Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 เวิร์คพอยท์ ระบุ ออกอากาศมาได้ 20 เดือน พบว่าบางสถานีเริ่มมีฐานผู้ชมที่แข็งแรงและมีส่วนแบ่งตลาดแล้ว โดยเฉพาะช่องที่มีเรตติ้ง 10 อันดับแรก แต่ช่องที่มีเรตติ้งอันดับที่ 6-10 อาจจะยังไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของคอนเทนต์ในเวลานั้น ๆ ส่วนช่องที่มีเรตติ้งต่ำกว่านี้ ปี 2559 ก็ยังเป็นอีกปีที่เหนื่อยในการช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณา

ประเด็นหลัก




นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่องเวิร์คพอยท์ทีวี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรณีที่ว่าจะมีผู้ประมูลล้มหายจากไปจากธุรกิจทีวีดิจิทัลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจแต่ละบริษัท เนื่องจากใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี ผู้ประกอบการทุกรายก็คงวางแผนระยะยาวมาแล้ว หลังจากทีวีดิจิทัลออกอากาศมาได้ 20 เดือน พบว่าบางสถานีเริ่มมีฐานผู้ชมที่แข็งแรงและมีส่วนแบ่งตลาดแล้ว โดยเฉพาะช่องที่มีเรตติ้ง 10 อันดับแรก แต่ช่องที่มีเรตติ้งอันดับที่ 6-10 อาจจะยังไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของคอนเทนต์ในเวลานั้น ๆ ส่วนช่องที่มีเรตติ้งต่ำกว่านี้ ปี 2559 ก็ยังเป็นอีกปีที่เหนื่อยในการช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณา



__________________________________________________________






ทีวีดิจิทัลแบกต้นทุนไม่ไหว ซุ่มคุยกสทช.คืนใบอนุญาต



กสทช.เปิด ทางคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล หลังแบกต้นทุนไม่ไหว จากปัญหาเศรษฐกิจ งบฯโฆษณาไม่กระเตื้อง แต่เสียงแข็งถึงคืนก็ต้องจ่ายค่าใบอนุญาต "เวิร์คพอยท์-พีพีทีวี" เดินหน้าสร้างเรตติ้งต่อเนื่อง มีเดียเอเยนซี่ คาดเม็ดเงินโฆษณาช่องใหม่ปี 2559 ทะลุหมื่นล้านแน่

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหลายช่องได้ขอเข้าหารือเกี่ยวกับแนวทาง ในการคืนใบอนุญาตประกอบกิจการ เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนได้ไหว โดยขณะนี้กำลังมีการหารือถึงแนวทางที่จะสามารถดำเนินการได้

"เข้ามา หารือกันหลายรายแล้ว แต่คงบอกไม่ได้ว่ามีรายไหนบ้าง ก็เป็นเรื่องน่าเห็นใจ หากจะปล่อยให้ต้องรับภาระขาดทุนไปเรื่อย ๆ การคืนไลเซนส์กลับมาแล้ว กสทช.นำไปประมูลใหม่ เอารายได้เข้ารัฐก็น่าจะดี แต่ก็ต้องหาทางที่จะทำได้โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ ตอนแรกคิดว่าจะให้คืนไลเซนส์ แล้วเมื่อ กสทช.นำกลับไปประมูลใหม่ หากจบการประมูลในราคาที่ถูกลง ก็ให้เอกชนที่คืนใบอนุญาตจ่ายเงินส่วนต่างกลับมาให้รัฐ แต่ก็ถูกท้วงว่าจะเกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างช่องที่ประมูลรอบแรกในราคา สูง กับช่องที่ประมูลรอบใหม่ ซึ่งต้องมีราคาต่ำกว่าแน่นอน เพราะได้เห็นสภาพตลาดจริงแล้ว"

ด้านนายสมบัติ ลีลาพตะ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ตามประกาศของ กสทช.ที่มีอยู่นั้น หากผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลต้องการจะคืนใบอนุญาต ก็สามารถทำได้ แต่ต้องชำระเงินค่าประมูลใบอนุญาตในส่วนที่เหลือด้วยทั้งหมด ซึ่งหากต้องการคืนเพราะประสบภาวะขาดทุนก็ไม่ได้ช่วยลดภาระแต่อย่างใด แต่ในส่วนที่มีการหารือว่าอยากจะให้ กสทช.หาแนวทางช่วยเหลือนั้น ยังไม่ได้มีการเสนอขึ้นมาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ความคืบหน้า กรณีบริษัทไทยทีวี ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัล ไทยทีวี และโลก้า ที่อยู่ระหว่างการระงับการออกอากาศภายใน 90 วัน โดยจะครบกำหนดภายในปลายเดือน ม.ค. 2559 ปัจจุบันทางบริษัทไทยทีวียังไม่ได้มีการชำระเงินค่าประมูลใบอนุญาตในงวดที่ 2 แต่อย่างไร และหากครบระยะเวลา 90 วัน ทาง กสท.จะมีมติเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป

"ส่วนจะต้องมีการประมูลทั้ง 2 ช่องใหม่หรือไม่เมื่อใด ยังไม่ได้มีการหารือภายในบอร์ด"

แหล่ง ข่าวจากธุรกิจทีวีดิจิทัลรายใหญ่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากทีวีดิจิทัลออกอากาศ ก็เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาต่อเนื่อง ทั้งงบฯโฆษณาและเรตติ้งที่ไม่ได้เติบโต ทำให้มีผู้ประกอบการช่องใหม่ยื่นฟ้อง กสทช.ที่ดำเนินการล่าช้า แต่ปัญหาทุกอย่างก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเดินหน้าบนธุรกิจนี้ต่อ แต่หันมาบริหารจัดการต้นทุนภายในมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายท่ามกลางงบฯโฆษณาคงที่และเรตติ้งที่ยังไม่ดี

"ผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ อาจจะสู้ต่อได้ไม่เต็มที่ บางช่องรอดูกรณีไทยทีวีที่คืนใบอนุญาต 2 ช่อง หากไทยทีวีชนะคดี ก็อาจจะมีหลายช่องตัดสินใจคืนใบอนุญาตเพิ่ม ขณะที่เป้าหมายของ กสทช. คือ ไม่ต้องการให้คืนใบอนุญาต แต่ต้องหาแนวทางแก้ไขร่วมกันระหว่าง กสทช.และผู้ประกอบการ"

นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่องเวิร์คพอยท์ทีวี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรณีที่ว่าจะมีผู้ประมูลล้มหายจากไปจากธุรกิจทีวีดิจิทัลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจแต่ละบริษัท เนื่องจากใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี ผู้ประกอบการทุกรายก็คงวางแผนระยะยาวมาแล้ว หลังจากทีวีดิจิทัลออกอากาศมาได้ 20 เดือน พบว่าบางสถานีเริ่มมีฐานผู้ชมที่แข็งแรงและมีส่วนแบ่งตลาดแล้ว โดยเฉพาะช่องที่มีเรตติ้ง 10 อันดับแรก แต่ช่องที่มีเรตติ้งอันดับที่ 6-10 อาจจะยังไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของคอนเทนต์ในเวลานั้น ๆ ส่วนช่องที่มีเรตติ้งต่ำกว่านี้ ปี 2559 ก็ยังเป็นอีกปีที่เหนื่อยในการช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณา

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์พีพีทีวีเอชดี กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต้องเผชิญอีกในปี 2559 ยังเป็นปัญหาเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ทีวีดิจิทัลเริ่มออกอากาศ คือ งบฯโฆษณาผ่านสื่อทีวีไม่ได้โตจากปัญหาเศรษฐกิจ อีกทั้งต้องจ่ายค่าประมูลงวดที่ 3 ทำให้หลาย ๆ ช่องระมัดระวังการใช้จ่ายและตัดลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นลง ขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนาคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ เพื่อดึงความสนใจผู้ชม

ทั้ง นี้ปี 2559 หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เรตติ้งบางสถานีก็ไม่เพิ่มขึ้น อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจคืนใบอนุญาต เพราะธุรกิจทีวีต้องใช้งบฯลงทุนมาก ถ้าขาดทุนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ก็คงไม่ไหว ขณะเดียวกันด้วยปัจจัยลบที่เกิดขึ้น จะส่งผลให้ระยะเวลาการคืนทุนผู้ประกอบการอาจจะต้องยืดออกไปเป็น 7 ปี จากเดิมที่วางไว้ 3-5 ปี

"ช่องที่ลงทุนไปแล้ว ก็ตัดสินใจว่า จะไปต่อหรือไม่ ท่ามกลางปัญหาต่าง ๆ ปี 2559 อาจจะมีบางรายยอมถอย แต่จะเป็นรายไหนก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจทางธุรกิจ"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ประกอบด้วย ช่องวัน, จีเอ็มเอ็ม 25 พีพีทีวีเอชดี ไทยรัฐทีวี และไบรท์ทีวี ยื่นฟ้อง กสทช, สำนักงาน กสทช.และเลขาธิการ กสทช. เรื่องดำเนินการล่าช้าทำให้เกิดความเสียหายที่จะให้มีการเปลี่ยนผ่านเป็นที วีดิจิทัล พร้อมชดใช้ค่าเสียหาย ตามด้วยกลุ่มเนชั่น ประกอบด้วย เนชั่นทีวีและ NOW26 ยื่นฟ้อง กสทช.กับพวก ข้อหาละเลยหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความล่าช้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวี ดิจิทัลด้วยเช่นกัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างไต่สวนคดี

นางปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ ประเทศไทย มีเดียเอเยนซี่ กล่าวว่า แนวโน้มการใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อทีวียังกระจุกที่ช่องเก่าเป็นหลัก มีสัดส่วนถึง 69% ของงบฯทีวี ขณะที่ช่องใหม่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีสัดส่วนเป็น 17% ของงบฯทีวี และมีแนวโน้มขยับขึ้นต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของช่องใหม่ ๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เวิร์คพอยท์ ช่อง 8 ช่องวัน เมื่อเพิ่มคอนเทนต์ เรตติ้งก็ขยับขึ้น

"ทีวีดิจิทัลอยู่ในช่วงขา ขึ้น เพราะผู้ชมไม่ได้แบ่งว่าช่องไหนเป็นช่องใหม่หรือช่องเก่า คาดว่างบฯโฆษณาผ่านสื่อทีวีช่องใหม่ในปี 2559 จะทะลุ 1 หมื่นล้านบาทแน่นอน อีกทั้งต้องสร้างบุคลิก แคแร็กเตอร์ของช่องให้ชัดเจน"

จากรายงานความ นิยมผู้ชม (เรตติ้ง) ทีวีดิจิทัลเฉพาะช่องใหม่ (ไม่รวมช่อง 3-5-7-9) ในกลุ่มผู้ชมที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ของมายด์แชร์ วันที่ 20 ธันวาคม 2558 พบว่า ช่องที่มีเรตติ้ง 10 อันดับแรก ได้แก่ เวิร์คพอยท์ ช่อง 8 โมโน 29 ช่องวัน ช่อง 3 เอสดี ช่อง 3 แฟมิลี่ ไทยรัฐทีวี ทรูโฟร์ยู พีพีทีวี อมรินทร์ทีวี


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1450967023

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.