Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 ริษัท เอ็มวี เทเลวิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดาวเทียม เช่น เอ็มวีทีวี, Major Channel MIX ให้มุมมองอีกด้านว่า การตัดราคาขายโฆษณาของผู้ประกอบการช่องทีวีดาวเทียม เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไม่ได้ เพราะต้นทุนผลิตเพิ่มขึ้น แต่รายได้จากโฆษณาลดลง

ประเด็นหลัก


นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและการเรียนรู้ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ตัวแทนจากสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทีวียังเป็นสื่ออันดับต้น ๆ ที่มีเดียเอเยนซี่และสินค้าให้ความสนใจซื้อโฆษณา โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายและการตอบโจทย์ของสินค้า จึงเป็นโอกาสของช่องที่ไม่มีเรตติ้งและช่องที่มีกลุ่มผู้ชมชัดเจน

อย่างไรก็ตาม นายชัยยุทธ ทวีปวรเดช ประธานบริษัท เอ็มวี เทเลวิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดาวเทียม เช่น เอ็มวีทีวี, Major Channel MIX ให้มุมมองอีกด้านว่า การตัดราคาขายโฆษณาของผู้ประกอบการช่องทีวีดาวเทียม เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไม่ได้ เพราะต้นทุนผลิตเพิ่มขึ้น แต่รายได้จากโฆษณาลดลง จึงไม่มีงบฯผลิตรายการที่มีคุณภาพและไม่มีเรตติ้ง จึงต้องหาแนวทางร่วมมือจากผู้ประกอบการในการวางแนวทางราคาโฆษณากลาง สร้างมาตรฐาน ขณะที่แต่ละรายก็ต้องปรับกลยุทธ์พัฒนารายการ สร้างตลาดผู้ชมใหม่ ๆ ล่าสุดบริษัทได้เปิดช่องเพลงจีน WHM TV ขยายผู้ชมนิชมาร์เก็ต

ทั้งนี้ ธุรกิจโครงข่ายทีวีดาวเทียมก็ได้รับผลกระทบจากจำนวนช่องที่ลดลง นายมานพ โตการค้า ประธานชมรมผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดาวเทียม กล่าวว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จำนวนช่องทีวีดาวเทียมลดลงต่อเนื่อง จากหลาปัญหา ทั้งอายุใบอนุญาตทีวีดาวเทียมที่สั้นลง ทำให้บางช่องต้องยุติการออกอากาศ ทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องจึงเร่งหาแนวทางร่วมกัน เพื่อรักษาการเติบโตของธุรกิจนี้ ล่าสุดอยู่ระหว่างหารือผู้ประกอบการโครงข่าย ได้แก่ พีเอสไอ กลุ่มบิ๊ก 4 ในการจัดเรียงเลขช่องทีวีดาวเทียมใหม่ เพื่อให้ทุกหมายเลขช่องออกอากาศเหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม


_________________________






ช่อง "ดาวเทียม-เคเบิล" แท็กทีมสู้ทีวีดิจิทัล



สมาคมเคเบิล-ทีวีดาวเทียม แท็กทีมรับมือทีวีดิจิทัลไล่บี้ กินส่วนแบ่งงบฯโฆษณา แนะผู้ประกอบการท้องถิ่น ปรับลดต้นทุนภายใน ฟากโครงข่ายเร่งหาข้อสรุปจัดเรียงเลขช่องทีวีดาวเทียมเลขเดียวทุกแพลตฟอร์ม หวังสร้างทางรอดรักษาการเติบโต

นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวในงานสัมมนา "ชี้ชะตาทีวีดาวเทียมอยู่หรือตาย" ถึงการสร้างทางรอดและรักษาการเติบโตว่า จากนี้ไปผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมต้องรวมกลุ่มกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรม และควบคุมเนื้อหาโฆษณาให้อยู่ในกรอบที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามกฎและอาจจะทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้ต่อใบอนุญาตทีวีดาวเทียม ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องพัฒนาช่องรายการ เพื่อรักษาการเติบโต

