Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 เมษายน 2559 jas.พิชญ์ ระบุ การหาพันธมิตรต่างชาติ แจสก็ได้พยายามอย่างเต็มที่ มีผู้สนใจมาร่วมลงทุน 30,000 ล้านบาท โดยแจสจะถือหุ้น 49% แต่กระบวนการการทำสัญญาต่างๆ ไม่สามารถทำได้ทันตามกำหนดการจ่ายเงินคือ วันที่ 21 มี.ค.

ประเด็นหลัก



  “พิชญ์” เดินทางมาชี้แจงกรณีเบี้ยวจ่ายค่าประมูลคลื่น 900 MHz ด้วยตนเอง ยันตั้งใจเป็นโอเปอเรเตอร์รายที่ 4 สัญชาติไทย แต่ธนาคารกรุงเทพ ขอให้ “อดิศัย” เซ็นค้ำประกันส่วนตัวด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ จึงเดินหน้าหาพันธมิตรจีน แต่กระบวนการเซ็นสัญญาเสร็จกลางเดือน เม.ย.ไม่ทันจ่ายเงิน 21 มี.ค. น้อมรับชดใช้ค่าเสียหายตามที่คณะทำงานฯ ประเมิน มั่นใจไลเซนส์อื่นไม่ถูกยึด
ADVERTISING

     
       วันนี้ (5 เม.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น. นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เดินทางมาชี้แจงต่อคณะทำงานตรวจสอบความเสียหาย ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แต่งตั้งขึ้น กรณี บริษัทแจส โมบาย บรอดแบนด์ ไม่ชำระค่าประมูลคลื่น 900 MHz ที่ชนะการประมูลไป จำนวน 75,654 ล้านบาท โดยใช้เวลาในการชี้แจงต่อคณะทำงานฯ ประมาณ 1.30 ชั่วโมง ก่อนจะออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่มาเฝ้ารอทำข่าวอยู่จำนวนมากในเวลา 16.35 น.
     
       นายพิชญ์ กล่าวต่อสื่อมวลชนถึง 5 ประเด็นที่ชี้แจงต่อคณะทำงานฯ คือ ประเด็นแรก แจสได้ทำเต็มที่แล้ว แจสมั่นใจว่ามีศักยภาพในการทำธุรกิจ แจสตั้งใจมาทำธุรกิจตั้งแต่แรก ตั้งใจมาจริงๆ ไม่ได้มาเล่นๆ เพราะแจสต้องการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) รายที่ 4 ที่เป็นสัญชาติไทย โดยแจสมีเอกสาร และข้อมูลทุกอย่างที่จะส่งมาให้คณะทำงานฯ ภายหลังจากนี้ ประเด็นที่สอง คือ เหตุใดถึงไม่เข้าร่วมเคาะราคาประมูลเองในคลื่น 900 MHz ทั้งๆ ที่ตอนประมูลคลื่น 1800 MHz ตนเองเข้ามาร่วมเคาะราคาการประมูลเอง ประเด็นนี้ต้องตอบว่าเป็นเรื่องของกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยตนเองได้ให้กรอบวงเงินในการประมูลถึง 80,000 ล้านบาท เพราะทราบอยู่แล้วว่าคลื่นนี้ต้องมีราคาสูง ทำให้ทีมที่เข้าไปเคาะราคาเคาะในสล็อตเดียวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวงเงินที่ให้ไว้
     
       ประเด็นที่สาม การเจรจากับธนาคารกรุงเทพ แจสได้คุยจนใกล้เสร็จกระบวนการแล้วไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง แต่สุดท้ายธนาคารเพิ่งมาบอกในวินาทีสุดท้ายว่า ต้องมีการค้ำประกันส่วนตัวด้วย โดยต้องเป็นตนเอง และคุณพ่อของตน คือ นายอดิศัย โพธารามิก เซ็นค้ำประกันอีกคนหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ตนเองเห็นว่าไม่สมควรที่จะให้คุณพ่อมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะท่านอายุมากแล้ว ทำให้ประมาณวันที่ 20 ม.ค.ต้องหยุดการพูดคุยกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งตอนนั้นก็เหลือเวลาไม่ถึง 2 เดือน ที่ต้องชำระเงินค่าประมูลงวดแรกพร้อมหนังสือค้ำประกันทางการเงิน (แบงก์การันตี)
     
