงไม่ครบเงื่อนไขตามที่กำหนดในข้อ 72 วรรคสาม แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีการพิจรณาคดีปกครอง พ.ศ.2553 ศาลปกครองกลางจึงมีคำสั่งยกคำขอกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งของทีโอที
   
       แหล่งข่าวในวงการกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการล็อบบี้ของกลุ่มที่ต้องการบริหารความถี่ 900 MHz ต่อไปโดยไม่ต้องการให้เกิดการประมูล ซึ่งในวงสนทนาที่ประกอบไปด้วย ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ และทีโอทีได้ถกเถียงอย่างหนักระหว่างหากความถี่ 900 MHz อยู่ในมือทีโอที แล้วจะมีแผนบริหารจัดการความถี่ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และองค์กรอย่างไร ในเมื่อปัจจุบันบริการ 3G ของทีโอทีอยู่ในภาวะโคม่า โดยเปรียบเทียบกับการเปิดประมูล
   
       ทั้งนี้ ประเด็นการขอคงสิทธิการใช้งานคลื่น 900 MHz ของทีโอทีนั้นจะเกิดความเสียหายหลายอย่าง เช่น 1.รัฐบาลขาดโอกาสรายได้จากการนำคลื่น 900 MHz มาประมูลเพื่อสร้างรายได้ให้แก่รัฐเป็นจำนวนหลายหมื่นล้าน 2.อุตสาหกรรมขาดโอกาสในการลงทุนสร้างโครงข่ายบนคลื่น 900 MHz (ถ้าทีโอทีลงทุนเองจะทำให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลเพิ่มขึ้น) เป็นจำนวนหลายหมื่นล้าน และขาดโอกาสสร้างงานในตำแหน่งใหม่ๆ หลายพันตำแหน่ง 3.อุตสาหกรรมต่อเนื่องเกี่ยวข้องขาดโอกาสที่จะขยายพื้นที่บริการบนโครงข่ายใหม่ของคลื่น 900 MHz เป็นจำนวนแสนล้าน และขาดโอกาสสร้างงานในตำแหน่งใหม่ๆ หลายหมื่นตำแหน่ง
   
       4.ก่อให้เกิดปัญหาการกักตุนคลื่นความถี่ (Spectrum Hoarding) เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน โดย ทีโอที นอกเหนือจากคลื่นย่าน 900 MHz แล้วยังมีคลื่นความถี่ย่านอื่นเป็นจำนวนมากที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็น 3G หรือ 4G ได้และสามารถมีสิทธิการใช้ได้ถึงปี 2568 ได้แก่ คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz จำนวน 15x2 MHz ที่ทีโอทีได้สิทธิการใช้มาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเพียง 400,000 ราย คลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ที่มีขนาด 64x1 MHz สามารถให้บริการ 4G TD-LTE ได้ คลื่นความถี่ย่าน 1900 MHz ที่มีขนาด 15x1 MHz สามารถให้บริการ 4G TD-LTE ได้ และ 5.ราคาการให้บริการแก่ประชาชนบนคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ผ่านการประมูลให้บริการประชาชนบนเทคโนโลยี 3G, 4G ในราคา 84 สตางค์ต่อนาที และในการประมูลคลื่นย่าน 1800 MHz ผู้ชนะการประมูลจะมีเงื่อนไขในการลงราคาการให้บริการลงไปที่ 75 สตางค์ต่อนาที ในขณะที่คลื่นย่าน 900 MHz ที่อยู่ใต้สัมปทานทีโอที มีการให้บริการที่ 99 สตางค์ต่อนาที
   
       “ก่อนหน้านี้ ชิต เหล่าวัฒนา บอร์ดทีโอทียอมรับว่า ต้องรีบหาพันธมิตรด้านบริการโทรศัพท์มือถือเป็นการเร่งด่วน เพราะ สตง.ส่งหนังสือเตือนตั้งแต่เดือน เม.ย.ว่า หากไม่ทำอะไรกับบริการ 3G จะต้องถูกด้อยค่าเงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาททั้งหมด ซึ่งจะกระทบต่อผลประกอบการทีโอทีทันที ส่วนบริการ 3G ในปัจจุบันจากความจุของระบบ 7.2 ล้านเลขหมาย มีลูกค้าแค่ 4-5 แสนราย และทีโอทีแบกภาระขาดทุนวันละ 13 ล้านบาท ซึ่งเห็นได้ชัดถึงศักยภาพการทำธุรกิจด้านนี้ของทีโอที”















