Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย มั่นใจว่า บ.ไทยทีวีไม่ผิด กสทช.ที่ทำผิด โดยยังคงยึดในหลักการเดิมคือ จะฟ้องร้องหาความเป็นธรรมให้ถึงที่สุด ให้ศาลเป็นผู้ตัดสินว่า ใครควรจ่ายเงิน บ.ไทยทีวี หรือ กสทช.ที่จะต้องเยียวยาและจ่ายเงินชดเชยนี้ เนื่องจาก กสทช.ไม่ปฏิบัติตามแผนแม่บทฯ และคำมั่นที่ให้ไว้ก่อนและหลังการประมูลทีวีดิจิตอล ตนเองก็ได้ยืนยันต่อศาลไปแล้วว่า จะขอยกเลิกใบอนุญาต ไม่ขอทำต่อ

ประเด็นหลัก




นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้รับหนังสือแจ้งเตือนการค้างชำระค่าใบอนุญาตจากสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นจำนวน 1,748.81 ล้านบาท เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา ทางบริษัทจึงตัดสินใจยื่นหนังสือต่อศาลปกครองกลาง ในวันที่ 15 ก.พ.2559 เพื่อขอให้ศาลพิจารณาคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งศาลจะนัดไต่สวนในวันที่ 23 ก.พ.2559 นี้

ทั้งนี้ มั่นใจว่า บ.ไทยทีวีไม่ผิด กสทช.ที่ทำผิด โดยยังคงยึดในหลักการเดิมคือ จะฟ้องร้องหาความเป็นธรรมให้ถึงที่สุด ให้ศาลเป็นผู้ตัดสินว่า ใครควรจ่ายเงิน บ.ไทยทีวี หรือ กสทช.ที่จะต้องเยียวยาและจ่ายเงินชดเชยนี้ เนื่องจาก กสทช.ไม่ปฏิบัติตามแผนแม่บทฯ และคำมั่นที่ให้ไว้ก่อนและหลังการประมูลทีวีดิจิตอล

อีกทั้ง ก่อนหน้านี้บริษัทได้ยื่นต่อศาลเพื่อขอคืนใบอนุญาตทั้ง 2 ช่องรายการ คือช่องไทยทีวี และช่องเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ (ช่องโลก้า) กลับไปยัง กสทช.พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวน 713.83 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี รวมถึงขอคืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทั้ง 2 ฉบับ เป็นเงิน 365.51 ล้านบาท บวกรวมดอกเบี้ยอีก 7.5% ต่อปี แต่ กสทช.ไม่ได้ปฏิบัติตามหรือเยียวยาแต่อย่างใด ทำให้บริษัทต้องต่อสู้อย่างยืดเยื้อ ซึ่งการเจรจาในครั้งล่าสุดช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ที่ขยายเวลาให้ บ.ไทยทีวี 3 เดือน เพื่อหาพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมลงทุนในทั้ง 2 ช่องนั้น เป็นเพียงช่วงเวลาที่สั้น และตนเองก็ได้ยืนยันต่อศาลไปแล้วว่า จะขอยกเลิกใบอนุญาต ไม่ขอทำต่อ


“มองว่า ตอนนี้เรายังไม่รู้หรอกว่าใครจะต้องเป็นคนจ่ายเงินให้ใคร คงต้องรอศาลตัดสินเท่านั้น และหากถ้าถึงที่สุดต้องยึดแบงก์การันตีจริง เชื่อว่าคงใช้เวลาในชั้นศาลนานมาก ถึงตอนนั้นธุรกิจในส่วนอื่นที่บริษัทมีก็คงมีผลกำไรและรายได้เป็นหลายพันล้าน ซึ่งไม่เกิดการล้มละลายอย่างที่เป็นกระแสข่าวแน่นอน ซึ่งถ้าเราดิ้นรนทำต่อไป ในทีวีดิจิตอลที่โครงข่ายก็ไม่พร้อม การประชาสัมพันธ์ก็ไม่ทั่วถึง มีแต่เสียรายได้ต่อเดือนในปีแรก ไม่ถึง 3 ล้านบาท สู้ไปขายเต้าฮวยยังได้เงินมากกว่า 30 ล้านบาททั้งปีเสียอีก” นางพันธุ์ทิพา กล่าว





