Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 กสทช. ระบุ การเป็นผู้นำอาเซียนจะ แบ่งเป็น 2 เฟส คือ 1.ในปี 2559-2560 กสทช.กำหนดให้มีเป้าหมาย 7 ประการคือ 1.ดำเนินการกำกับดูแลการวางโครงข่ายคลื่นความถี่ 2100 1800 และ 900 MHz

ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ การเป็นผู้นำอาเซียนจะ แบ่งเป็น 2 เฟส คือ 1.ในปี 2559-2560 กสทช.กำหนดให้มีเป้าหมาย 7 ประการคือ 1.ดำเนินการกำกับดูแลการวางโครงข่ายคลื่นความถี่ 2100 1800 และ 900 MHz ให้มีการครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมั่นใจว่าประชาชนจะต้องเข้าถึง และสามารถใช้งานได้อย่างแท้จริง ซึ่งกว่า 80% ของประชากร 2.ภาครัฐ และหน่วยงานกำกับดูแลร่วมกับเวนเดอร์ ผู้จำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนให้ราคาค่าบริการที่ถูกลง และราคาอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มีราคาที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อได้ 3.สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ สนับสนุนนโยบายภาครัฐในด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ (เอสเอ็มอี) ที่ใช้นวัตกรรมโมบายล์ บรอดแบนด์ ผ่านโครงข่าย 3จีและ 4จีเป็นผู้วางแนวทางและริเริ่มโครงการในเชิงนโยบายและเป้าหมาย โดยแผนงานต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจน




________________________________



27 ม.ค.59 พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดให้บริการ 4จีบนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) อย่างเป็นทางการบนเทคโนโลยีแอลทีอี แอดวานซ์ จะทำให้ปีนี้จะเป็นปีที่ประเทศไทยก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี และจะเป็นกรณีศึกษาระดับโลก

นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่า ทั้งสองค่ายที่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 1800 คือ เอไอเอส และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) จะช่วงชิงความเป็นหนึ่งบนเทคโนโลยีแอลทีอี แอดวานซ์ ซึ่งทั้งสองค่ายได้สั่งซื้ออุปกรณ์ติดตั้งจากบริษัท หัวเว่ย จำกัด จนอาจมีความเร็วสูงสุดถึง 600 เมกะบิตต่อวินาที โดยขณะนี้ จากรายงานในวงการโทรคมนาคม แอลทีอี แอดวานซ์ ความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดที่เร็ว ที่สุดตอนนี้อยู่ที่ประเทศตุรกี ความเร็วสูงสุดที่ 900 เมกะบิต ที่สองในประเทศญี่ปุ่นความเร็ว 770 เมกะบิต ส่วนประเทศที่เอไอเอสได้ทดลองความเร็วอยู่ที่ 400 เมกะบิต

"สิ่งที่ตั้งใจคืออยากให้ไทยถูกจัดอันดับเป็นที่ 1 ของอาเซียนภายในเวลา 5 ปี ในปี 2563 ซึ่งหากเรามีแอลทีอี แอดวานซ์มาเป็นตัวขับเคลื่อน ก็จะทำให้ไปสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต"

ทั้งนี้ การเป็นผู้นำอาเซียนจะ แบ่งเป็น 2 เฟส คือ 1.ในปี 2559-2560 กสทช.กำหนดให้มีเป้าหมาย 7 ประการคือ 1.ดำเนินการกำกับดูแลการวางโครงข่ายคลื่นความถี่ 2100 1800 และ 900 MHz ให้มีการครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมั่นใจว่าประชาชนจะต้องเข้าถึง และสามารถใช้งานได้อย่างแท้จริง ซึ่งกว่า 80% ของประชากร 2.ภาครัฐ และหน่วยงานกำกับดูแลร่วมกับเวนเดอร์ ผู้จำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนให้ราคาค่าบริการที่ถูกลง และราคาอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มีราคาที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อได้ 3.สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ สนับสนุนนโยบายภาครัฐในด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ (เอสเอ็มอี) ที่ใช้นวัตกรรมโมบายล์ บรอดแบนด์ ผ่านโครงข่าย 3จีและ 4จีเป็นผู้วางแนวทางและริเริ่มโครงการในเชิงนโยบายและเป้าหมาย โดยแผนงานต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจน

4.สนับสนุนส่งเสริมการใช้โมบายล์ บรอดแบนด์ในกลุ่มคนด้อยโอกาสและผู้พิการ 5.กสทช.มีแผนจะจัดตั้งกองทุนเทเลคอม อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ ทั้งผู้ประกอบในภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เพื่อให้ต้นทุนในอุตสาหกรรมลดลง และเพื่อเป็นการกระตุ้นการขยายโครงข่ายให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว 6.พยายามให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม และหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน การธนาคาร เพื่อที่จะช่วยทำให้อุปสรรคด้านโมบายล์ แบงก์กิ้ง ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 7.เกิดการกระตุ้นการลงทุนด้านฟิกซ์ บรอดแบนด์ การเข้าถึงประชาชนในเมืองและในชนบทอย่างครอบคลุมกว่า 80%

ทั้งนี้ เป้าหมายของบอร์ดกทค.มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้ประเทศมีระดับการ พัฒนาด้านไอซีทีที่สูงขึ้นจนเป็นที่ 1 ของอาเซียน โดยมีโรดแมปที่มีองค์ประกอบดังนี้ การเข้าถึงบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึงตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป และ กทค. ต้องมุ่นเน้นการดำเนินโครงการยูเอสโอเพื่อประชาชนในพื้นที่ชนบทให้สามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ได้มากขึ้น เนื่องจากผลการรายงานของไอทียูระบุว่าประเทศไทยยังมีการให้บริการฟิกซ์ บรอดแบนด์ที่อยู่ในระดับที่ต่ำมาก

http://www.naewna.com/business/199491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.