Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2558 WHO (องค์การอนามัยโลก) โดยทั่วไปย่านความถี่ 800-900 MHz จะแผ่ความถี่ที่ระดับความแรง 2 วัตต์ โดยจะไม่สามารถอัดกำลังส่งได้มากกว่านี้ เนื่องจากจะไปกวนเครื่องส่งในเครือข่ายเดียวกัน

ประเด็นหลัก

 นางนุสรา หนาแน่น ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและเทคโนโลยีโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า การจัดทำมาตรฐานกำกับดูแลส่วนใหญ่อิงตามมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ และด้านสุขภาพ WHO (องค์การอนามัยโลก) ขณะที่ด้านกายภาพ พบว่า ในแต่ละช่วงไม่มีความแน่นอนของความแรงสัญญาณในแต่ระยะที่ต่างกัน โดยจะผกผันกับระยะทาง และชนิดความถี่ เช่น ความถี่สูงจะมีระยะทางการแพร่สัญญาณที่ใกล้ ขณะที่ความถี่สัญญาณที่ต่ำจะแพร่สัญญาณได้ไกล โดยทั่วไปย่านความถี่ 800-900 MHz จะแผ่ความถี่ที่ระดับความแรง 2 วัตต์ โดยจะไม่สามารถอัดกำลังส่งได้มากกว่านี้ เนื่องจากจะไปกวนเครื่องส่งในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งอุปกรณ์ที่นำเข้ามาใช้ได้รับการตรวจสอบจาก กสทช. แล้วทั้งสิ้น โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดของมาตรฐานทั้งสิ้น โดย มาตรฐานของประเทศไทย มีข้อกำหนดความแรงสัญญาณที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากลหลายร้อยเท่า ซึ่งถือว่าต่ำเป็นอย่างมาก
     
       ขณะที่มาตรฐานของอุปกรณ์ในการตรวจเป็นแบบเดียวกับที่หน่วยงาน ITU รับรอง เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยรูปแบบของการตรวจนั้นจะใช้ทั้งเกณฑ์มาตรฐานของทั้ง WHO และ ITU เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งด้านเทคนิค และประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งการวัดโดยรวมทั้งสถานีฐานทั้งเก่าและใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ยังไม่มีอุปกรณ์ชิ้นใดที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด กลับกันมาตรฐานของอุปกรณ์มีมาตรฐานสูงกว่าที่กำหนดกว่า 100 เท่า โดยมีมาตรฐานเกณฑ์เดียวกับประเทศทางฝั่งยุโรป ซึ่งมีความปลอดภัยทั้งสถานีฐาน และเครื่องลูกข่ายทั้งหมด
     
       ทั้งนี้ หน่วยงานมาตรฐานก็มุ่งหวังที่จะสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในทั้ง 5 ภูมิภาค โดยตั้งเป้าหมายในปีนี้ว่าจะจัดเวทีให้ความรู้เรื่องผลกระทบของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของมนุษย์กว่า 10 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 4 แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ตรวจสอบผลการจัดย้อนกลับ โดยรอให้จัดครบทั้งหมด จึงจะมีการตรวจวัดผลทั้งหมดอีกครั้ง และในปีหน้าจะทำการตรวจวัดควบคู่กับการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับภาคประชาชนควบคู่กันไป ซึ่งจะพุ่งเป้าไปที่ผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง












