Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 าพรวมอุตสาหกรรมเคเบิลในปีนี้ ในฐานะนายกสมาคมเคเบิ้ลฯมองว่ารายรับจากธุรกิจเคเบิลจะไม่เติบโต หรืออาจจะลดลงราว 10-20% ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็ก

ประเด็นหลัก

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมเคเบิลในปีนี้ ในฐานะนายกสมาคมเคเบิ้ลฯมองว่ารายรับจากธุรกิจเคเบิลจะไม่เติบโต หรืออาจจะลดลงราว 10-20% ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการไม่มีโลคัลคอนเทนต์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ชมในท้องถิ่นนั้นๆ ส่งผลให้สมาชิกหันไปเลือกรับชมคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอื่นๆแทน อาทิ ทีวีดิจิตอล และทีวีดาวเทียม เป็นต้น เนื่องจากไม่ต้องจ่ายเงินค่าบริการรายเดือน ดังนั้นอยากแนะนำให้ผู้ประกอบการทุกรายหันมาให้ความสนใจทำโลคัลคอนเทนต์กันมากขึ้นเพื่อรักษาฐานสมาชิก



_________________________




เคเบิลทีวีหย่าศึกกสทช. ลุยปรับภาพลักษณ์/ลดค่าสมาชิก/พัฒนาโครงข่าย
เคเบิลทีวีหย่าศึกกสทช. ลุยปรับภาพลักษณ์/ลดค่าสมาชิก/พัฒนาโครงข่าย

เคเบิลทีวี เลิกงัดข้อกสทช. เดินหน้าลุยธุรกิจต่อ “เจริญเคเบิ้ล” เร่งสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ปั้น “เจริญ แชนแนล” เสียบแทน Bangkok TV พร้อมทุ่มงบพัฒนาโครงข่ายระบบ HD หั่นลดค่าสมาชิก หวังเบียดแย่งแชร์ทีวีดิจิตอล ชี้ภาพรวมธุรกิจยังไม่กระเตื้อง คาดถึงสิ้นปีผู้ประกอบการทยอยหายจากตลาดเพิ่มอีก 50-100 ราย ด้าน “MSS Cable” ดึงโครงข่ายอินเตอร์เน็ต เสริมคอนเทนต์โลคัลสู้ศึก


ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีรายใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยพีเอสไอ เจริญเคเบิ้ล บิ๊กโฟร์ และ IPM ซึ่งมีสมาชิกรวมกว่า 18 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศไทยกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จนมีกรณีการยื่นฟ้องคณะกรรมการ กสทช. และสำนักงานกสทช. ต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนประกาศของ กสทช. 2 ฉบับ คือ มัสต์แคร์รี่กับการจัดลำดับช่องรายการโทรทัศน์ที่กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการทีวีดาวเทียมและกิจการเคเบิลทีวี ต้องจัดรายการของกลุ่มทีวีดิจิตอลทั้งหมดไว้ในช่องที่ 1 – 36 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปีนั้น หลังการเจรจาพบว่าผู้ประกอบการเคเบิลและทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่ยินยอมปฏิบัติตามกฎเรียงช่อง เหลือเพียงแค่ช่องทรูวิชั่นส์เท่านั้น ทำให้ปัญหาต่างๆยุติลง พร้อมกับการเดินหน้ารุกธุรกิจของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีต่อไป

ต่อเรื่องดังกล่าวนายวิชิต เอื้ออารีวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง (8888) จำกัด ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ “เจริญเคเบิ้ลทีวี” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปีนี้บริษัทพร้อมเดินหน้ารุกธุรกิจเคเบิลทีวีอีกครั้ง โดยล่าสุดทุ่มงบกว่า 15 ล้านบาทในการปรับโฉมภาพลักษณ์ช่องทีวีของเจริญเคเบิ้ลทีวีใหม่ พร้อมปรับเปลี่ยนชื่อช่องใหม่เป็น “เจริญ แชนแนล” เพื่อนำเสนอคอนเทนต์ที่ทันสมัย หลากหลายครบครัน และเข้าถึงกลุ่มสมาชิกจากเดิมที่เป็นชื่อช่อง “Bangkok TV” โดยจะเปิดตัวเจริญ แชนแนลภายในเดือนมีนาคมนี้ และคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากสมาชิกตลอดจนบริษัทตัวแทนโฆษณาเป็นอย่างดี

“ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของธุรกิจเคเบิลทีวีไม่ดีนัก ส่งผลให้ผู้ชมและเอเยนซีมองหาช่องทางสื่อสารใหม่ๆ อาทิ ทีวีดิจิตอล ออนไลน์ เป็นต้น ดังนั้นบริษัทจึงต้องการปรับภาพลักษณ์ของธุรกิจเคเบิลใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่การปรับโลโก รวมถึงการนำเสนอคอนเทนต์ประเภทต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวมถึงคาดหวังจะให้อุตสาหกรรมดูมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นด้วย”