____________________________________________







ศาลปกครองกลางยกคำร้องทีโอทีกับสหภาพฯ เรื่องคลื่นความถี่ 900 MHz

     
       พล.อ.อ.ประจิน เดินหน้าเคลียร์ปัญหา 2 คลื่นความถี่ ทั้ง 1800 MHz เพื่อให้คืน 5 MHz ทันเวลา และกรณีความถี่ 900 MHz ที่สหภาพฯประสานเสียงผู้บริหารทีโอที ต้องการได้สิทธิบริหารโดยไม่ต้องการส่งมอบให้ กสทช.จัดประมูล ต้องจบภายใน 18 ก.ย.นี้ กันการเกิดข้อพิพาทในอนาคต ด้านศาลปกครองกลางยกคำร้องสหภาพฯ กับทีโอที ที่ฟ้อง กสทช.เรื่องความถี่ 900 MHz
     
       พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการ กสทช. พร้อมตัวแทนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่สำนักงาน กสทช. ว่า การหารือร่วมกันครั้งนี้เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นความถี่ทั้งหมดตั้งแต่คลื่นความถี่ย่าน 450-2600 MHz รวมถึงรับทราบแผนการประมูลคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz ซึ่งไม่ได้ขัดข้องเรื่องแผนการประมูลที่ กสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.และ 15 ธ.ค.ตามลำดับ แต่ต้องดำเนินการพูดคุยหาข้อสรุปกับเจ้าของสัมปทานเดิมทั้ง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ภายในวันที่ 18 ก.ย.นี้ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบภายในวันที่ 22 ก.ย. ซึ่งการดำเนินการเคลียร์คลื่นความถี่ต้องชัดเจนก่อนวันที่ 25 ก.ย.สำหรับคลื่น 1800 MHz และก่อนวันที่ 30 ก.ย. สำหรับคลื่น 900 MHz ซึ่งจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย.นี้
     
       สำหรับกรอบระยะเวลาในการหารือนั้น ทีมรองนายกรัฐมนตรี และกระทรวงไอซีที รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กสท โทรคมนาคม และทีโอที จะหารือกันในวันที่ 15 ก.ย. เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยในส่วนของคลื่น 1800 MHz ที่ กสท โทรคมนาคมจะคืนมาให้ประมูล จำนวน 5MHz นั้น ต้องหาข้อสรุปว่าต้องดำเนินการแก้ไขสัญญาสัมปทานหรือไม่ ต้องนำเรื่องเข้า ครม.หรือไม่ และเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของ รมว.ไอซีทีในการเจรจากับ กสทช.หรือไม่ ส่วนเรื่องที่ กสท โทรคมนาคม จะขอขยายระยะเวลาใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่เหลืออีก 20 MHz ที่ไม่ได้ใช้งานไปจนถึงปี 68 นั้น กสท โทรคมนาคมต้องเสนอแผนปรับปรุงคลื่นความถี่เพื่อการดำเนินธุรกิจมายัง กสทช.เพื่อให้พิจารณาก่อน ดังนั้น จึงเป็นคนละเรื่องกัน
     
       ขณะที่ปัญหาของทีโอทีนั้นเป็นเรื่องของทัศนคติที่ต่างกันซึ่งฝั่งผู้บริหาร และคณะกรรมการบริษัททีโอทีมีความเห็นอย่างหนึ่ง ขณะที่สหภาพแรงงานทีโอทีมีความเห็นอีกทางหนึ่ง ซึ่งสหภาพฯ ก็ต้องรักษาผลประโยชน์ให้แก่องค์กรซึ่งมีพนักงานกว่า 25,000 คน โดยคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะหมดสัญญาสัมปทานต้องคืนมาที่ กสทช.จากนั้นจะคุยกันอีกรอบในวันที่ 18 ก.ย.เพื่อให้ได้ข้อสรุป และเสนอครม.ในวันที่ 22 ก.ย.
     
