Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 กสทช. กล่าวว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู)ได้รายงานว่าเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ครอบคลุมประชากรโลกมากกว่า 95% แล้วในปีนี้ โดยมีจำนวนการลงทะเบียนเพื่อใช้งานถึงกว่า 7,100 ล้านราย

ประเด็นหลัก



พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู)ได้รายงานว่าเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ครอบคลุมประชากรโลกมากกว่า 95% แล้วในปีนี้ โดยมีจำนวนการลงทะเบียนเพื่อใช้งานถึงกว่า 7,100 ล้านราย

ในส่วนประเทศไทย พันเอกเศรษฐพงค์ แนะนำผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่(โอเปอเรเตอร์)ว่า จะต้องเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่บริบทใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้ารายบุคคล

“จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีโมบายล์ บรอดแบนด์จาก 3Gสู่ 4 จีแอลทีอี (4G LTE) และ แอลทีอี แอดวานซ์ ประกอบกับมีการประมูลคลื่นความถี่ของประเทศไทยบนคลื่นความถี่ในย่าน 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์(MHz)ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อกลางเดือนธ.ค.2558 ที่ผ่านมา ส่งผลให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยก้าวผ่านจุดที่สำคัญ”




__________________________________________________________







พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู)ได้รายงานว่าเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ครอบคลุมประชากรโลกมากกว่า 95% แล้วในปีนี้ โดยมีจำนวนการลงทะเบียนเพื่อใช้งานถึงกว่า 7,100 ล้านราย

ในส่วนประเทศไทย พันเอกเศรษฐพงค์ แนะนำผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่(โอเปอเรเตอร์)ว่า จะต้องเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่บริบทใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้ารายบุคคล

“จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีโมบายล์ บรอดแบนด์จาก 3Gสู่ 4 จีแอลทีอี (4G LTE) และ แอลทีอี แอดวานซ์ ประกอบกับมีการประมูลคลื่นความถี่ของประเทศไทยบนคลื่นความถี่ในย่าน 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์(MHz)ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อกลางเดือนธ.ค.2558 ที่ผ่านมา ส่งผลให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยก้าวผ่านจุดที่สำคัญ”

ทั้งนี้ปัจจุบัน เทคโนโลยีโทรคมนาคม และไอซีทีของไทย ได้เดินมาถึงจุดหลอมรวม หรือ คอนเวอร์เจ้นท์เพียง 50% เท่านั้น แต่จะเข้าสู่การหลอมรวมที่สมบูรณ์ไม่เกินปี 2563 โดยนับตั้งแต่มีการเปิดการใช้งานเชิงพาณิชย์ในระบบ 4G ของโลกเป็นต้นมา ทำให้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นแฟลตฟอร์มหลักของอินเตอร์เนต และรวมไปถึงกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ ซึ่งในอนาคตอันใกล้การให้บริการต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรมจะวิ่งอยู่บนโมบายล์ แฟลตฟอร์มทั้งสิ้น

พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าวว่า ไอทียู ได้วางโรดแมป ไว้ว่าโมบายล์ บรอดแบนด์จะก้าวสู่ยุค 5G ในเชิงพาณิชย์ด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลในระดับ 1-10 กิกะบิต ภายในปี 2563 จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าทำไมคลื่นความถี่ จึงถือว่าเป็นทรัพยากรของชาติที่มีค่า และสำคัญยิ่ง

“การก้าวเข้าสู่ 4G LTE ในระดับ 5-60 เมกะบิตต่อวินาที และแอลทีอี แอดวานซ์ ในระดับความเร็ว 30-300 เมกะบิตต่อวินาทีนั่นทำให้เกิดจุดหักเหที่สำคัญที่ทำให้อุปสรรคที่เคยเกิดขึ้นในอดีตบนโลกใบนี้หายไป นั่นคือการทำธุรกิจการงานต่างๆ ที่มนุษย์เราต้องขึ้นอยู่กับ เวลา สถานที่ และสิ่งที่จับต้องได้นั้นได้ถูกทำลายลง ทำให้ผู้คนและธุรกิจมีโอกาสใหม่ผู้บริโภคมีศักยภาพอันทรงพลังในการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพียงนิ้วสัมผัสไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลก”พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าว

http://www.naewna.com/business/195152

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.