       ประเด็นที่สี่ การหาพันธมิตรต่างชาติ แจสก็ได้พยายามอย่างเต็มที่หลังจากที่ไม่สามารถเจรจากับธนาคารกรุงเทพได้ ช่วงเดือน ก.พ. ก่อนตรุษจีน ตนเองจึงได้เจรจากับโอเปอเรเตอร์หลายรายในประเทศจีนเพื่อให้พันธมิตรทางธุรกิจ โดยประสานผ่านธนาคารไอซีบีซี เพื่อประสานไปยังโอเปอเรเตอร์หลายราย เช่น ไชน่าเทเลคอม, แชริ่งโมบาย, ไชน่ายูนิคอม อีกทั้งยังมีแซททีอี เสนอพันธมิตรเข้ามาเพิ่มเติมอีก คือ Cerieco ซึ่งเป็นบริษัทหลานของบริษัท Sinomax ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศจีน สนใจลงทุน 10,000 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ตนองมีเอกสารชี้แจงครบถ้วน จนล่าสุด ธนาคารดังกล่าวก็ได้แนะนำบริษัทกองทุนรายหนึ่งซึ่งเขาขอไม่ให้เปิดเผยรายชื่อแต่ตนเองได้แจ้งรายชื่อให้ กสทช.ทราบแล้ว สนใจมาร่วมลงทุน 30,000 ล้านบาท โดยแจสจะถือหุ้น 49% แต่กระบวนการการทำสัญญาต่างๆ ไม่สามารถทำได้ทันตามกำหนดการจ่ายเงินคือ วันที่ 21 มี.ค. ซึ่งตนเองมีเอกสารชี้แจงว่า การทำเดินการทำสัญญาจะเสร็จสิ้นประมาณกลางเดือน เม.ย.
     
       และประเด็นที่ห้า คือ การซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผล แจสจะสามารถทำได้หรือไม่นั้น ต้องบอกว่า แจสสามารถทำได้เพราะเป็นเรื่องของผลประกอบการบริษัท และตนเองเชื่อว่าธุรกิจ 4G จะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นแจสในระยะยาว ดังนั้น การชี้แจงต่อคณะทำงานจึงเป็นเรื่องตรงไปตรงมา ไม่มีอะไรพิสดาร ทุกอย่างทำอยู่บนพื้นฐานการทำงานเพื่อผู้ถือหุ้น จากนี้ตนเองก็คงต้องรุกธุรกิจบรอดแบนด์ต่อไป และมั่นใจว่า ใบอนุญาตต่างๆ ที่ได้รับจาก กสทช.ไม่เกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้ เพราะบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตไม่ได้ทำอะไรผิด หลายคนก็บอกว่าไม่เกี่ยวข้องกัน ตนเองจึงไม่ห่วงเรื่องนี้ ส่วนค่าเสียหายก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะทำงานฯว่า จะเรียกร้องจำนวนเท่าไหร่
     
       “ถามว่าทำไมเราไม่บอก กสทช.ว่าเราจะไม่จ่าย เพราะเราไม่รู้ว่าดีลมันจะจบหรือเปล่า เรามั่นใจว่าจะจบ เราเลยไม่บอก กสทช. กลัวว่าบอกแล้วถ้า กสทช.จะเสียหน้า แต่สุดท้ายมันก็ไม่ทัน เราก็ลุ้นจนนาทีสุดท้าย และ กสทช.ก็ตั้งคณะทำงานฯ ขึ้นมาเร็วมาก ซึ่งเราก็เตรียมแถลงข่าวในวันรุ่งขึ้น แต่ตลาดขึ้นตัว เอช ในช่วงเช้า และเอสพี ในช่วงบ่าย เราก็ไม่อยากออฟไซต์ กสทช.”