       “ตอนนี้ผมไม่ได้ขัดข้องต่อกรอบเวลาการประมูลทั้ง 2 คลื่นตามแผน กสทช. ดังนั้น ก็จะดำเนินการตามกรอบเดิม นอกจากจะมีข้อพิพาทถึงศาล และศาลมีคำสั่งให้ระงับ ดังนั้น จึงต้องเคลียร์ให้จบก่อนที่ทีโอทีจะฟ้อง”
     
       ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า การฟ้องร้องของทีโอทีสามารถดำเนินการได้ แต่สิทธิในการจัดสรรคลื่นความถี่เป็นของ กสทช.โดยตามแผนการดำเนินงานกำหนดการประมูลใบอนุญาตอยู่ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ตามกรอบเวลาเดิมที่ ครม.เห็นชอบไปแล้ว ดังนั้น ข้อพิพาทกับทีโอทีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตขอให้ศาลเป็นคนพิจารณาและตัดสินในเรื่องนี้ กสทช.ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้
     
       ***ศาลปกครองยกคำร้องสหภาพฯ กับทีโอที
     
       ก่อนหน้านี้ สหภาพแรงงานทีโอทีได้ดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 22 พ.ย.56 เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง 1.เพิกถอนประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ พ.ศ.2556 (ประกาศมาตรการคุ้มครองฯ) และ 2.เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคำสั่งของนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เรื่องการแก้ไขเงื่อนไขในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม
     
       โดยต่อมา เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.58 ทีโอทีได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ศาลกำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยขอให้ทุเลาการบังคับตามประกาศมาตรการคุ้มครองฯ และมติที่ประชุมคณะกรรมการ กทค.แก้ไขเงื่อนไขในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ด้วยเหตุผล 1.การออกประกาศมาตรการคุ้มครองฯ ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สามารถให้บริการต่อไปชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี โดยใช้อุปกรณ์ในระบบ และเครื่องมืออันเป็นกรรมสิทธิ์ของทีโอทีนั้น เท่ากับเป็นการขยายเวลาสัญญาอนุญาตฯ โดยไม่มีอำนาจ
     
       2.มติที่ประชุม กทค.ที่แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการอนุญาตฯแบบที่สาม โดยแก้ไขระยะเวลาการจัดทำแผนเยียวยาผู้ใช้บริการจาก 60 วัน เป็น 90 วัน และเพิ่มเติมเงื่อนไขว่า “เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานให้ผู้รับใบอนุญาตและผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้บริการต่อไปเป็นการชั่วคราวภายใต้สัญญาให้บริการเดิม” มีเจตนาที่ไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการรายอื่นอันทำให้ทีโอทีได้รับความเสียหาย
     
       อย่างไรก็ดี ในคำฟ้องของทีโอทีดังกล่าว ศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยคำร้องฯ แล้วเมื่อวันที่ 25 ส.ค.58 มีประเด็นว่า การออกประกาศมาตรการคุ้มครองฯ และมติที่ประชุมของคณะกรรมการ กทค.น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วมีความเห็น ดังนี้ 1.การดำเนินการของ กสทช. เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในฐานะองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม เพื่อกำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้สัมปทาน และผู้รับสัมปทานตามการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ปฏิบัติเพิ่มเติมอันเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะ กรณียังไม่พอฟังว่าการออกประกาศมาตรการคุ้มครองฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎนั้นน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
     
       2.มติที่ประชุมคณะกรรมการ กทค.ที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการอนุญาตฯ นั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กทค. ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการอนุญาตตามความจำเป็นหากเห็นว่ามีเหตุสำคัญเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือกฎหมาย หรือพฤติการณที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการแก้ไขเงื่อนไขใบอนุญาตตามมติที่ประชุม กทค.ดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องต่อเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตามกฎหมายใหม่ และประกาศ กสทช. เพื่อให้คุ้มครองผู้ใช้บริการภายหลังสื้นสุดสัญญาสัมปทาน จึงยังไม่พอฟังว่าเป็นมติที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
     
       ดังนั้น เมื่อได้ศาลได้พิเคราะห์แล้วว่า การออกกฎและคำสั่งพิพาทของคณะกรรมการ กสทช. คณะกรรมการ กทค.และเลขธิการ กสทช. ยังไม่พอฟังว่าเป็นกฎ หรือคำสั่งทางปกครองที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเงื่อนไขประการแรกของการที่ศาลจะมีอำนาจมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองได้ กรณีจึงไม่ครบเงื่อนไขตามที่กำหนดในข้อ 72 วรรคสาม แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีการพิจรณาคดีปกครอง พ.ศ.2553 ศาลปกครองกลางจึงมีคำสั่งยกคำขอกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งของทีโอที
     
