Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มีนาคม 2559 กสทช.สุภิญญา ระบุ ารปฏิรูปสื่อครั้งนี้ไม่ควรย้อนกลับไปเริ่มปฏิรูปสื่อในยุค 2535 แต่อยากให้ฟังเสียงจากภาคประชาชน และสื่อมวลชนส่วนใหญ่มากกว่า อีกทั้งการปฏิรูปสื่อ กสทช. ยังคงต้องสานภารกิจต่อไป

ประเด็นหลัก



ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า การปฏิรูปสื่อครั้งนี้ไม่ควรย้อนกลับไปเริ่มปฏิรูปสื่อในยุค 2535 แต่อยากให้ฟังเสียงจากภาคประชาชน และสื่อมวลชนส่วนใหญ่มากกว่า อีกทั้งการปฏิรูปสื่อ กสทช. ยังคงต้องสานภารกิจต่อไป ขณะเดียวกันด้านการจัดสรรคลื่นความถี่ของกสทช.ปัจจุบันยังเป็นโจทย์ที่กสทช. ต้องแก้ไขให้ได้ยอมรับข้อบกพร่องและอาจจะต้องแก้กฎหมายบางส่วน ยกตัวอย่าง เรื่องคลื่น 2600 MMDS เป็นตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งที่ กสทช.ต้องพิสูจน์


_________________________






ชี้รัฐธรรมนูญใหม่ตีกรอบสื่อ


นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ที่ปรึกษากรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เปิดเผยในงานเสวนาสาธารณะ “ทางเลือกในการปฏิรูปสื่อกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ นั้น สิทธิ เสรีภาพของประชาชนและเสรีภาพสื่อฯในแต่ละหมวด แต่ละมาตรา มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ขณะเดียวกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับที่ดีที่สุด ตรงกันข้ามอาจกล่าวได้ว่านี่คือร่างฯ ที่เสรีภาพสื่อและเสรีภาพประชาชนถูกตีกรอบให้เดินถอยหลังย้อนยุคกลับไปสู่อดีตเมื่อ 20 ปีก่อน

“ร่างฯฉบับนี้ไม่ต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับถาวรภายใต้สถานการณ์รัฐประหาร ซึ่งสื่อถูกควบคุมกำกับเสรีภาพจนไม่สามารถทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่นายมีชัยเป็นประธานน่าจะร่างในส่วนที่เป็นเสรีภาพสื่อได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมีตัวอย่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และ 2550 และที่สำคัญในร่างฯ ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ที่เกิดจากการแสดงความเห็นและเสนอแนะจากคณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มีนายจุมพล รอดคำดี เป็นประธาน โดยไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการยกร่างฯก็ตอบรับด้วยดี นำไปเขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ควรที่นายมีชัย และกรรมการร่างจะนำมาเขียนในร่างแต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น”

ขณะเดียวกันการเดินหน้าขับเคลื่อนการปฏิรูปสื่อควรประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1.เสรีภาพบนความรับผิดชอบ 2.การกำกับดูแลสื่อที่มีประสิทธิภาพ และ 3.การป้องกันและแทรกแซงสื่อ ซึ่งทั้ง 3 ด้านนี้คณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อฯ ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน(ร่างกฎหมายสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ)ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติส่งไปถึงรัฐบาลแล้ว

อีกทั้งหลักการสำคัญของร่างพ.ร.บ. คือให้มีองค์กรกำกับดูแลกันเองในสื่อทุกประเภท อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันเข้าสู่ยุคหลอมรวม ครอบคลุมทั้งสื่อในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตามวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติเพื่อให้เป็นองค์กรกลางที่มีกฎหมายรองรับมีหน้าที่กำกับกันเองทางด้านจริยธรรมให้เป็นอิสระจากรัฐและทุน ดังนั้นการออกแบบ กสทช.กับการสร้างกลไกกำกับกันเองด้านจริยธรรมของสื่อ จึงต้องมีการศึกษาและการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปแนวทางการดำเนินการที่ดีที่สุด ปฏิบัติได้จริง และสมประโยชน์ นั่นคือประชาชนได้ประโยชน์จากการบริโภคข่าวสารจากสื่อ


ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า การปฏิรูปสื่อครั้งนี้ไม่ควรย้อนกลับไปเริ่มปฏิรูปสื่อในยุค 2535 แต่อยากให้ฟังเสียงจากภาคประชาชน และสื่อมวลชนส่วนใหญ่มากกว่า อีกทั้งการปฏิรูปสื่อ กสทช. ยังคงต้องสานภารกิจต่อไป ขณะเดียวกันด้านการจัดสรรคลื่นความถี่ของกสทช.ปัจจุบันยังเป็นโจทย์ที่กสทช. ต้องแก้ไขให้ได้ยอมรับข้อบกพร่องและอาจจะต้องแก้กฎหมายบางส่วน ยกตัวอย่าง เรื่องคลื่น 2600 MMDS เป็นตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งที่ กสทช.ต้องพิสูจน์



http://www.thansettakij.com/2016/03/02/34045

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.