_______________________________________________





Jas เข้าชี้แจง กสทช. กรณีทิ้งใบอนุญาตคลื่น 900 MHz เผยตั้งใจจริง ไม่ได้มาประมูลเล่นๆ

 กสทช. 4g คลื่น 900 900 mhz แจส โมบาย jas mobile broadnd jas mobile broadbad
ผู้บริหาร แจส (JAS) และในฐานะผู้บริหารบ.แจส โมบาย เดินทางมาชี้แจงต่อคณะทำงานฯ กสทช. พิจารณารับผิด กรณีที่ไม่จ่ายค่าประมูลใบอนุญาตคลื่น 900

แหล่งข่าวรายงาน ในเวลา 15.00 น. ของวันที่ 5 เม.ย.2559 พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท จัสมิน อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน หรือ แจส (JAS) และในฐานะผู้บริหารบ.แจส โมบาย เดินทางมาชี้แจงต่อคณะทำงานพิจารณารับผิด กรณีที่ไม่จ่ายค่าประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 ซึ่งใช้เวลาชี้แจงประมาณ 90 นาที โดยออกจากห้องในเวลา 16.30 น.



พิชญ์ โพธารามิก เปิดเผยว่า ตนได้ชี้แจงใน 5 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรก ได้ยืนยันต่อคณะทำงานว่าการเข้ามาร่วมประมูลคลื่นนั้น เป็นความตั้งใจจริงที่จะทำธุรกิจ ไม่ได้เข้ามาเล่นๆ มีการวางแผนและวางกลยุทธ์ต่างๆ ไว้ตั้งแต่เริ่ม  ประเด็นที่ 2 กรณีที่มีข้อสงสัยว่า ทำไมตนเข้าร่วมประมูลด้วยตนเองในคลื่น 1800 MHz แต่ในคลื่น 900 MHz ตนไม่ได้เข้าร่วม แต่ให้ทีมเข้าไปเคาะราคาแทน ในเรื่องนี้ชี้แจงว่า เป็นกลยุทธ์ที่เราวางไว้แต่แรก ซึ่งการส่งทีมเข้าไป มีการมอบนโยบายและงบประมาณไว้ที่ 80,000 ล้านบาท อีกทั้ง การเข้าไปเคาะราคาในชุดแรกและไม่มีการเปลี่ยนเลยนั้น เพราะมองว่าบริษัทมีจำนวนเงินที่ชัดเจน ใครมีมากกว่าก็เป็นผู้ชนะไปในการเคาะราคา

ส่วนประเด็นที่ 3 หลังจากที่บริษัทชนะการประมูล ก็ได้หารือกับธนาคารกรุงเทพ ในเรื่องหนังสือค้ำประกัน หรือ แบงก์การัยตีมาโดยตลอด จนถึงขั้นตอนสุดท้าย ในช่วงวันที่ 20 ม.ค.2559 ธนาคารได้เพิ่มเงื่อนไขว่า ตนเองและบิดา คือ นายอดิศัย โพธารามิก จะต้องทำประกันตนเองด้วย ซึ่งตนมองว่า การดึงบิดาของตนมาเกี่ยวข้องด้วยนั้น ไม่เป็นเรื่องที่สมควร ทำให้ บริษัทเลือกที่จะหาสถาบันการเงินที่อื่นแทน อย่างไรก็ตาม สำหรับธนาคารกรุงเทพกับบริษัท เป็นพันธมิตรทางการค้าที่ดีมาโดยตลอด ก็เข้าใจในขั้นตอนที่ธนาคารแจ้งมา

