Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 AIS มี 38-39 ล้านเลขหมายในระบบ ที่น้อยลงเพราะหายไปตอนลงทะเบียนซิมเติมเงิน จากเดิมมี 40-44 ล้านเลขหมาย แต่ก็ยังเป็นเบอร์หนึ่ง เพราะมีเน็ตเวิร์กควอลิตี้ที่ดี

ประเด็นหลัก

- ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องคลื่น

ตอนนี้เอไอเอสมี 38-39 ล้านเลขหมายในระบบ ที่น้อยลงเพราะหายไปตอนลงทะเบียนซิมเติมเงิน จากเดิมมี 40-44 ล้านเลขหมาย แต่ก็ยังเป็นเบอร์หนึ่ง เพราะมีเน็ตเวิร์กควอลิตี้ที่ดี

ถึงไม่ได้คลื่นเพิ่ม แต่เราจะนำ 30 MHz (1800 MHz จำนวน 15 MHz และ 2100 MHz อีก 15 MHz ในระบบใบอนุญาต) มาให้บริการภายใต้เน็ตเวิร์กควอลิตี้ บน 25,000 สถานีฐาน ที่ครอบคลุม 98% ของประชากรในประเทศ โดยจะแซมเซลไซต์ย่อย ๆ ลงไป

ปีหน้าเป็นเกม 4G เอไอเอส เราจะนำอุปกรณ์ส่งคลื่น 1800 MHz ที่เป็นคลื่นที่มีความสูง แต่ส่งได้ใกล้กว่า 900 MHz ที่เป็นคลื่นยาว ไปติดตั้งบนสถานีฐานเดิมที่มี

เอไอเอสมีทีมวิศวกรที่เก่งระดับโลกที่บริหารงานภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดได้ดีมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ พัฒนาออกมาตลอด เช่น ตัวส่งสัญญาณที่ปกติคนอื่นใช้ 3 แกน เราใช้ 6 แกน เพราะตั้งแต่ยุคสัมปทาน เราก็มีคลื่นเพียง 17.5 MHz ต่างจากคู่แข่ง

ตอนนั้นที่มี 70 MHz และเราก็ยึดเบอร์หนึ่งไว้ได้ ด้วยการลงทุนต่อเนื่อง เมื่อมีคลื่นที่เปรียบเหมือนที่ดินน้อยกว่าคนอื่น ก็ต้องสร้างเป็นคอนโดฯเพื่อให้คนอาศัยได้เยอะ ๆ แต่การสร้างคอนโดฯลงทุนสูงกว่าการสร้างทาวน์เฮาส์ จึงนำเงินที่เหลือจากการประมูล 75,000 ล้านบาท มาพัฒนาโครงข่ายให้ดีขึ้นแทน







__________________________________________________________






"DTAC-AIS" รักษาฐานที่มั่น พร้อมเปิดเกมแข่งดุ-สอนมวยคู่แข่ง


สัมภาษณ์

ชวดหมดทั้ง1800 MHz และ 900 MHz แต่ภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นต่อบริษัท และการบริการกระทบหนักสุดจากการประมูล 1800 MHz ด้วยเหตุที่ว่าเคาะไปไม่กี่ครั้งก็ถอย เหมือนไม่ตั้งใจสู้ จนต้องออกมาชี้แจงว่าไม่ใช่ไม่ตั้งใจหรือไม่อยากได้ แต่คิดมาดีแล้วว่า ควรสู้แค่ไหนจนมาถึงเกมชิงคลื่น 900 แม้จะพ่ายแพ้ซ้ำ แต่เคาะราคาทะลุ 7 หมื่นล้านทำให้เห็นถึงความตั้งใจ แต่สู้ได้แค่นี้จริง ๆ

