Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2558 มร.ทอม สต็อกกี้ (Tom Stocky) รองประธานด้านเสิร์ชของเฟซบุ๊ก เผยว่า ปัจจุบันมีการค้นหาข้อมูลกว่า 1.5 พันล้านครั้งต่อวัน และเฟซบุ๊กมีการทำดัชนีของโพสต์ต่างๆ เก็บไว้มากกว่า 2 ล้านล้านโพสต์

ประเด็นหลัก


       มร.ทอม สต็อกกี้ (Tom Stocky) รองประธานด้านเสิร์ชของเฟซบุ๊ก เผยว่า ปัจจุบันมีการค้นหาข้อมูลกว่า 1.5 พันล้านครั้งต่อวัน และเฟซบุ๊กมีการทำดัชนีของโพสต์ต่างๆ เก็บไว้มากกว่า 2 ล้านล้านโพสต์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบค้นหาข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเฟซบุ๊ก อีกทั้งในปัจจุบันเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในโลก ผู้คนมักจะเปิดเฟซบุ๊กเพื่อติดตามข่าวสาร รวมถึงติดตามปฏิกิริยาของเพื่อนฝูง หรือครอบครัว ซึ่งในจุดนี้ทางเฟซบุ๊กมองว่าการอัปเดตระบบค้นหาข้อมูลในเฟซบุ๊กทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ปฏิกิริยาของสังคมที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นนั่นเอง
     
       มร.สต็อกกี้ เผยด้วยว่า ระบบเสิร์ชใหม่นี้ยังช่วยตัดทอนในส่วนที่ไม่จำเป็น หรือไม่เกี่ยวข้องออกให้ และอาจแสดงผลความคิดเห็น หรือโพสต์ของคนแปลกหน้าที่ไม่ได้เป็นเพื่อนของผู้ใช้เฟซบุ๊กออกมาได้ด้วย
     
       แต่สำหรับผู้ที่กังวลว่า โพสต์เก่าๆ ของตนเองจะถูกดึงขึ้นมาในระบบค้นหาใหม่นี้ ก็สามารถเข้าไปตั้งค่าการแสดงผลได้ใหม่ด้วยเช่นกัน
     
       โดยระบบ Search FYI นี้ยังมาพร้อมระบบคาดการณ์คำล่วงหน้าถึงคำที่ผู้ใช้ต้องการป้อน และสามารถรีเฟรชได้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ระบบอัปเดตโพสต์ต่างๆ ออกมามากขึ้น
     
       บริการ Search FYI นี้เปิดให้บริการแล้วอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ iOS แอนดรอยด์ และผู้ที่ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ส่วนภูมิภาคอื่นของโลกนั้นยังไม่มีการระบุว่าจะให้บริการฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ได้เมื่อไร











______________________________






เฟซบุ๊กเปิด “Search FYI” คาดดึงผู้ใช้ไม่ให้ออกไปเสิร์ชในระบบอื่น


     
       เฟซบุ๊ก (Facebook) ปรับปรุงระบบค้นหาข้อมูลใหม่พร้อมเปิดตัวในชื่อ “Search FYI” เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถค้นหาโพสต์ในเรื่องที่ต้องการได้กว้างขวางมากขึ้น โดยระบบจะดึงทั้งโพสต์ในปัจจุบัน และโพสต์ในอดีตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวดังกล่าวออกมาได้ แถมการแสดงผลยังอาจมีทั้งโพสต์ของเพื่อนๆ และโพสต์จากคนแปลกหน้าที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนด้วย
     
       การพัฒนาระบบเสิร์ชครั้งนี้เป็นผลมาจากความพยายามของเฟซบุ๊กที่ต้องการดึงผู้คนให้อยู่บนแพลตฟอร์มของตนเองให้นานที่สุด ซึ่งการเพิ่มระบบเสิร์ชลงไปทำให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไม่ต้องออกไปใช้ระบบอื่นค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั่นเอง
     
       มร.ทอม สต็อกกี้ (Tom Stocky) รองประธานด้านเสิร์ชของเฟซบุ๊ก เผยว่า ปัจจุบันมีการค้นหาข้อมูลกว่า 1.5 พันล้านครั้งต่อวัน และเฟซบุ๊กมีการทำดัชนีของโพสต์ต่างๆ เก็บไว้มากกว่า 2 ล้านล้านโพสต์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบค้นหาข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเฟซบุ๊ก อีกทั้งในปัจจุบันเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในโลก ผู้คนมักจะเปิดเฟซบุ๊กเพื่อติดตามข่าวสาร รวมถึงติดตามปฏิกิริยาของเพื่อนฝูง หรือครอบครัว ซึ่งในจุดนี้ทางเฟซบุ๊กมองว่าการอัปเดตระบบค้นหาข้อมูลในเฟซบุ๊กทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ปฏิกิริยาของสังคมที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นนั่นเอง
     
       มร.สต็อกกี้ เผยด้วยว่า ระบบเสิร์ชใหม่นี้ยังช่วยตัดทอนในส่วนที่ไม่จำเป็น หรือไม่เกี่ยวข้องออกให้ และอาจแสดงผลความคิดเห็น หรือโพสต์ของคนแปลกหน้าที่ไม่ได้เป็นเพื่อนของผู้ใช้เฟซบุ๊กออกมาได้ด้วย
     
       แต่สำหรับผู้ที่กังวลว่า โพสต์เก่าๆ ของตนเองจะถูกดึงขึ้นมาในระบบค้นหาใหม่นี้ ก็สามารถเข้าไปตั้งค่าการแสดงผลได้ใหม่ด้วยเช่นกัน
     
       โดยระบบ Search FYI นี้ยังมาพร้อมระบบคาดการณ์คำล่วงหน้าถึงคำที่ผู้ใช้ต้องการป้อน และสามารถรีเฟรชได้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ระบบอัปเดตโพสต์ต่างๆ ออกมามากขึ้น
     
       บริการ Search FYI นี้เปิดให้บริการแล้วอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ iOS แอนดรอยด์ และผู้ที่ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ส่วนภูมิภาคอื่นของโลกนั้นยังไม่มีการระบุว่าจะให้บริการฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ได้เมื่อไร


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000119352&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+27-10-58&utm_campaign=20151026_m127962086_Manager+Morning+Brief+27-10-58&utm_term=_E0_B9_80_E0_B8_9F_E0_B8_8B_E0_B8_9A_E0_B8_B8_E0_B9_8A_E0_B8_81_E0_B9_80_E0_B8_9B_E0_B8_B4_E0_B8_94+_E2_80_9CSearch+FYI_E2_80_9D+_E0_B8_84_E0_B8_B2_E0_B8_94_E0_B8_94_E0_B8_B6_E0_B8_87_E0_B8_9C_E0_B8_B9_E0_B9_89_E0_B9_83_E0_B8_8A_E0_B9_89_E0_B9_84_E0_B8_A1

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.