ประเด็นที่ 4 หลังจากที่ต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่ ทางธนาคาร ไอซีบีซี (ICBC) ของจีน ได้ยื่นข้อเสนอว่า หากบริษัทสามารถหาพันธมิตรในการร่วมลงทุนที่มาจากจีนได้ ก็จะออกแบงก์การันตีให้ ซึ่งในช่วงเวลานั้น บริษัทสามารถหาพันธมิตรได้แล้ว 4 ราย คือ เซอริโก ,ไชน่าเทเลคอม ,แชริ่งโมบาย และไชน่ายูนิคอม พร้อมด้วยธนาคารไอซีบีซี ได้ทำการระดมทุนจำนวน 30,000 ล้านบาท เพื่อร่วมถือหุ้น 49% แต่ด้วยขั้นตอนภายในของประเทศจีนต้องใช้ระบะเวลาพอสมควร สามารถอนุมัติได้ในช่วงกลางเดือนเม.ย.2559 ซึ่งไม่ทันกำหนดที่กสทช.วางกรอบไว้ในวันที่ 21 มี.ค.2559 ทำให้บริษัทไม่สามารถมาจ่ายเงินได้

และประเด็นที่ 5 ชี้แจงเรื่องการจ่สยเงินปันผลประจำปีและการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยว่า เป็นไปตามปกติของบริษัทที่มีผลกำไรและทำการปันผลให้ผู้ถือหุ้น ไม่ได้เป็นการเล่นเกมแต่อย่างใด ทั้งนี้ในการชี้แจงทุกประเด็นมีเอกสารหลักฐานยืนยันขั้นตอนดำเนินการทั้งสิ้น ซึ่งเสนอให้คณะทำงานพิจารณาแล้ว

"เหตุผลที่ผมเงียบมาโดยตลอด ไม่มีการออกมาชี้แจง หรือแจ้งใาที่กสทช. ก็เพราะว่า เป็นช่วงเวลาที่มีการดีลกับทางธนาคารและพันธมิตร ยังคุยกันไม่จบ ไม่สรุป ก็ไม่ต้องการบอกกสทช.ก่อน เพราะถ้าถึงวันการดีลกันได้ผลที่ไม่ใช่ กสทช.ประกาศไปก่อนว่าจะมาจ่าย กสทช.ก็จะเสียหน้าได้ ส่วนกระแสที่ว่าเป็นการกลั่นแกล้งกัน หรือกีดกันรายใหม่ในตลาดนั้น ผมเองก็ไม่รู้ แต่ก็อาจเป็ไปได้" พิชญ์ กล่าว

ขณะที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  ดีแทค ได้ชี้แจงว่า ตอนนี้ดีแทคอยู่ในสถานะผู้ถือครองคลื่นความถี่สำหรับให้บริการที่แข็งแกร่งมากถึง 50 เมกะเฮิร์ตซ โดยบริษัท มั่นใจเป็นอย่างยิ่งที่จะได้คลื่นตามแผนที่ต้องการในการประมูลคลื่นประมาณปี 2561 และจากกรณีที่ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลสเน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) มีความประสงค์จะจ่ายค่าใบอนุญาตตามราคาของแจสโมบายเพื่อครอบครองคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซนั้น ดีแทคยังไม่ได้รับการแจ้งเป็นทางการจาก กสทช. ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะนำไปพิจารณาในที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัท ก่อนที่จะแจ้งให้ทราบต่อไป

http://www.adslthailand.com/post/jas-เข้าชี้แจง-กสทช-กรณีทิ้งใบอนุญาตคลื่น-900-mhz-เผยตั้งใจจริง-ไม่ได้มาประมูลเล่นๆ

_________________________


ปรับครั้งใหญ่! “ไอ-โมบาย” ปั้นแบรนด์ OPEN จับค้าปลีกมาเจอกับ NON-MOBILE
Tue, 2016-04-05 09:15