______________________________






ข้อเท็จจริงคลื่นสัญญาณมือถือ



ข้อเท็จจริงคลื่นสัญญาณมือถือ



การถกเถียงประเด็นอันตรายของคลื่นสัญญาณจากเสาส่งโทรศัพท์มือถือกลายเป็นเรื่องราวที่ทำให้เกิดความสับสนกับผู้ใช้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะอันตรายจากคลื่นสัญญาณที่ตั้งใกล้ชุมชน การตั้งข้อสังเกตถึงประกาศขององค์การอนามัยโลก ให้มือถือเป็นกลุ่ม 2B หรือกลุ่มที่อาจจะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง หรือแม้กระทั่งอาการวิตกจริตที่มักเกิดขึ้นต่อร่างกายและจิตใจ เมื่อรู้ว่าเสาสัญญาณจะเข้ามาตั้งในพื้นที่ใกล้ตัว หากแต่ความกังวลดังกล่าวทำให้เกิดการต่อต้านไม่ให้ตั้งเสาสัญญาณในพื้นที่ชุมชนซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเสาสัญญาณไม่ใกล้ผู้ใช้หากเกิดการใช้สัญญาณในปริมาณมากๆ ปัญหาที่ตามมา คือ การสื่อสารติดขัด และอาจจะขัดต่อระเบียบการขยายพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณที่สัญญาไว้หลังได้ใบอนุญาต เดือดร้อนถึง กสทช.ที่ต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน
     
       นายอาจณรงค์ ฐานสันโดษ ที่ปรึกษาทางวิชาการ สำนักมาตรฐานและเทคโนโลยีโทรคมนาคม กสทช. นักวิทยาศาตร์อาวุโสจากกระทรวงอนามัย แคนนาดา กล่าวบนเวทีโครงการให้ความรู้เรื่องผลกระทบของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของมนุษย์ใน 5 ภูมิภาค ซึ่งจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2558 ที่โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า ข้อเท็จจริงบางอย่างอาจจะเดินทางไม่ถึงประชาชน ทำให้เกิดการต่อต้าน ซึ่งจากผลการวิจัยที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนที่ระบุว่าคลื่นสัญญาณจากเสาส่ง หรือสถานีฐานจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้มีการศึกษาและวิจัยมากมาย จนได้มาตรฐานที่ประกาศใช้ทั่วโลก ซึ่งสำนักงานกำกับดูแลในประเทศไทยก็ได้นำมาตรฐานดังกล่าวมาบังคับใช้แล้ว
     
       ขณะที่ก็มีข้อมูลอีกหลายประเภทที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ และได้รับการยืนยันอย่างถูกต้อง แต่ถูกนำมาเผยแพร่อย่างกว้างขวางจนทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์บางคนที่มีอคติเกิดขึ้น ทำให้หยิบยกประเด็นบางส่วนที่สนับสนุนความคิดเห็นของตนเองจนทำให้เกิดความเข้าใจที่บิดเบือน กลับกัน ข้อสรุปที่เป็นกลางกลับไม่ได้รับการหยิบยกในการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน
     
       *** ทำไมต้องมีเสาส่งสัญญาณ
     
       เพราะสถานีฐานเป็นส่วนสำคัญของการสื่อสารระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องส่งวิทยุ เครื่องรับวิทยุ สายอากาศ สายเคเบิลสัญญาณ และโครงสร้างเสา โดยสายอากาศเป็นตัวกระจายและส่งสัญญาณที่สำคัญ และเป็นตัวปล่อยคลื่นสัญญาณออกไปยังตัวรับ ซึ่งในประเทศแคนนาดามีการประยุกต์เสาสัญญาณมือถือให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด เพื่อลดการบดบังทัศนียภาพของพื้นที่โดยรอบ ซึ่งลักษณะการทำงานของเสาส่งจะมีการเชื่อมต่อสัญญาณเป็นแบบรวงผึ้ง เพื่อเชื่อมสัญญาณทั้งหมดเป็นเครือข่าย
     
       ขณะที่ในประเทศไทยเริ่มมีการใช้สัญญาณวิทยุครั้งแรกในปี 2470 โดยสัญญาณวิทยุโทรทัศน์มีระดับการส่งสัญญาณที่แรงหลายกิโลวัตต์ และสัญญาณมือถือเริ่มเข้ามาในปี 2529 ด้วยความแรงของเสาส่งประมาณ 60-70 วัตต์ โดยตัวมือถือเองมีการปล่อยกำลังเพียงแค่ 2 วัตต์เท่านั้น และเมื่อเกิดการใช้งานมากขึ้น ความต้องการสถานีฐานเพื่อขยายสัญญาณให้รองรับการใช้งานได้มากขึ้น ขนาดของตัวส่งสัญญาณจึงเริ่มมีการพัฒนาให้เล็กลงเพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ชุมชนได้อย่างสะดวก โดยตัวไมโครเซลล์ที่ติดตั้งทั่วไปในชุมชน เริ่มกำลังส่งไม่ถึง 10 วัตต์
     
