Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มีนาคม 2559 กสทช.เศรษฐพงค์ ระบุ สำนักงาน กสทช.เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ต้องรับผิดชอบกรณีนี้ โดย กสทช.เป็นหน่วยงานที่จะต้องรายงานตรงต่อวุฒิสภา หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ประเด็นหลัก พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ชี้แจงว่า สำนักงาน กสทช.เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ต้องรับผิดชอบกรณีนี้ โดย กสทช.เป็นหน่วยงานที่จะต้องรายงานตรงต่อวุฒิสภา หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ทำหน้าที่แทนวุฒิสภาในปัจจุบัน ___________________________________________________ 'กสทช.'ตอกกลับปึ้ง รัฐไม่เกี่ยวประมูลล่ม


กสทช.ชี้ไม่ได้อยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาล รายงานตรงวุฒิสภา-สนช.แจงการประมูล 900 โปร่งใส ด้านสุภิญญา แนะต้องตรวจสอบเงื่อนไขให้ชัด คนละนิติบุคคล เอาผิดย้อนหลังได้หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาให้ข่าวว่า รัฐมนตรีที่กำกับดูแล กสทช. และสำนักงาน กสทช. จะต้องรับผิดชอบต่อเรื่องที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ดำเนินการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่งวดแรก และไม่ได้จัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ชี้แจงว่า สำนักงาน กสทช.เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ต้องรับผิดชอบกรณีนี้ โดย กสทช.เป็นหน่วยงานที่จะต้องรายงานตรงต่อวุฒิสภา หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ทำหน้าที่แทนวุฒิสภาในปัจจุบัน

ทั้งนี้ การประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว เป็นกรณีที่ กสทช.ได้ประกาศกฎเกณฑ์เงื่อนไขในการประมูลไว้แล้ว โดยผู้ที่เสนอราคาให้กับรัฐสูงสุดจะเป็นผู้ที่ชนะ และมีระยะเวลาของใบอนุญาต 15 ปี โดยภายใต้เงื่อนไขนั้น หากผู้ที่ชนะการประมูลไม่นำเงินมาชำระค่าประมูลดังกล่าว ก็จะมีการริบเงินค่าประกันเพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และจะเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมในส่วนความเสียหายที่รัฐได้รับ รวมถึงค่าเสียโอกาสในกรณีที่ประชาชนหรือประเทศชาติได้ใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ช้าลง และจะมีการตรวจสอบข้อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายว่าด้วยระเบียบพัสดุแห่งชาติ เป็นต้น

อีกทั้งตอนนี้สำนักงาน กสทช.ได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ เป็นคณะทำงานเพื่อมาตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว โดยมีอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ทำงานเป็นต้น เพื่อที่จะทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ เป็นไปโดยก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศมากที่สุด สำนักงาน กสทช.จึงได้เร่งทำหลักเกณฑ์ที่จะให้มีการประมูลคลื่นความถี่ครั้งใหม่โดยเร็ว โดยคาดว่าจะประมูลภายในปลายเดือน มิ.ย.2559.



http://www.thaipost.net/?q=กสทชตอกกลับปึ้ง-รัฐไม่เกี่ยวประมูลล่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.