__________________________________________





เจ๊ติ๋มสู้'กสทช.'ยืนยันไม่ผิด ไทยทีวีพึ่งศาลชี้ขาด ย้ำยึดแบงก์การันตีสถานะยังแกร่ง


“ติ๋ม ไทยทีวี” ประกาศชัด ไม่ผิด สู้ถึงที่สุด รอศาลตัดสิน หลังยื่นคุ้มครองศาลปกครองกลาง ย้ำถึงยึดแบงก์การันตีก็ไม่ล้มละลาย เดินหน้าหาพาร์ทเนอร์ต่างประเทศลุยทีวีดาวเทียม พร้อมขยายธุรกิจท่องเที่ยว

นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้รับหนังสือแจ้งเตือนการค้างชำระค่าใบอนุญาตจากสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นจำนวน 1,748.81 ล้านบาท เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา ทางบริษัทจึงตัดสินใจยื่นหนังสือต่อศาลปกครองกลาง ในวันที่ 15 ก.พ.2559 เพื่อขอให้ศาลพิจารณาคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งศาลจะนัดไต่สวนในวันที่ 23 ก.พ.2559 นี้

ทั้งนี้ มั่นใจว่า บ.ไทยทีวีไม่ผิด กสทช.ที่ทำผิด โดยยังคงยึดในหลักการเดิมคือ จะฟ้องร้องหาความเป็นธรรมให้ถึงที่สุด ให้ศาลเป็นผู้ตัดสินว่า ใครควรจ่ายเงิน บ.ไทยทีวี หรือ กสทช.ที่จะต้องเยียวยาและจ่ายเงินชดเชยนี้ เนื่องจาก กสทช.ไม่ปฏิบัติตามแผนแม่บทฯ และคำมั่นที่ให้ไว้ก่อนและหลังการประมูลทีวีดิจิตอล

อีกทั้ง ก่อนหน้านี้บริษัทได้ยื่นต่อศาลเพื่อขอคืนใบอนุญาตทั้ง 2 ช่องรายการ คือช่องไทยทีวี และช่องเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ (ช่องโลก้า) กลับไปยัง กสทช.พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวน 713.83 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี รวมถึงขอคืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทั้ง 2 ฉบับ เป็นเงิน 365.51 ล้านบาท บวกรวมดอกเบี้ยอีก 7.5% ต่อปี แต่ กสทช.ไม่ได้ปฏิบัติตามหรือเยียวยาแต่อย่างใด ทำให้บริษัทต้องต่อสู้อย่างยืดเยื้อ ซึ่งการเจรจาในครั้งล่าสุดช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ที่ขยายเวลาให้ บ.ไทยทีวี 3 เดือน เพื่อหาพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมลงทุนในทั้ง 2 ช่องนั้น เป็นเพียงช่วงเวลาที่สั้น และตนเองก็ได้ยืนยันต่อศาลไปแล้วว่า จะขอยกเลิกใบอนุญาต ไม่ขอทำต่อ

“มองว่า ตอนนี้เรายังไม่รู้หรอกว่าใครจะต้องเป็นคนจ่ายเงินให้ใคร คงต้องรอศาลตัดสินเท่านั้น และหากถ้าถึงที่สุดต้องยึดแบงก์การันตีจริง เชื่อว่าคงใช้เวลาในชั้นศาลนานมาก ถึงตอนนั้นธุรกิจในส่วนอื่นที่บริษัทมีก็คงมีผลกำไรและรายได้เป็นหลายพันล้าน ซึ่งไม่เกิดการล้มละลายอย่างที่เป็นกระแสข่าวแน่นอน ซึ่งถ้าเราดิ้นรนทำต่อไป ในทีวีดิจิตอลที่โครงข่ายก็ไม่พร้อม การประชาสัมพันธ์ก็ไม่ทั่วถึง มีแต่เสียรายได้ต่อเดือนในปีแรก ไม่ถึง 3 ล้านบาท สู้ไปขายเต้าฮวยยังได้เงินมากกว่า 30 ล้านบาททั้งปีเสียอีก” นางพันธุ์ทิพา กล่าว