       แหล่งข่าวในวงการกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการล็อบบี้ของกลุ่มที่ต้องการบริหารความถี่ 900 MHz ต่อไปโดยไม่ต้องการให้เกิดการประมูล ซึ่งในวงสนทนาที่ประกอบไปด้วย ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ และทีโอทีได้ถกเถียงอย่างหนักระหว่างหากความถี่ 900 MHz อยู่ในมือทีโอที แล้วจะมีแผนบริหารจัดการความถี่ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และองค์กรอย่างไร ในเมื่อปัจจุบันบริการ 3G ของทีโอทีอยู่ในภาวะโคม่า โดยเปรียบเทียบกับการเปิดประมูล
     
       ทั้งนี้ ประเด็นการขอคงสิทธิการใช้งานคลื่น 900 MHz ของทีโอทีนั้นจะเกิดความเสียหายหลายอย่าง เช่น 1.รัฐบาลขาดโอกาสรายได้จากการนำคลื่น 900 MHz มาประมูลเพื่อสร้างรายได้ให้แก่รัฐเป็นจำนวนหลายหมื่นล้าน 2.อุตสาหกรรมขาดโอกาสในการลงทุนสร้างโครงข่ายบนคลื่น 900 MHz (ถ้าทีโอทีลงทุนเองจะทำให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลเพิ่มขึ้น) เป็นจำนวนหลายหมื่นล้าน และขาดโอกาสสร้างงานในตำแหน่งใหม่ๆ หลายพันตำแหน่ง 3.อุตสาหกรรมต่อเนื่องเกี่ยวข้องขาดโอกาสที่จะขยายพื้นที่บริการบนโครงข่ายใหม่ของคลื่น 900 MHz เป็นจำนวนแสนล้าน และขาดโอกาสสร้างงานในตำแหน่งใหม่ๆ หลายหมื่นตำแหน่ง
     
       4.ก่อให้เกิดปัญหาการกักตุนคลื่นความถี่ (Spectrum Hoarding) เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน โดย ทีโอที นอกเหนือจากคลื่นย่าน 900 MHz แล้วยังมีคลื่นความถี่ย่านอื่นเป็นจำนวนมากที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็น 3G หรือ 4G ได้และสามารถมีสิทธิการใช้ได้ถึงปี 2568 ได้แก่ คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz จำนวน 15x2 MHz ที่ทีโอทีได้สิทธิการใช้มาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเพียง 400,000 ราย คลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ที่มีขนาด 64x1 MHz สามารถให้บริการ 4G TD-LTE ได้ คลื่นความถี่ย่าน 1900 MHz ที่มีขนาด 15x1 MHz สามารถให้บริการ 4G TD-LTE ได้ และ 5.ราคาการให้บริการแก่ประชาชนบนคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ผ่านการประมูลให้บริการประชาชนบนเทคโนโลยี 3G, 4G ในราคา 84 สตางค์ต่อนาที และในการประมูลคลื่นย่าน 1800 MHz ผู้ชนะการประมูลจะมีเงื่อนไขในการลงราคาการให้บริการลงไปที่ 75 สตางค์ต่อนาที ในขณะที่คลื่นย่าน 900 MHz ที่อยู่ใต้สัมปทานทีโอที มีการให้บริการที่ 99 สตางค์ต่อนาที
     
       “ก่อนหน้านี้ ชิต เหล่าวัฒนา บอร์ดทีโอทียอมรับว่า ต้องรีบหาพันธมิตรด้านบริการโทรศัพท์มือถือเป็นการเร่งด่วน เพราะ สตง.ส่งหนังสือเตือนตั้งแต่เดือน เม.ย.ว่า หากไม่ทำอะไรกับบริการ 3G จะต้องถูกด้อยค่าเงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาททั้งหมด ซึ่งจะกระทบต่อผลประกอบการทีโอทีทันที ส่วนบริการ 3G ในปัจจุบันจากความจุของระบบ 7.2 ล้านเลขหมาย มีลูกค้าแค่ 4-5 แสนราย และทีโอทีแบกภาระขาดทุนวันละ 13 ล้านบาท ซึ่งเห็นได้ชัดถึงศักยภาพการทำธุรกิจด้านนี้ของทีโอที”


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000104060&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+15-9-58&utm_campaign=20150915_m127366250_Manager+Morning+Brief+15-9-58&utm_term=_E0_B8_A8_E0_B8_B2_E0_B8_A5_E0_B8_9B_E0_B8_81_E0_B8_84_E0_B8_A3_E0_B8_AD_E0_B8_87_E0_B8_81_E0_B8_A5_E0_B8_B2_E0_B8_87_E0_B8_A2_E0_B8_81_E0_B8_84_E0_B8_B3_E0_B8_A3_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_87_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B9_82_E0_B8_AD_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B8_81_E0

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.