Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มกราคม 2559 TDRI ชี้มีความกังวล และต้องการให้ กสทช.เร่งตรวจสอบ คือ การเจรจาค่าเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกัน เพราะในฐานะของ TUC และแจสที่ยังไม่เคยมีคลื่นความถี่ และอุปกรณ์ระบบ 900 MHz เลยนั้นจะส่งผลต่อการขยายโครงข่าย อัตราค่าเช่าใช้โครงข่ายพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ แชริ่ง)

ประเด็นหลัก

       โดยประเด็นที่ทีดีอาร์ไอมีความกังวล และต้องการให้ กสทช.เร่งตรวจสอบมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การเจรจาค่าเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกัน เพราะในฐานะของ TUC และแจสที่ยังไม่เคยมีคลื่นความถี่ และอุปกรณ์ระบบ 900 MHz เลยนั้นจะส่งผลต่อการขยายโครงข่าย ได้ 2.การกำหนดพื้นที่การครอบคลุม 40% ภายใน 4ปี และ 80% ภายใน 8 ปี แม้ว่าจะเป็นการกำหนดที่ไม่ได้รวดเร็วเกินไปนัก แต่การลงทุนในคลื่น 900 MHz แม้จะมีต้นทุนต่ำกว่าคลื่นย่าน 1800 MHz แต่ก็ถือว่าเอกชนที่ไม่เคยมีอุปกรณ์ในคลื่นดังกล่าวมาก่อน อาจจะต้องมีภาระหนักด้านการลงทุน และ 3.อัตราค่าเช่าใช้โครงข่ายพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ แชริ่ง) ตามประกาศของ กสทช.ที่กำหนดไว้นั้น กสทช.ต้องลงมากำกับดูแลให้ราคาค่าเช่าที่เป็นธรรมไม่เกิดการกีดกันทั้ง 2 รายจากรายใหญ่ในตลาด







_________________________________________________




ทีดีอาร์ไอหวั่น “แจส-ทรู” ติดกับดัก 4G

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

        ทีดีอาร์ไอ แนะ กสทช.ตรวจสอบแจส-ทรู ผู้ชนะประมูล 900 MHz หวั่นโดนกับดักค่าไลเซนส์แพงมหาศาล ระบุต้องเข้มกำกับดูแลค่าเช่าโครงข่าย-เจรจาขอเช่าเสา กังวลรายเล็กไปไม่รอด
     
       นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงการประมูลย่านความถี่ 900 MHz ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่สิ้นสุดลงไปนั้นถือว่าทำให้ประเทศได้รับเงินรายได้จากค่าประมูลจำนวนมหาศาลกว่า 150,000 ล้านบาท โดยหากพิจารณาแล้วถือว่า กสทช.ได้จัดสรรคลื่นความถี่ได้คุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพ
     
       อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของ กสทช.ต่อจากนี้ คื อการตรวจสอบเอกชนทั้ง 2 รายที่ประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวไปได้ อย่างบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) และบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด เพราะถือว่าราคาที่ชนะการประมูลนั้นเป็นราคาที่สูงอย่างมาก
     
       โดยประเด็นที่ทีดีอาร์ไอมีความกังวล และต้องการให้ กสทช.เร่งตรวจสอบมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การเจรจาค่าเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกัน เพราะในฐานะของ TUC และแจสที่ยังไม่เคยมีคลื่นความถี่ และอุปกรณ์ระบบ 900 MHz เลยนั้นจะส่งผลต่อการขยายโครงข่าย ได้ 2.การกำหนดพื้นที่การครอบคลุม 40% ภายใน 4ปี และ 80% ภายใน 8 ปี แม้ว่าจะเป็นการกำหนดที่ไม่ได้รวดเร็วเกินไปนัก แต่การลงทุนในคลื่น 900 MHz แม้จะมีต้นทุนต่ำกว่าคลื่นย่าน 1800 MHz แต่ก็ถือว่าเอกชนที่ไม่เคยมีอุปกรณ์ในคลื่นดังกล่าวมาก่อน อาจจะต้องมีภาระหนักด้านการลงทุน และ 3.อัตราค่าเช่าใช้โครงข่ายพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ แชริ่ง) ตามประกาศของ กสทช.ที่กำหนดไว้นั้น กสทช.ต้องลงมากำกับดูแลให้ราคาค่าเช่าที่เป็นธรรมไม่เกิดการกีดกันทั้ง 2 รายจากรายใหญ่ในตลาด

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000001907&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+7-1-59&utm_campaign=20160106_m129170330_MGR+Morning+Brief+7-1-59&utm_term=_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B8_94_E0_B8_B5_E0_B8_AD_E0_B8_B2_E0_B8_A3_E0_B9_8C_E0_B9_84_E0_B8_AD_E0_B8_AB_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.