2
ท่ามกลางการแข่งขันของตลาดสมาร์ทโฟนที่ทวีความดุเดือดขึ้นทุกวัน อีกทั้งฟากฝั่งของโอเปอเรเตอร์ก็หันมาจับตลาดทำสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ของตนเอง ทำให้ “ไอ-โมบาย” ที่เคยเติบโตมากับตลาดนี้จำเป็นต้องหาจุดยืนของตัวเองเสียใหม่เหมือนกัน ในช่วงที่ผ่านมานี้จึงไม่ค่อยได้เห็นความเคลื่อนไหวของไอ-โมบายมากเท่าที่ควร

แต่ในปีนี้ถือเป็นบิ๊กมูฟครั้งสำคัญของสามารถ ไอ-โมบายในการที่ก้าวเท้าออกจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว แต่รุกธุรกิจ Non-Mobile มากขึ้น เพื่อวางคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ให้เป็น Digital Living พร้อมทั้งได้แม่ทัพคนใหม่ที่เป็นเจ้าพ่อวงการค้าปลีก “จักรกฤช จารุจินดา” อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด ขึ้นแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สามารถ ไอ-โมบาย ที่ได้มานั่งเก้าอี้ 3 เดือนแล้ว



การบ้านชิ้นแรกที่จักรกฤชได้รับมอบหมายให้ทำก็คือการ “พลิกโฉม” ไอ-โมบาย เพื่อให้เป็นที่รับรู้ของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาแบรนด์ค่อนข้างเงียบ และมีภาพลักษณ์ที่เป็นสมาร์ทโฟนราคาถูก การพลิกเกมของจักรกฤชจึงเริ่มต้นจากงานถนัดก่อนเพื่อนเลยก็คือเรื่อง “ค้าปลีก” ขยายจากโทรศัพท์มือถือสู่สินค้าและบริการอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้เพิ่มขึ้น และให้แบรนด์ใกล้ชิดผู้บริโภค

จึงเปิดร้านค้าปลีกในชื่อ “Open Shop” ร้านไลฟ์สไตล์ที่รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ แกดเจ็ต และแตกแบรนด์ย่อยเป้นสินค้าและบริการอีก ได้แก่ O’Life ชุดกีฬา O’Fix ศูนย์ซ่อมมือถือทุกยี่ห้อ O’Pay รับชำระบิลค่าสินค้าและบริการ O’Money บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านบัตรเติมเงินมือถือ O’café ร้านกาแฟ และ O’Top Up ตู้เติมเงิน

ในช่วงแรกจะทยอยปรับเปลี่ยนจากชอปของไอ-โมบายที่มี 30 สาขา เป็น Open Shop ภายในสิ้นปีนี้ และจะขายแฟรนไชส์อีก 30 สาขา



“จริงๆ ธุรกิจนี้เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ท้าทาย โจทย์แรกที่ได้มาก็คือ ไอ-โมบายถึงเวลาในการปรับภาพลักษณ์แล้ว จึงเข้ามาพลิกโฉมให้ใหม่ เลยมองว่าค้าปลีกเป็นส่วนที่ง่ายที่สุด เพราะทำแล้วได้เงินเลย จึงเอามาเสริมให้ไอ-โมบาย ตอนนี้ถือว่าได้กำหนดทิศทางมาชัดเจนแล้ว เพียงแต่อาจจะอยู่ในการทดลองตลาด จะต้องมีการปรับเปลี่ยนระหว่างทางเรื่อยๆ ในอนาคตจะมีการรีแบรนด์ให้ไอ-โมบายด้วย เพื่อสลัดภาพของแบรนด์โทรศัพท์มือถืออย่างเดียว แต่อาจจะอีกสักพัก ต้องรอเวลาที่เหมาะสมก่อน” จักรกฤชกล่าวถึงความท้าทายในเก้าอี้ใหม่