       นายดำรงค์ วัสโสทก ผู้อำนวยการสำนักการอนุญาตและกำกับวิทยุโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า ระบบโทรศัพท์ที่เข้ามาในประเทศไทย จะมีการออกแบบสถานีฐานเพื่อไม่ให้เกิดจุดบอดในระหว่างการใช้งานทั้งแบบเคลื่อนที่ และอยู่กับที่ โดยการอนุญาตได้มีการแบ่งเป็นขนาดของสัญญาณแบบสเปกตรัม ซึ่งผู้ประกอบการก็ต้องดีไซน์ให้เกิดการใช้คลื่นสัญญาณให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เมื่อจัดสถานที่ที่มีผู้คนมาก การตั้งสถานีฐานเข้าไปในชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อตอบสนองการใช้งานที่เพียงพอ โดยในทางปฏิบัติจะต้องตั้งใกล้ชุมชนมากที่สุด ตามมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อให้ชุมชนนั้นๆ ได้รับการบริการที่มีคุณภาพดีที่สุด
     
       *** จริงไหมระยะอันตราย คือ 400 เมตร รอบเสาส่ง
     
       นายอาจณรงค์ กล่าวว่า ระยะ 400 เมตร ที่สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นกับประชาชนนั้น กสทช. ได้มีการสำรวจเสาในพื้นที่ใช้งานจริงที่ระดับความแรงเทียบกับระยะห่าง โดยพบว่าไม่ได้มีความแตกต่างตามระยะห่างมากนัก ซึ่งก็ยังคงคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานอยู่หลายพันเท่า ซึ่งมาจากการออกแบบสัญญาณให้เกิดขึ้นแบบแนวนอน โดยลาดเอียงลงพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งก็ยืนยันได้ว่าสิ่งที่ได้ยินมาไม่จริงแต่อย่างใด
     
       ในประเทศแคนนาดา มีการกำกับดูแลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ประกอบการก็มีระเบียบปฏิบัติที่คล้ายกับประเทศไทย ซึ่งก็ไม่มีข้อกำหนด 400 เมตรเกิดขึ้น โดยจริงๆแล้วความแรงของสัญญาณเป็นเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานมากกว่า นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีการสุ่มสำรวจมาตรฐานโดยที่ผู้ให้บริการไม่รู้ตัว เพื่อสุ่มตรวจสอบ และพบบางสถานีฐานมีการปล่อยสัญญาณต่ำกว่าข้อกำหนดมาตรฐาน 1,000-10,000 เท่า
     
       ด้านนายดำรงค์ กล่าวเสริมว่า เราไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ว่าจะต้องห่างชุมชน 400 เมตร แต่สิ่งที่เราควบคุมเริ่มตั้งแต่การอนุญาตตั้ง และหลังตั้งก็มีการตรวจสอบและควบคุมตามที่ กสทช. กำหนด มีการควบคุมว่ามีการป้องกันฟ้าผ่าหรือไม่ และการออกใบอนุญาตจะต้องผ่านขั้นตอนมากมาย ตลอดจนมีการประเมินประชาชนรอบพื้นที่การตั้งสถานีฐาน โดยข้อกำหนดดังกล่าว มีความปลอดภัย และใส่ใจที่จะดูแล ยกตัวอย่างเช่น ในจังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีฐานของทั้ง 3 ค่ายหลักกว่า 1,224 แห่ง โดยจะมีทั้งส่วนที่จัดตั้งขึ้นในอดีตก่อนที่จะมี กสทช. และส่วนที่จัดตั้งขึ้นหลังมีข้อกำหนด แต่ทั้งหมดถ้ามีการนำอุปกรณ์ใหม่เข้าไปเชื่อมต่อกับเสาเก่าจะต้องผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนด กสทช.ทั้งสิ้น
     
