Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2558 เทรนด์ไมโคร ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครพบการโจมตีหน่วยงานภาครัฐสูงถึง 1.3 ล้านครั้ง ในขณะที่ธุรกิจในภาคเมนูแฟกเจอริงโดนโจมตี 250,000 ครั้ง ส่วนธุรกิจไฟแนนซ์โดนโจมตี 100,000 ครั้ง สอดคล้องต่อการโจมตีในช่วงที่ผ่านมา ตามรายงานการสรุปสถานการณ์ความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของเทรนด์ไมโครที่ระบุว่า การเจาะระบบรูปแบบใหม่ๆ นั้น อาชญากรไซเบอร์จะเน้นการคุกคามเทคโนโลยีภาครัฐเป็นหลัก

ประเด็นหลัก





       นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครพบการโจมตีหน่วยงานภาครัฐสูงถึง 1.3 ล้านครั้ง ในขณะที่ธุรกิจในภาคเมนูแฟกเจอริงโดนโจมตี 250,000 ครั้ง ส่วนธุรกิจไฟแนนซ์โดนโจมตี 100,000 ครั้ง สอดคล้องต่อการโจมตีในช่วงที่ผ่านมา ตามรายงานการสรุปสถานการณ์ความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของเทรนด์ไมโครที่ระบุว่า การเจาะระบบรูปแบบใหม่ๆ นั้น อาชญากรไซเบอร์จะเน้นการคุกคามเทคโนโลยีภาครัฐเป็นหลัก
     
       ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เต็มไปด้วยปัญหาเรื่องช่องโหว่และการโจมตีระบบที่ซับซ้อน อาชญากรไซเบอร์มีวิธีโจมตีรูปแบบใหม่ๆ เพื่อแทรกซึมเข้าสู่เครือข่าย และใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ที่มักจะถูกมองข้าม โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการโจมตี และใช้วิธีการโจมตีในรูปแบบใหม่ๆ และขยายวงกว้างเกินกว่าแค่การพบซอฟต์แวร์บั๊กทั่วไปที่สามารถเข้าถึงการแฮกระบบเครื่องบิน ระบบรถยนต์อัจฉริยะ และสถานีโทรทัศน์
     
       “แฮกเกอร์จะใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์มากขึ้น มีการปรับปรุงรูปแบบ และเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อปรับปรุงอัตราการแพร่กระจายของไวรัส มีการใช้วิธีการโจมตีหลายๆ วิธีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการใช้ชุดเครื่องมือ Angler สำหรับการเจาะระบบเพิ่มขึ้น 50% และการเติบโต 67%ในส่วนของภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องต่อชุดเครื่องมือการเจาะระบบโดยรวม ขณะที่มัลแวร์เรียกค่าไถ่ CryptoWall ransomware มีการเจาะจงเป้าหมายมากขึ้นโดยเกิดขึ้นในสหรัฐฯ 79%”
     
       นายคงศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อตรวจสอบสถานการณ์ภัยคุกคามในช่วงไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ พบการปรับใช้ และการถูกโจมตีด้วยลิงก์อันตราย สแปม เซิร์ฟเวอร์ C&C และมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยทั้งหมดนี้ปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวาง โดยรายงานยังระบุว่า มีการแฮกระบบที่อาจส่งผลให้ระบบสาธารณูปโภคหยุดชะงักได้ และอาชญากรไซเบอร์ที่ทำงานคนเดียวก็สามารถประสบความสำเร็จในการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และการโจมตี PoS wfh











_____________________________________________



เทรนด์ไมโครพบหน่วยงานรัฐไทยโดนโจมตีกว่า 1.3 ล้านครั้งใน 3 เดือน



        เทรนด์ไมโคร เผยหน่วยงานภาครัฐของไทยโดนโจมตีกว่า 1.3 ล้านครั้ง ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ชี้เป็นไปตามเทรนด์ของโลกที่อาชญากรไซเบอร์จะมุ่งสร้างความเสียหายเทคโนโลยีภาครัฐมากที่สุด โดยเน้นใช้การเจาะระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น แนะลูกค้าคนไทยให้ระวังอุปกรณ์ทุกเครื่องที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพราะจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการโจมตีในอนาคต
     
       นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา เทรนด์ไมโครพบการโจมตีหน่วยงานภาครัฐสูงถึง 1.3 ล้านครั้ง ในขณะที่ธุรกิจในภาคเมนูแฟกเจอริงโดนโจมตี 250,000 ครั้ง ส่วนธุรกิจไฟแนนซ์โดนโจมตี 100,000 ครั้ง สอดคล้องต่อการโจมตีในช่วงที่ผ่านมา ตามรายงานการสรุปสถานการณ์ความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของเทรนด์ไมโครที่ระบุว่า การเจาะระบบรูปแบบใหม่ๆ นั้น อาชญากรไซเบอร์จะเน้นการคุกคามเทคโนโลยีภาครัฐเป็นหลัก
     
       ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 เต็มไปด้วยปัญหาเรื่องช่องโหว่และการโจมตีระบบที่ซับซ้อน อาชญากรไซเบอร์มีวิธีโจมตีรูปแบบใหม่ๆ เพื่อแทรกซึมเข้าสู่เครือข่าย และใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ที่มักจะถูกมองข้าม โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการโจมตี และใช้วิธีการโจมตีในรูปแบบใหม่ๆ และขยายวงกว้างเกินกว่าแค่การพบซอฟต์แวร์บั๊กทั่วไปที่สามารถเข้าถึงการแฮกระบบเครื่องบิน ระบบรถยนต์อัจฉริยะ และสถานีโทรทัศน์
     
       “แฮกเกอร์จะใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์มากขึ้น มีการปรับปรุงรูปแบบ และเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อปรับปรุงอัตราการแพร่กระจายของไวรัส มีการใช้วิธีการโจมตีหลายๆ วิธีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการใช้ชุดเครื่องมือ Angler สำหรับการเจาะระบบเพิ่มขึ้น 50% และการเติบโต 67%ในส่วนของภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องต่อชุดเครื่องมือการเจาะระบบโดยรวม ขณะที่มัลแวร์เรียกค่าไถ่ CryptoWall ransomware มีการเจาะจงเป้าหมายมากขึ้นโดยเกิดขึ้นในสหรัฐฯ 79%”
     
       นายคงศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อตรวจสอบสถานการณ์ภัยคุกคามในช่วงไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ พบการปรับใช้ และการถูกโจมตีด้วยลิงก์อันตราย สแปม เซิร์ฟเวอร์ C&C และมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยทั้งหมดนี้ปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวาง โดยรายงานยังระบุว่า มีการแฮกระบบที่อาจส่งผลให้ระบบสาธารณูปโภคหยุดชะงักได้ และอาชญากรไซเบอร์ที่ทำงานคนเดียวก็สามารถประสบความสำเร็จในการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และการโจมตี PoS wfh
     
       แม้ว่าปัจจุบันในต่างประเทศจะพบมัลแวร์ที่หลากหลาย และกำลังแพร่หลายอย่าง แรนซัมแวร์ หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่นั้น สำหรับในเมืองไทยยังไม่พบรูปแบบนี้มากนัก แต่คาดว่าในอนาคตจะโดนโจมตีรูปแบบนี้ด้วยอย่างแน่นอน โดยพบว่าในปัจจุบันอาญชากรไซเบอร์จะทำงานเป็นแบบฝังตัวเพื่อรอช่องโหว่เพื่อโจมตี โดยปัจจุบันพบว่า มัลแวร์ชื่อ SALITY เข้าโจมตีลูกค้าเอ็นเทอร์ไพรซ์มากที่สุด รองลงมาเป็น GAMARUE และ RAMNIT และล่าสุดคือ KILIM ที่มากับบราวเซอร์
     
       “สำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไปนั้นควรเตรียมความพร้อมด้วยการป้องกันความปลอดภัยด้วยตัวเอง โดยเฉพาะกับเทรนด์ Internet of Thing ที่ภัยคุกคามจะสามารถเข้ามาเจาะข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อโจมตีอุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้าถึงเครือข่ายได้ ดังนั้น การใช้งานเราเตอร์ที่บ้านควรจะต้องทำการตั้งพาสเวิร์ดใหม่ รวมไปถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตต่างๆ ต้องเพิ่มความระมัดระวังต่อการใช้งานในขณะเชื่อมต่อด้วย”

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000112002

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.