ทำให้โครงสร้างของธุรกิจของสามารถ ไอ-โมบายเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เหลือเพียงแค่ 2 ธุรกิจหลักก็คือ โมบายล์ และนอน-โมบายล์ ซึ่งธุรกิจนอน-โมบายล์ได้รวมธุรกิจดิจิทัล คอมเมิร์ซ และร้าน Open Shop ล่าสุดได้เข้าไปซื้อธุรกิจ Phoinikas ทำธุรกิจดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เพื่อเสริมศักยภาพตรงนี้มากขึ้น จากเดิมที่บริษัทแบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจโมบายล์, มัลติมีเดีย และบริการเครือข่าย

สำหรับทิศทางของธุรกิจโมบายล์ หรือโทรศัพท์มือถือ จะมีการออกจำนวนรุ่นน้อยลง จากที่ 2 ปีก่อนมีการออกเฉลี่ยปีละ 47 รุ่น แต่ปีนี้จะออกเพียงแค่ 10 รุ่นเท่านั้น ในระดับราคาไม่เกิน 7,000 บาท วางจุดยืนให้อยู่ในระดับกลาง และใช้กลยุทธ์เจาะตลาดพิเศษเฉพาะกลุ่ม อย่างเช่น กลุ่มคนฟังเพลง กลุ่มคนดูหนัง จะไม่ได้จับกลุ่มแมสอีกต่อไป และจับกลุ่มเป้าหมายที่เด็กลงให้อยุ่อายุ 25 ปีขึ้นไป

รายได้ของสามารถ ไอ-โมบายในปี 2558 มีจำนวน 7,000 ล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้รวม 8,000 ล้านบาท เติบโต 10% แบ่งเป็นโมบายล์ 6,500 ล้านบาท และนอน-โมบายล์ 1,500 ล้านบาท หรือในสัดส่วน 80 : 20 ภายใน 3 ปีตั้งเป้าสัดส่วนรายได้เป็น 50 : 50 และจะต้องมีรายได้มากกว่า 15,000 ล้านบาท

http://www.positioningmag.com/content/62946

______________________________

“พิชญ์” นอนยันตั้งใจทำธุรกิจแต่หาแบงก์การันตีไม่ทัน

 “พิชญ์” นอนยันตั้งใจทำธุรกิจแต่หาแบงก์การันตีไม่ทัน

        “พิชญ์” เดินทางมาชี้แจงกรณีเบี้ยวจ่ายค่าประมูลคลื่น 900 MHz ด้วยตนเอง ยันตั้งใจเป็นโอเปอเรเตอร์รายที่ 4 สัญชาติไทย แต่ธนาคารกรุงเทพ ขอให้ “อดิศัย” เซ็นค้ำประกันส่วนตัวด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ จึงเดินหน้าหาพันธมิตรจีน แต่กระบวนการเซ็นสัญญาเสร็จกลางเดือน เม.ย.ไม่ทันจ่ายเงิน 21 มี.ค. น้อมรับชดใช้ค่าเสียหายตามที่คณะทำงานฯ ประเมิน มั่นใจไลเซนส์อื่นไม่ถูกยึด
ADVERTISING

inRead invented by Teads
     
       วันนี้ (5 เม.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น. นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เดินทางมาชี้แจงต่อคณะทำงานตรวจสอบความเสียหาย ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แต่งตั้งขึ้น กรณี บริษัทแจส โมบาย บรอดแบนด์ ไม่ชำระค่าประมูลคลื่น 900 MHz ที่ชนะการประมูลไป จำนวน 75,654 ล้านบาท โดยใช้เวลาในการชี้แจงต่อคณะทำงานฯ ประมาณ 1.30 ชั่วโมง ก่อนจะออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่มาเฝ้ารอทำข่าวอยู่จำนวนมากในเวลา 16.35 น.
     