พลาดแล้วจะทำอย่างไรต่อ "ลาร์ส นอร์ลิ่ง" ซีอีโอ ดีแทค มีคำตอบ

- แพ้ประมูลถือเป็นความเพลี่ยงพล้ำ

คลื่นที่นำมาประมูลไม่ใช่คลื่นในสัมปทานของเรา จะก่อนหรือหลังประมูล ดีแทคไม่ได้เสียคลื่นไป ยังมีคลื่น 50 MHz ที่สำคัญไม่ได้สร้างหนี้เพิ่มจากค่าไลเซนส์ทำให้สามารถลงทุนทั้งโครงข่ายและแพ็กเกจการตลาดทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง เป้าหมายจากนี้ คือทำให้ลูกค้า Always Get More ได้มากกว่าคนอื่นเสมอ

นี่เป็นโอกาสชิงมาร์เก็ตแชร์ บริษัทที่คิดว่า ประมูลชนะ คือชนะดีแทค ถือว่าคิดผิด เพราะจากนี้ไปจะได้เห็นดีแทคสู้ในมุมมองที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

- พลาดที่หมอบ 1800 เร็วมาก

ไม่ เพราะมองว่าในมือยังมีคลื่น 1800 MHz อยู่อีกมากจึงไม่จำเป็นกับเราขนาดนั้น เมื่อเกินเป้าหมายที่คำนวณไว้

- แต่สู้ดุเดือดใน 900 MHz

900 MHz เป็น Lower band คลื่นในมือดีแทคมี High band เยอะต้องการย่าน 900 มาเสริมมีก็ดี แต่ถามว่าไม่มีแล้วเป็นอะไรไหม ตอนนี้เรามีคลื่น 850 MHz ที่ให้บริการครอบคลุมได้ ดีแทคโตมากับย่าน 1800 MHz วันนี้มี 850 MHz มี 1800 MHz มี 2100 MHz ฉะนั้นประสบการณ์ในการทำเน็ตเวิร์กบนคลื่น High band สะสมมา20 ปี ไม่มี Lower ก็อยู่ได้มา 20 ปี

- เงินลงทุนปีหน้า

ไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านที่ใช้เงินลงทุนราว 2 หมื่นล้านพัฒนาโครงข่าย โครงข่าย 3G มีเกิน 90% แล้ว ต้นปีหน้าจะถึง 95% ปีหน้าจะพัฒนา 4G อีกขั้น บนคลื่น 2100 MHz ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกจุดที่มีสัญญาณดีแทคต้องใช้ 4G ได้ จากนี้จะเป็นสงคราม 4G เรามีคลื่น 4G ในมือไม่น้อยกว่าใคร และกำลังเจรจากับแคทอัพเกรด 1800 MHz upper band 20 MHz แบบเดียวกับที่แคททำกับ

โอเปอเรเตอร์อีกราย ตั้งเป้าเพิ่มฐานลูกค้า 4G ที่มีอยู่ 2.2 ล้านราย เป็น 4.5 ล้านรายเพิ่มสัดส่วนลูกค้าที่ใช้ดาต้า จาก 60% เป็น 70% ปีหน้า และ 80% ปี 2560 โดยจะอุดหนุนส่วนลดอุปกรณ์เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้ 4G มากขึ้น

- สภาพการแข่งขันจากนี้

ถือเป็นจุดเปลี่ยนของตลาดโทรคมนาคมไทยอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากการประมูลทำให้ผู้ประกอบการบางรายต้องเสียคลื่นไป บางรายได้คลื่นเพิ่ม รวมถึงการมีรายใหม่เข้ามา จะได้เห็นการบันเดิลหลายบริการไว้ด้วยกันเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าให้ลูกค้าในราคาที่สมเหตุสมผล มากกว่าเป็นสงครามราคาโดยตรง

- เสี่ยงเสียตำแหน่งเบอร์ 2

แต่ละบริษัทมีวิธีนับฐานลูกค้าที่ต่างกัน ดีแทคนับจากรายได้ที่เกิดจากฐานลูกค้า ซึ่งเรามั่นใจว่ายังอยู่ในอันดับ 2 และมีส่วนต่างที่ห่างมากกับเบอร์ 3 และยังปักธงที่จะรักษาตำแหน่งเบอร์ 2 ในตลาดให้ได้ด้วยแผนการลงทุนต่าง ๆ ที่วางไว้