ส่วนกรณีของผลกระทบที่จะเกิดกับใบอนุญาตของทีวีดาวเทียมหลังจากติดแบลกลิสต์ที่ทำผิดเงื่อนไขไม่จ่ายค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลนั้น มองว่าคนละส่วนกันเพราะผู้รับใบอนุญาตทีวีดาวเทียมเป็นคนละนิติบุคคลกับ บ.ไทยทีวี ซึ่งตอนนี้ได้ให้ทีมกฎหมายของบริษัทศึกษารายละเอียดอยู่ว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะตนไม่ยอมแพ้ในการทำธุรกิจทีวีแน่นอน ยังคงต้องการทำธุรกิจด้านนี้ต่อไป โดยหาพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้พูดคุยกับต่างประเทศไว้บ้างแล้ว อีกทั้งบริษัทยังคงมีธุรกิจในด้านอื่นที่พร้อมขยายต่อไป ทั้งนิตยสาร ทีวีดาวเทียม และธุรกิจใหม่อย่างธุรกิจท่องเที่ยว ที่กำลังไปได้ดี แม้จะมีผลกระทบบ้างเมื่อมีข่าวลือว่าจะล้มละลาย.

http://www.thaipost.net/?q=เจ๊ติ๋มสู้กสทชยืนยันไม่ผิด-ไทยทีวีพึ่งศาลชี้ขาด-ย้ำยึดแบงก์การันตีสถานะยังแกร่ง


________________________________


'ติ๋ม ทีวีพูล' ยัน ไม่จ่าย 1.6 พันล. ฟ้องศาลปกครอง ระงับจ่ายแบงก์การันตี
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 18 ก.พ. 2559 15:35
5,313 ครั้ง



ผู้บริหารไทยทีวี ยัน ไม่จ่าย 1,634.4 ล้านบาท จนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุด ชี้ กสทช. ไม่ทำตามแผนงานการแจกคูปอง การขยายโครงข่าย/การประชาสัมพันธ์ ล่าสุด ส่งทนายยื่นฟ้องศาลปกครอง ให้ระงับการจ่ายแบงก์การันตี

วันที่ 17 ก.พ. นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยทีวี กล่าวว่า ได้รับหนังสือคำสั่ง จาก สำนักงาน กสทช. แล้ว เกี่ยวกับ มติเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอล 2 ช่อง ได้แก่ ช่องไทยทีวี และ ช่องโลก้า และได้มอบหมายให้ทนายความยื่นฟ้องศาลปกครอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับคำสั่ง กสทช. ขอเรียกเก็บหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือแบงก์การันตี ที่ทำไว้กับธนาคารกรุงเทพ โดยศาลนัดไต่สวนนัดแรก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.00 น.






ส่วนเหตุผล ที่ยกเลิกทั้ง 2 ช่อง เพราะ กสทช. ไม่สามารถดำเนินการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลได้สำเร็จ และไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ทุกเรื่อง เช่น การแจกคูปองทีวีดิจิตอล การประชาสัมพันธ์ และการติดตั้งโครงข่าย ก่อนการประมูลได้มีแผนความเสี่ยงไว้แล้ว แต่ กสทช. ไม่มีแผนงานที่ชัดเจน ทำให้ได้รับผลกระทบ ทำให้ช่วงที่ผ่านมากว่า 1 ปี ลงทุนไปหมดไปกว่า 1 พันล้านบาท มีรายได้กลับมาไม่ถึง 3 ล้านบาท และเชื่อว่าทุกช่องก็ไม่ต่างกัน กรณีที่อาจกระทบกับใบอนุญาตทีวีดาวเทียม เชื่อว่าไม่กระทบ เพราะเป็นคนละนิติบุคคลกัน ขณะที่ กสทช. ต้องปรับ คือ การพิจารณา เรื่องการจ่ายงวดที่สาม เพื่อทำให้ผู้ประกอบการที่เหลืออยู่สามารถอยู่รอดได้ ยืนยันว่า บริษัท จะไม่ทำกิจการใดๆ ที่เกี่ยวกับภาครัฐอีก เพราะเกิดความเสียหายแล้วเรียกร้องความเสียหายได้ยาก พร้อมฝากถึงผู้ประกอบการรายอื่นให้คุมค่าใช้จ่าย และเข้าใจว่ามีหลายช่องที่ต้องการยุติ แต่ยังไม่สามารถออกมาบอกได้

http://www.thairath.co.th/content/579240

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.