       นายพิชญ์ กล่าวต่อสื่อมวลชนถึง 5 ประเด็นที่ชี้แจงต่อคณะทำงานฯ คือ ประเด็นแรก แจสได้ทำเต็มที่แล้ว แจสมั่นใจว่ามีศักยภาพในการทำธุรกิจ แจสตั้งใจมาทำธุรกิจตั้งแต่แรก ตั้งใจมาจริงๆ ไม่ได้มาเล่นๆ เพราะแจสต้องการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) รายที่ 4 ที่เป็นสัญชาติไทย โดยแจสมีเอกสาร และข้อมูลทุกอย่างที่จะส่งมาให้คณะทำงานฯ ภายหลังจากนี้ ประเด็นที่สอง คือ เหตุใดถึงไม่เข้าร่วมเคาะราคาประมูลเองในคลื่น 900 MHz ทั้งๆ ที่ตอนประมูลคลื่น 1800 MHz ตนเองเข้ามาร่วมเคาะราคาการประมูลเอง ประเด็นนี้ต้องตอบว่าเป็นเรื่องของกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยตนเองได้ให้กรอบวงเงินในการประมูลถึง 80,000 ล้านบาท เพราะทราบอยู่แล้วว่าคลื่นนี้ต้องมีราคาสูง ทำให้ทีมที่เข้าไปเคาะราคาเคาะในสล็อตเดียวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวงเงินที่ให้ไว้
     
       ประเด็นที่สาม การเจรจากับธนาคารกรุงเทพ แจสได้คุยจนใกล้เสร็จกระบวนการแล้วไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง แต่สุดท้ายธนาคารเพิ่งมาบอกในวินาทีสุดท้ายว่า ต้องมีการค้ำประกันส่วนตัวด้วย โดยต้องเป็นตนเอง และคุณพ่อของตน คือ นายอดิศัย โพธารามิก เซ็นค้ำประกันอีกคนหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ตนเองเห็นว่าไม่สมควรที่จะให้คุณพ่อมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะท่านอายุมากแล้ว ทำให้ประมาณวันที่ 20 ม.ค.ต้องหยุดการพูดคุยกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งตอนนั้นก็เหลือเวลาไม่ถึง 2 เดือน ที่ต้องชำระเงินค่าประมูลงวดแรกพร้อมหนังสือค้ำประกันทางการเงิน (แบงก์การันตี)
     
       ประเด็นที่สี่ การหาพันธมิตรต่างชาติ แจสก็ได้พยายามอย่างเต็มที่หลังจากที่ไม่สามารถเจรจากับธนาคารกรุงเทพได้ ช่วงเดือน ก.พ. ก่อนตรุษจีน ตนเองจึงได้เจรจากับโอเปอเรเตอร์หลายรายในประเทศจีนเพื่อให้พันธมิตรทางธุรกิจ โดยประสานผ่านธนาคารไอซีบีซี เพื่อประสานไปยังโอเปอเรเตอร์หลายราย เช่น ไชน่าเทเลคอม, แชริ่งโมบาย, ไชน่ายูนิคอม อีกทั้งยังมีแซททีอี เสนอพันธมิตรเข้ามาเพิ่มเติมอีก คือ Cerieco ซึ่งเป็นบริษัทหลานของบริษัท Sinomax ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศจีน สนใจลงทุน 10,000 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ตนองมีเอกสารชี้แจงครบถ้วน จนล่าสุด ธนาคารดังกล่าวก็ได้แนะนำบริษัทกองทุนรายหนึ่งซึ่งเขาขอไม่ให้เปิดเผยรายชื่อแต่ตนเองได้แจ้งรายชื่อให้ กสทช.ทราบแล้ว สนใจมาร่วมลงทุน 30,000 ล้านบาท โดยแจสจะถือหุ้น 49% แต่กระบวนการการทำสัญญาต่างๆ ไม่สามารถทำได้ทันตามกำหนดการจ่ายเงินคือ วันที่ 21 มี.ค. ซึ่งตนเองมีเอกสารชี้แจงว่า การทำเดินการทำสัญญาจะเสร็จสิ้นประมาณกลางเดือน เม.ย.
     