       *** มาตรฐานกำกับดูแลของไทย
     
       นางนุสรา หนาแน่น ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและเทคโนโลยีโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า การจัดทำมาตรฐานกำกับดูแลส่วนใหญ่อิงตามมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ และด้านสุขภาพ WHO (องค์การอนามัยโลก) ขณะที่ด้านกายภาพ พบว่า ในแต่ละช่วงไม่มีความแน่นอนของความแรงสัญญาณในแต่ระยะที่ต่างกัน โดยจะผกผันกับระยะทาง และชนิดความถี่ เช่น ความถี่สูงจะมีระยะทางการแพร่สัญญาณที่ใกล้ ขณะที่ความถี่สัญญาณที่ต่ำจะแพร่สัญญาณได้ไกล โดยทั่วไปย่านความถี่ 800-900 MHz จะแผ่ความถี่ที่ระดับความแรง 2 วัตต์ โดยจะไม่สามารถอัดกำลังส่งได้มากกว่านี้ เนื่องจากจะไปกวนเครื่องส่งในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งอุปกรณ์ที่นำเข้ามาใช้ได้รับการตรวจสอบจาก กสทช. แล้วทั้งสิ้น โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดของมาตรฐานทั้งสิ้น โดย มาตรฐานของประเทศไทย มีข้อกำหนดความแรงสัญญาณที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากลหลายร้อยเท่า ซึ่งถือว่าต่ำเป็นอย่างมาก
     
       ขณะที่มาตรฐานของอุปกรณ์ในการตรวจเป็นแบบเดียวกับที่หน่วยงาน ITU รับรอง เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยรูปแบบของการตรวจนั้นจะใช้ทั้งเกณฑ์มาตรฐานของทั้ง WHO และ ITU เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งด้านเทคนิค และประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งการวัดโดยรวมทั้งสถานีฐานทั้งเก่าและใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ยังไม่มีอุปกรณ์ชิ้นใดที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด กลับกันมาตรฐานของอุปกรณ์มีมาตรฐานสูงกว่าที่กำหนดกว่า 100 เท่า โดยมีมาตรฐานเกณฑ์เดียวกับประเทศทางฝั่งยุโรป ซึ่งมีความปลอดภัยทั้งสถานีฐาน และเครื่องลูกข่ายทั้งหมด
     
       ทั้งนี้ หน่วยงานมาตรฐานก็มุ่งหวังที่จะสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในทั้ง 5 ภูมิภาค โดยตั้งเป้าหมายในปีนี้ว่าจะจัดเวทีให้ความรู้เรื่องผลกระทบของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของมนุษย์กว่า 10 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 4 แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ตรวจสอบผลการจัดย้อนกลับ โดยรอให้จัดครบทั้งหมด จึงจะมีการตรวจวัดผลทั้งหมดอีกครั้ง และในปีหน้าจะทำการตรวจวัดควบคู่กับการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับภาคประชาชนควบคู่กันไป ซึ่งจะพุ่งเป้าไปที่ผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง
     
       *** ข้อร้องเรียนอาการป่วย
     
       นายแพทย์พิบูล อิสสระพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการตรวจสอบเมื่อมีข้อร้องเรียนเกิดขึ้น พบว่า ผู้ที่ไม่รู้ว่ามีการตั้งเสาสัญญาณมักไม่เกิดอาการแต่อย่างใด ขณะที่ผู้ที่มีอาการมักเกิดจากผู้ที่รู้ว่ามีเสามาตั้งอยู่ใกล้ๆ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นมีเพียงแค่ความรู้สึกด้านลบที่เกิดจากการสอบถามเท่านั้น โดยคนส่วนใหญ่ที่ถูกถามเหมือนได้รับการกระตุ้นให้เกิดอาการ
     