- สัมปทานเหลืออีก 3 ปี

ไทยยังมีคลื่นอีกมากที่ยังไม่ได้นำมาใช้ ถึงอย่างไรก็ต้องมีการจัดสรรใหม่เพื่อนำมาสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล คลื่นความถี่ใต้สัมปทานเมื่อหมดอายุแล้วก็ไม่ได้หายไปไหนยังมีการนำออกมาจัดสรรใหม่ด้วยการประมูลในรอบถัดไปเราพร้อมเข้าประมูลเพื่อให้ได้ความถี่กลับมา เรื่องที่แคทจะขยายสัมปทานหรือไม่เป็นเรื่องที่แคทต้องเจรจากับ กสทช.

ครั้งหน้าเราเข้าประมูลแน่แต่ต้องชนะในราคาที่เหมาะสม ถ้าคลื่นเยอะก็ทำแผนแบบหนึ่ง ถ้าน้อยก็ทำแผนอีกแบบแค่นั้น

- มั่นใจว่าในอนาคตจะมีการประมูล

เทเลนอร์ไม่ได้เพิ่งมาลงทุนในไทย เราลงทุนมามากกว่า 10 ปี ผ่านมาหมดกับการเมืองทุกรูปแบบ รัฐประหารหลายครั้ง รัฐบาลหลายพรรคมาหลายรอบ จึงไม่ใช่ความเสี่ยง และมั่นใจว่าการประมูลครั้งนี้ทำให้รัฐบาลเห็นแล้วนี่เป็นแนวทางการจัดสรรคลื่นที่มีประสิทธิภาพ เชื่อว่าไม่ว่าจะรัฐบาลไหนก็เห็นแบบเดียวกัน

- เทเลนอร์ยังคงลงทุนในไทย

เทเลเนอร์ยังมีความมุ่งมั่นและจริงจังกับการลงทุนในไทยเป็นอันดับ 1 การที่เราเข้าไปเคาะราคาประมูลคลื่น 900 สูงถึง 7 หมื่นกว่าล้านไม่น้อยหน้าการประมูลที่อื่น ๆ เป็นเครื่องยืนยันถึงคำมั่นนี้และในเร็ว ๆ นี้ ซีอีโอเทเลนอร์ คุณซิคเว่ เบรคเก้ จะมาเมืองไทยเพื่อยืนยันคำมั่นสัญญานี้ด้วย

- ความท้าทายในปีหน้า

ปีหน้าตลาดคงเปลี่ยนโฉมไป แต่การแข่งขันมีมากตลอดอยู่แล้วจึงไม่ได้คิดว่าเป็นความเสี่ยงอะไร ในเชิงเศรษฐกิจไทยถ้าสามารถผลักดันให้แข็งแรงกว่านี้จะช่วยผลักดันให้ทุกอย่างเติบโตขึ้นไปได้มาก สิ่งที่ดีแทคต้องทำจากนี้ คือการรักษาตำแหน่งเบอร์ 2 ให้ได้ ในภาวะที่เป็นจุดเปลี่ยนของตลาดโทรคมนาคม


คว้าคลื่น 1800 MHz มาได้ แต่พลาดกับ 900 MHz แบบบิ๊กเซอร์ไพรส์ ทั้งที่เป็นเต็งจ๋า และสู้กันนานถึง 87 ชั่วโมง

แม้ว่าระดับมือวางอันดับหนึ่งที่เผชิญวิกฤตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน การอยู่ในภาวะที่มีคลื่นความถี่จำกัดก็เป็นสถานการณ์ที่คุ้นเคยอยู่แล้ว....แต่สงครามในยุคของ 4G อาจต่างออกไป

ด้วยว่าคนใช้ปัจจุบันใช้เวลาอยู่กับหน้าจอในมือแทบตลอดเวลา การบริหารจัดการความถี่ให้พอเพียงกับปริมาณข้อมูลมหาศาลย่อมไม่ง่าย

ไม่นับว่าสมรภูมิธุรกิจมือถือจากนี้ไปไม่ได้มีผู้เล่นหลักแค่3 รายอีกต่อไป

พี่ใหญ่ "เอไอเอส" เตรียมแผนรับมือไว้อย่างไร "สมชัย เลิศสุทธิวงค์" ซีอีโอเอไอเอส มีคำตอบ