       และประเด็นที่ห้า คือ การซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผล แจสจะสามารถทำได้หรือไม่นั้น ต้องบอกว่า แจสสามารถทำได้เพราะเป็นเรื่องของผลประกอบการบริษัท และตนเองเชื่อว่าธุรกิจ 4G จะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นแจสในระยะยาว ดังนั้น การชี้แจงต่อคณะทำงานจึงเป็นเรื่องตรงไปตรงมา ไม่มีอะไรพิสดาร ทุกอย่างทำอยู่บนพื้นฐานการทำงานเพื่อผู้ถือหุ้น จากนี้ตนเองก็คงต้องรุกธุรกิจบรอดแบนด์ต่อไป และมั่นใจว่า ใบอนุญาตต่างๆ ที่ได้รับจาก กสทช.ไม่เกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้ เพราะบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตไม่ได้ทำอะไรผิด หลายคนก็บอกว่าไม่เกี่ยวข้องกัน ตนเองจึงไม่ห่วงเรื่องนี้ ส่วนค่าเสียหายก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะทำงานฯว่า จะเรียกร้องจำนวนเท่าไหร่
     
       “ถามว่าทำไมเราไม่บอก กสทช.ว่าเราจะไม่จ่าย เพราะเราไม่รู้ว่าดีลมันจะจบหรือเปล่า เรามั่นใจว่าจะจบ เราเลยไม่บอก กสทช. กลัวว่าบอกแล้วถ้า กสทช.จะเสียหน้า แต่สุดท้ายมันก็ไม่ทัน เราก็ลุ้นจนนาทีสุดท้าย และ กสทช.ก็ตั้งคณะทำงานฯ ขึ้นมาเร็วมาก ซึ่งเราก็เตรียมแถลงข่าวในวันรุ่งขึ้น แต่ตลาดขึ้นตัว เอช ในช่วงเช้า และเอสพี ในช่วงบ่าย เราก็ไม่อยากออฟไซต์ กสทช.”

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000035095

_______________________________________


แจ๊ส ยัน มีศักยภาพในการประมูลคลื่น แจง มีราคาในใจ เตรียมไว้ 8 หมื่นล.



แจ๊ส โมบาย ยัน มีศักยภาพเข้ามาประมูล ไม่ได้มาเล่นๆ เผย ยังอยู่ในวงการคมนาคมต่อ ไม่ขอตอบเรื่องมือถือ พร้อมแจงไม่มีการปั่นราคา ระบุมีราคาในใจ เตรียมไว้ 8 หมื่นล้าน...

เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2559 นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ กล่าวว่า ยืนยันว่าแจ๊สทำเต็มที่ และมีศักยภาพตั้งใจเข้ามาประมูลจริง ไม่ได้มาเล่นๆ หรือเป็นนอมินีใคร

นายพิชญ์ กล่าวด้วยว่า หากต้องการเป็นโอเปอเรเตอร์รายที่ 4 สัญชาติไทย ก็ได้มีการคุยกับธนาคารกรุงเทพ เพราะเป็นพันธมิตรกัน แต่แบงก์ให้เอาพ่อมาค้ำประกัน โดยส่วนตัวมองว่าพ่ออายุมากแล้ว และมองว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้ไม่สามารถตกลงกับแบงก์ได้ จึงเดินหน้าหาพันธมิตรใหม่ทางจีนแต่เวลาไม่ทัน ส่วนค่าเสียหายต้องรอคณะทำงานสรุป

ทั้งนี้ การอยู่ในวงการโทรคมนาคม แจ๊ส จะยังอยู่ต่อ แต่เรื่องของมือถือยังตอบไม่ได้ ส่วนเรื่องปั่นราคา ขอชี้แจงว่าทุกคนมีราคาในใจ ไม่ใช่การปั่นราคา และเตรียมไว้ 8 หมื่นล้านบาท.

http://www.thairath.co.th/content/601653

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.