Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 สำนักงานยูเนสโก กล่าวว่า ตามพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา มีเด็กต่างด้าวกว่า 40,000 คน แต่มีราว 50% เท่านั้น ที่มาของโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือผ่านสื่อพกพาสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา

ประเด็นหลัก

"อิชิโร มิยาซาวา" ผู้เชี่ยวชาญด้านการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำนักงานยูเนสโก กล่าวว่า ตามพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา มีเด็กต่างด้าวกว่า 40,000 คน แต่มีราว 50% เท่านั้นที่เข้าถึงระบบการศึกษาในโรงเรียน ทำให้การจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นสำหรับเด็กกลุ่มนี้เป็นเรื่องสำคัญ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมโลกที่ต้องการมุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมรวมถึงการสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ทุกคนภายในปี 2573

และเป็นที่มาของโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือผ่านสื่อพกพาสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา ที่ได้เริ่มทดลองนำร่องในศูนย์เรียนรู้สำหรับเด็กต่างด้าว และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 20 ศูนย์ ภายในปี 2558 นี้








__________________________________________________________







"ไอที" ลดช่องว่าง-สร้างโอกาส ส่งเสริม "เด็กชายขอบ" เข้าถึงความรู้



ทุกวันนี้บรรดาอุปกรณ์ไฮเทคอย่างแท็บเลต และสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ กลายเป็นอุปกรณ์พกพาประจำวันเพื่อความสะดวกสบายของคนเมืองที่ชอบ "แชะ-แชต-แชร์" แต่ในอีกมุมหนึ่ง โดยเฉพาะตามพื้นที่ชายแดน "ไทย-เมียนมา" อุปกรณ์เหล่านี้ทำหน้าที่ในการสร้างโอกาสทางการศึกษา เสริมความรู้ให้นักเรียนผู้ด้อยโอกาส โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ผ่าน "โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือผ่านสื่อพกพาสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา" ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

"อิชิโร มิยาซาวา" ผู้เชี่ยวชาญด้านการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำนักงานยูเนสโก กล่าวว่า ตามพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา มีเด็กต่างด้าวกว่า 40,000 คน แต่มีราว 50% เท่านั้นที่เข้าถึงระบบการศึกษาในโรงเรียน ทำให้การจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นสำหรับเด็กกลุ่มนี้เป็นเรื่องสำคัญ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมโลกที่ต้องการมุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมรวมถึงการสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ทุกคนภายในปี 2573

และเป็นที่มาของโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือผ่านสื่อพกพาสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา ที่ได้เริ่มทดลองนำร่องในศูนย์เรียนรู้สำหรับเด็กต่างด้าว และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 20 ศูนย์ ภายในปี 2558 นี้



โดยทางไมโครซอฟท์ได้สนับสนุนแท็บเลตพร้อมชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ แอปพลิเคชั่นด้านการศึกษา และงบประมาณในการจัดอบรมครูเพื่อให้การนำอุปกรณ์ไปใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในเฟสแรกตั้งเป้าจะอบรมครูผู้สอน 40 คน เพื่อให้ครอบคลุมผู้เรียน 1,440 คน ขณะที่ในปีหน้าจะขยายผลไปยัง 40 ศูนย์การเรียน เข้าถึงผู้เรียนอีก 2,500 คน

สำหรับ "ทรู คอร์ปอเรชั่น" ได้สนับสนุนชุดอุปกรณ์และสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่า "ตู้แดง" จากโครงการทรูปลูกปัญญา ที่จะมีอุปกรณ์และคอนเทนต์ตามหลักสูตรชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเครือข่ายทรูมูฟ เอช

ที่น่าสนใจก็คือมีแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาของยูเนสโก ที่มีคอนเทนต์และสื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษานอกระบบของประเทศไทย และเมียนมา ครอบคลุมทั้งภาษาไทย ภาษาเมียนมา และภาษากะเหรี่ยง

"ยุวดี ศิลปกิจ โอโนะ" ผู้ประสานงานโครงการด้านการศึกษา มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ประเทศไทย กล่าวว่า เฉพาะในอำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนอาโยนอู หนึ่งในโครงการนำร่องครั้งนี้ มีเด็กต่างด้าวกว่า 15,000 คน ขณะที่มีศูนย์การเรียนสำหรับเด็กกลุ่มนี้ทั้งหมด 70 แห่ง

"หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมเราต้องช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ได้เรียนหนังสือ คำตอบคือไม่ต้องช่วยก็ได้ แต่ถ้าไม่อยากช่วยก็อย่าเอาพ่อแม่ของเด็กพวกนี้มาทำงานที่ประเทศเรา เพราะมันจะเกิดปัญหามากมายตามมา และกลายเป็นว่าไทยได้ทำผิดพันธสัญญาที่ทำไว้กับนานาประเทศในเรื่องนี้ด้วย แต่ถ้าเราช่วยให้เด็กมีการศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้ อ่านออกเขียนได้ ต่อไปก็จะประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้"

การเรียนการสอนของแต่ละศูนย์จึงเน้นให้เด็ก ๆ อ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทย เมียนมา กะเหรี่ยง รวมถึงคิดเลขได้ ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละศูนย์ได้กำหนดแนวทางการสอนตามความสะดวกของครูอาสาสมัคร

"หลักสูตรเดิมจะสะเปะสะปะ แต่เมื่อเข้าโครงการนี้ ได้สื่อการเรียนการสอนที่ตรงตามหลักสูตร กศน.ของไทยและเมียนมา จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้และเข้าสอบรับวุฒิบัตร ซึ่งจะนำไปใช้เป็นหลักฐานสมัครงานได้ด้วย ขณะเดียวกันแท็บเลตและตู้แดงตามโครงการยังมีหนังสือมากกว่าให้เด็กได้อ่าน รวมถึงสื่อการเรียนการสอนจำนวนมาก ทำให้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างห้องสมุดรวบรวมความรู้ไว้ให้เด็กหมดไป รวมถึงการใช้อุปกรณ์ไอทีเหล่านี้ได้สร้างความตื่นเต้นและตื่นตัวในการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ ซึ่งตามโครงการจะให้ผู้เรียน 4 คนต่อแท็บเลต 1 เครื่อง"

เพียงแต่ในปีหน้า ทางมูลนิธิช่วยไร้พรมแดนจะไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ แล้ว เนื่องจากเมียนมาเปิดประเทศ แต่ละหน่วยงานจึงมุ่งเข้าไปช่วยโดยตรง ทำให้ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนอาหารกลางวัน และอุปกรณ์การศึกษาของเด็กที่ต้องใช้เงินหลายล้านบาทต่อปี แม้จะได้ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซี.พี. เข้ามาสนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันแล้วบางส่วน

เหนือสิ่งอื่นใด การช่วยเหลือเด็ก ๆ กลุ่มนี้ให้มีโอกาสเรียนรู้จะสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเด็ก และทำให้เด็กรักประเทศไทยมากขึ้นอีกด้วย



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1450687838

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.