- อยากให้พูดถึงการประมูล 900 MHz

การประมูลทั้ง 900 และ 1800 MHz ไม่ใช่แค่เอไอเอสต้องการได้คลื่นเพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น แต่เราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯจึงมองถึงผู้ถือหุ้นด้วย ไม่ได้นั่งคิดราคาที่เหมาะสมเอง ต้องมี Bid Limit เพื่อขีดจุดคุ้มค่าในการลงทุน จึงพิจารณา 4 แฟ็กเตอร์ คือ 1.ข้อมูลราคาหุ้น และการประมูลคลื่นในแต่ละประเทศ ด้วยการจ้างที่ปรึกษาคำนวณ 2.Technical Saving การได้คลื่นมาจะประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างไร 3.มูลค่าของลูกค้าที่ใช้ 2G บนคลื่น 900 MHz เกือบ 1 ล้านเลขหมาย กับที่ใช้เครื่อง 2G

บน 2100 MHz และ 4.ถ้ามีรายที่ 4 เข้ามาในตลาดจะเป็นอย่างไรในฐานะที่ผมเป็นทีมผู้บริหาร จึงขอเพิ่มอีก 1 แฟ็กเตอร์ คือ Strategic Thinking ทีมที่เข้าประมูลวิเคราะห์ได้เองอีกรอบ เป็น 5 แฟ็กเตอร์ ตอนประมูลคลื่น 1800 MHz เราคำนวณว่าถ้าเกิน 50,000 ล้านแพง แม้นักวิเคราะห์มองว่าสูงกว่า 20,000 ล้านบาทก็แพงแล้ว และจบได้ที่ 40,000 กว่าล้านบาท ส่วน 900 MHz เมื่อใช้ทั้ง 5 แฟ็กเตอร์ สรุปมาที่ 75,000 ล้านบาท เมื่อเกินจุดนั้นไป เอไอเอสจึงถอย

- คิดว่าทำดีที่สุดได้เท่านั้น

ทำดีที่สุดแล้ว ทีมผู้บริหาร และตัวแทนผู้ถือหุ้นที่เข้าไปใช้ชีวิตในห้องประมูลต่างใช้สติ และค่อย ๆ คิดเพื่อลูกค้า, ประชาชน และประเทศชาติ ถ้าเคาะราคาเกินที่ตั้งไว้ก็มีโอกาสที่ประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าจะพัง, ประชาชนพัง และประเทศก็พัง

- ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องคลื่น

ตอนนี้เอไอเอสมี 38-39 ล้านเลขหมายในระบบ ที่น้อยลงเพราะหายไปตอนลงทะเบียนซิมเติมเงิน จากเดิมมี 40-44 ล้านเลขหมาย แต่ก็ยังเป็นเบอร์หนึ่ง เพราะมีเน็ตเวิร์กควอลิตี้ที่ดี

ถึงไม่ได้คลื่นเพิ่ม แต่เราจะนำ 30 MHz (1800 MHz จำนวน 15 MHz และ 2100 MHz อีก 15 MHz ในระบบใบอนุญาต) มาให้บริการภายใต้เน็ตเวิร์กควอลิตี้ บน 25,000 สถานีฐาน ที่ครอบคลุม 98% ของประชากรในประเทศ โดยจะแซมเซลไซต์ย่อย ๆ ลงไป

ปีหน้าเป็นเกม 4G เอไอเอส เราจะนำอุปกรณ์ส่งคลื่น 1800 MHz ที่เป็นคลื่นที่มีความสูง แต่ส่งได้ใกล้กว่า 900 MHz ที่เป็นคลื่นยาว ไปติดตั้งบนสถานีฐานเดิมที่มี

เอไอเอสมีทีมวิศวกรที่เก่งระดับโลกที่บริหารงานภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดได้ดีมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ พัฒนาออกมาตลอด เช่น ตัวส่งสัญญาณที่ปกติคนอื่นใช้ 3 แกน เราใช้ 6 แกน เพราะตั้งแต่ยุคสัมปทาน เราก็มีคลื่นเพียง 17.5 MHz ต่างจากคู่แข่ง