อย่างไรก็ดี หลังจากที่บริษัทเข้าซื้อกิจการเคเบิลทีวีรายเล็กกว่า 10 รายในปีก่อน โดยใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาทนั้น ล่าสุดมีผู้ประกอบการกว่า 15 รายเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อแบ่งปันด้านโครงข่ายและคอนเทนต์ ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนและแข่งขันในธุรกิจได้ ทั้งนี้บริษัทมองว่าทิศทางอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีในประเทศไทยหลังจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องร่วมเป็นพันธมิตรกันมากขึ้น เพราะในสภาวะการแข่งขันสูงผู้ประกอบการที่ยืนอยู่รายเดียวอาจจะอยู่ยาก เห็นได้จากปีก่อนที่มีผู้ประกอบการเคเบิลขนาดเล็กหายจากตลาดไปแล้วกว่า 50 ราย โดยปีนี้เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการรายเล็กที่จะหายไปจากตลาดอีก 50 -100 ราย แต่จะไม่ใช่การปิดกิจการทั้งหมดอาจจะมีบางส่วนที่ไปร่วมเป็นพันธมิตรกัน

ด้านนายณัฐชัย อักษรดิษฐ นายกสมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม.เอส.เอส. เคเบิ้ลทีวี จำกัด ผู้บริหาร “MSS เคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค” กล่าวว่า บริษัทเตรียมงบประมาณกว่า 20 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงสายไฟเบอร์ออพติกทั้งระบบ เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคมัลติสกรีนโดยระบบดังกล่าวสามารถพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบและให้บริการอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลังจากที่บริษัทได้ทดลองปรับสายดังกล่าว พบว่ามีสมาชิกให้ความสนใจมาใช้โครงข่ายอินเตอร์เน็ตของ MSS เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของยอดสมาชิกทั้งหมด

“ทั้งนี้หลังจากที่บริษัทพัฒนาสายไฟเบอร์ออพติกเสร็จสมบูรณ์แล้ว เชื่อว่าจะมีลูกค้าเคเบิลทีวีที่เป็นสมาชิกของ MSS สนใจหันมาใช้บริการอินเตอร์เน็ตของบริษัทเพิ่มขึ้นอีก 10% จากเดิมในปัจจุบันมีผู้ใช้อยู่ที่ 40% ของยอดสมาชิกทั้งหมด ส่งผลให้สิ้นปีนี้มีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเพิ่มเป็น 50% ของยอดสมาชิกทั้งหมด”

ทั้งนี้นอกจากเรื่องของระบบโครงข่ายแล้ว บริษัทยังวางแผนพัฒนาในด้านของคอนเทนต์ โดยเฉพาะโลคัลคอนเทนต์ ซึ่งบริษัทจะเน้นคอนเทนต์ในจังหวัดหรือท้องถิ่นนั้นๆเจาะเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น ถ่ายทอดสดการแข่งเรือยาว เป็นต้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าสมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนท้องถิ่นหากมีคอนเทนต์ในจังหวัดหรือท้องถิ่นนั้นๆเจาะเฉพาะกลุ่มมากขึ้น จะส่งผลให้ได้รับความสนใจจากสมาชิกมากขึ้น สำหรับผลประกอบการของบริษัทในปีที่ผ่านมา มีรายได้ราว 100 ล้านบาท แบ่งเป็น กลุ่มธุรกิจอินเตอร์เน็ต 15 ล้านบาท โปรดักชัน 17 ล้านบาท และที่เหลือ 68 ล้านบาทมาจากกลุ่มธุรกิจเคเบิลทีวี ”

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมเคเบิลในปีนี้ ในฐานะนายกสมาคมเคเบิ้ลฯมองว่ารายรับจากธุรกิจเคเบิลจะไม่เติบโต หรืออาจจะลดลงราว 10-20% ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการไม่มีโลคัลคอนเทนต์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ชมในท้องถิ่นนั้นๆ ส่งผลให้สมาชิกหันไปเลือกรับชมคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอื่นๆแทน อาทิ ทีวีดิจิตอล และทีวีดาวเทียม เป็นต้น เนื่องจากไม่ต้องจ่ายเงินค่าบริการรายเดือน ดังนั้นอยากแนะนำให้ผู้ประกอบการทุกรายหันมาให้ความสนใจทำโลคัลคอนเทนต์กันมากขึ้นเพื่อรักษาฐานสมาชิก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,139 วันที่ 13 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

http://www.thansettakij.com/2016/03/14/37369

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.