ด้านนายวิชิต เอื้ออารีวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง (8888) จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีปัจจุบันไม่เติบโต เนื่องจากช่องทีวีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นและเข้ามาชิงส่วนแบ่งงบฯโฆษณา จากเดิมงบฯโฆษณาสื่อทีวีมีมูลค่า 60,000 ล้านบาท ถูกแบ่ง 2 ส่วนคือ ฟรีทีวี (ช่อง 3-7-5-9) มีสัดส่วน 80-90% อีก 10-20% เป็นทีวีดาวเทียม-เคเบิลและอื่น ๆ เช่น ทรูวิชั่นส์ รวม 200 ช่อง ผู้ประกอบการจึงต้องบริหารจัดการต้นทุนภายใน เก็บข้อมูลลูกค้าเป็นข้อมูลอ้างอิงให้กับมีเดียเอเยนซี่-สินค้าในการตัดสินใจซื้อโฆษณา เพื่อพยุงธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดแข็งในแง่ต้นทุนการผลิตและออกอากาศที่ต่ำกว่าฟรีทีวี

"งบฯโฆษณาสื่อทีวีไม่ได้โตขึ้น แต่จำนวนผู้เล่นมากขึ้น เท่ากับว่า งบฯโฆษณาของช่องทีวีดาวเทียม-เคเบิล ถูกแบ่งย่อยมากขึ้น ประกอบกับ กสทช.ที่มีข้อกำหนดเข้มข้น ทำให้มีบางช่องต้องปิดตัวลง"

นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและการเรียนรู้ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ตัวแทนจากสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทีวียังเป็นสื่ออันดับต้น ๆ ที่มีเดียเอเยนซี่และสินค้าให้ความสนใจซื้อโฆษณา โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายและการตอบโจทย์ของสินค้า จึงเป็นโอกาสของช่องที่ไม่มีเรตติ้งและช่องที่มีกลุ่มผู้ชมชัดเจน

อย่างไรก็ตาม นายชัยยุทธ ทวีปวรเดช ประธานบริษัท เอ็มวี เทเลวิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดาวเทียม เช่น เอ็มวีทีวี, Major Channel MIX ให้มุมมองอีกด้านว่า การตัดราคาขายโฆษณาของผู้ประกอบการช่องทีวีดาวเทียม เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไม่ได้ เพราะต้นทุนผลิตเพิ่มขึ้น แต่รายได้จากโฆษณาลดลง จึงไม่มีงบฯผลิตรายการที่มีคุณภาพและไม่มีเรตติ้ง จึงต้องหาแนวทางร่วมมือจากผู้ประกอบการในการวางแนวทางราคาโฆษณากลาง สร้างมาตรฐาน ขณะที่แต่ละรายก็ต้องปรับกลยุทธ์พัฒนารายการ สร้างตลาดผู้ชมใหม่ ๆ ล่าสุดบริษัทได้เปิดช่องเพลงจีน WHM TV ขยายผู้ชมนิชมาร์เก็ต

ทั้งนี้ ธุรกิจโครงข่ายทีวีดาวเทียมก็ได้รับผลกระทบจากจำนวนช่องที่ลดลง นายมานพ โตการค้า ประธานชมรมผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดาวเทียม กล่าวว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จำนวนช่องทีวีดาวเทียมลดลงต่อเนื่อง จากหลาปัญหา ทั้งอายุใบอนุญาตทีวีดาวเทียมที่สั้นลง ทำให้บางช่องต้องยุติการออกอากาศ ทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องจึงเร่งหาแนวทางร่วมกัน เพื่อรักษาการเติบโตของธุรกิจนี้ ล่าสุดอยู่ระหว่างหารือผู้ประกอบการโครงข่าย ได้แก่ พีเอสไอ กลุ่มบิ๊ก 4 ในการจัดเรียงเลขช่องทีวีดาวเทียมใหม่ เพื่อให้ทุกหมายเลขช่องออกอากาศเหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1456985308

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.