ตอนนั้นที่มี 70 MHz และเราก็ยึดเบอร์หนึ่งไว้ได้ ด้วยการลงทุนต่อเนื่อง เมื่อมีคลื่นที่เปรียบเหมือนที่ดินน้อยกว่าคนอื่น ก็ต้องสร้างเป็นคอนโดฯเพื่อให้คนอาศัยได้เยอะ ๆ แต่การสร้างคอนโดฯลงทุนสูงกว่าการสร้างทาวน์เฮาส์ จึงนำเงินที่เหลือจากการประมูล 75,000 ล้านบาท มาพัฒนาโครงข่ายให้ดีขึ้นแทน

- จบดีลกับทีโอทีแบบไหน

ก่อนหน้านี้เอไอเอสเป็นพันธมิตรกับทีโอทีมานาน ที่เราให้บริการมานาน 25 ปี จนเป็นบริษัทโทรคมนาคมอันดับ 1 ของประเทศไทยได้ ทีโอทีถือเป็นคนสำคัญที่ทำให้เราก้าวมาถึงจุดนี้ได้

การที่เราโอนทรัพย์สิน 1.68 แสนล้านบาท และส่งค่าสัมปทาน 2.2 แสนล้านบาท ให้ทีโอทีมาตลอด ทำไมทีโอที

จะไม่รักเรา ทุกคนรู้ว่าทีโอทีมีปัญหาด้านการเงิน ทำให้ทีโอทีเลือกเราเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ

โดยให้ใช้คลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะนำไปให้บริการ 3G หรือ 4G

- ลูกค้า 2G ที่เหลือจะทำอย่างไร

มี 11 ล้านกว่าเลขหมายที่ใช้ 2G อยู่แม้สร้างรายได้ให้ไม่มาก แต่เราแคร์ จึงจะไปขอ กสทช.ขยายเวลาเยียวยาผู้ใช้คลื่น 900 MHz ให้ตัดสินใจเปลี่ยนย้ายค่ายให้เรียบร้อย มั่นใจว่า กสทช.จะขยายให้เพราะตามกฎ บริษัทมีสิทธิ์ขยายการเยียวยาได้นาน 1 ปี นับจากสิ้นสุดสัมปทาน หรือ 8 เดือนนับจาก ธ.ค.นี้ และยังมีประกาศ คสช. เกี่ยวกับ

เรื่องคุ้มครองการใช้งานให้ไม่ได้รับผลกระทบ

- การตลาดหลังจากนี้

เราประหยัดเงินไป 75,000 ล้าน เงินก้อนนี้นอกจากนำไปอัพเกรดเน็ตเวิร์ก ยังนำมาใช้กับลูกค้าโดยตรงผ่านการคืนความสุขให้ผู้ที่ใช้เครื่อง 2G ในแคมเปญแจกฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟนฟรี เพื่อรักษาเบอร์ 1 ที่มีแชร์ 40% ในแง่ลูกค้า และ 50% ในแง่มูลค่ายากกว่าการขึ้นเป็นเบอร์ 1

- ถือว่าเสียรังวัดไปมาก

คิดว่าถ้ามาเกทับกันว่า ความเร็วอินเทอร์เน็ตทำได้ 200 Mbps แต่ให้บริการได้ไม่เต็มประเทศคงไม่ใช่ ยืนยันอีกทีว่า ไม่ได้เสียเปรียบเลยที่ไม่ได้คลื่นยิงไกล เพราะมีเซลไซต์แซมไว้แล้ว ส่วนเรื่องเยียวยาอยู่ที่ดุลพินิจ กสทช. เราทำหนังสือไปแจ้งแล้วว่า อยากให้เป็นแบบใด ที่สำคัญถึงผู้ชนะประมูลจะชำระเงินค่าใบอนุญาตแล้ว กสทช.ก็ไม่จำเป็นต้องให้ใบอนุญาตเลยก็ได้ เพราะต้องคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ดีที่สุด

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1451279862

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.