       นายอาจณรงค์ กล่าวเสริมว่า อาการป่วยที่อ้างว่าเกิดจากเสาส่งสัญญาณยังไม่มีการศึกษาว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ หากแต่การสอบถามชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงอาจจะเป็นการสำรวจที่ไม่ได้มาตรฐานแต่อย่างใด ซึ่งที่ถูกต้องควรนำบุคคลเหล่านั้นเข้าไปอยู่ในสภาวะปิด เพื่อควบคุมการปล่อยสัญญาณโดยที่กลุ่มตัวอย่างไม่รู้ตัว โดยในต่างประเทศมีการทดสอบโดยนำผู้ป่วยเข้าไปทดสอบหลายคนในหลายห้องทดลองปิด โดยมีการแขวนโทรศัพท์ทั้งมีการปล่อยสัญญาณ และไม่ปล่อยสัญญาณ โดยที่ผู้ทดลองไม่ได้รู้ความจริง ผลปรากฏว่ามีอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสัญญาณแต่อย่างใด โดยความเชื่อส่วนตัวมีผลต่ออาการป่วยที่เกิดขึ้นและเหมารวมว่าเกิดจากการปล่อยสัญญาณจากสถานีฐาน
     
       *** WHO จัดอยู่ในกลุ่ม 2B
     
       ข้อเท็จจริงเรื่องการที่องค์การอนามัยโรคจัดให้โทรศัพท์มือถืออยู่ในกลุ่ม ที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง โดยมีการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ควันดำจากรถยนต์ แต่ว่าเราก็ยังอยู่กับรถยนต์ได้ ขณะที่อีกกลุ่มอาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 2 เอ เช่น หรือส่วนที่ดำๆ ที่เกิดจากการปิ้งย่างเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นห่วงโซ่อิทารีน อีกกลุ่มเป็น 2บี ไม่แน่ชัดว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง ขณะที่กลุ่มสุดท้ายกลุ่ม 3 ไม่ใช่สารก่อมะเร็งเลย โดยจะต้องดูว่าการก่อมะเร็งเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ชิ้นไหน และส่งผลต่อจุดใด โดยผลวิจัยดังกล่าวของกลุ่มนี้เป็นเครื่องโทรศัพท์ไม่ใช่เสาส่งที่ระบุว่า อาจจะเป็นสารก่อมะเร็ง โดยสัญญาณจากตัวเครื่องโทรศัพท์มีการวิจัยที่อาจจะเสี่ยงเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
     
       การศึกษาที่ชี้แนะว่าเป็นไปได้ที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งล้วนเกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับคลื่นสัญญาณแต่อย่างใด การจัดเข้ากลุ่ม 2บี ดังกล่าวบอกเพียงว่ามีความเป็นไปได้ โดยที่ไม่ได้บอกว่าเกี่ยวข้องกับสัญญาณมือถือ และการศึกษาเสาส่งสัญญาณทุกชิ้นที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานไหนแต่อย่างใด
     
       สรุปก็คือสารต่างๆ ที่องค์การอนามัยโรคประกาศออกมานั้น เป็นเพียงการจัดลงกลุ่มเท่านั้น โดยข้อมูลในเชิงระบาดวิทยาต่อสุขภาพของประชาชน โดยการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อผู้กระทำโดยตรงอาจจะมีความเสี่ยงแต่ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมดจะเป็นมะเร็ง ย้อนกลับมาที่คลื่นโทรศัพท์ในกลุ่ม 2B ได้ความว่าการใช้มือถือในระยะเวลานานๆ อาจจะทำให้เกิดมะเร็งได้ โดยไม่ได้พูดว่าสัญญาณมือถือก่อให้เกิดมะเร็ง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานนานๆ ต่อเนื่องหลายชั่วโมงในแต่ละวัน อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่กระนั้นก็ยังไม่มีการวิจัยชิ้นใดสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าวจวบจนวันนี้

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000118425&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+26-10-58&utm_campaign=20151025_m127945569_Manager+Morning+Brief+26-10-58&utm_term=_E0_B8_82_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B9_80_E0_B8_97_E0_B9_87_E0_B8_88_E0_B8_88_E0_B8_A3_E0_B8_B4_E0_B8_87_E0_B8_84_E0_B8_A5_E0_B8_B7_E0_B9_88_E0_B8_99_E0_B8_AA_E0_B8_B1_E0_B8_8D_E0_B8_8D_E0_B8_B2_E0_B8_93_E0_B8_A1_E0_B8_B7_E0_B8_AD_E0_B8_96_E0_B8_B7_E0_B8_AD

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.