Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2559 AIS ขู่ฟ้องโฆษณาซิมดับ ระบุ ไม่ว่าค่ายใด การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องด้วยการโฆษณาย่อมไม่ถูกต้อง เราทำธุรกิจมา 20 กว่าปีไม่เคยทำโฆษณาที่เป็นการเปรียบเทียบเรากับใคร เพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจเองโดยอิสระ

ประเด็นหลัก




ขู่ฟ้องโฆษณาซิมดับ

"ปรัธนา ลีลพนัง" รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า จากคำสั่งของ คสช.ยืดเวลาซิมดับทำให้ไม่ว่าผู้บริโภคจะใช้บริการค่ายมือถือรายใดก็จะไม่มี ปรากฏการณ์ซิมดับ ดังนั้นหากมีโฆษณาของผู้ให้บริการรายอื่นระบุว่า ลูกค้าที่ใช้ 2G คลื่น 900 MHz ต้องซิมดับออกอากาศอีก บริษัทอาจฟ้องร้อง แม้ในโฆษณาไม่ได้ระบุชื่อว่าซิมค่ายใดจะดับ

"ไม่ว่าค่ายใด การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องด้วยการโฆษณาย่อมไม่ถูกต้อง เราทำธุรกิจมา 20 กว่าปีไม่เคยทำโฆษณาที่เป็นการเปรียบเทียบเรากับใคร เพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจเองโดยอิสระ"


"ซีอีโอ" เอไอเอสทิ้งท้ายว่า การแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม ไม่ว่าวันนี้หรือในอนาคตจะยังแข่งขันกันโดยตลอดอย่างไม่มีทางลดลง แต่การเปิดศึกช่วงชิงลูกค้าของคู่แข่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะช่วง เวลา








_____________________________




ปลดล็อกศึกชิงคลื่น 900 คสช.จัดให้ ′เอไอเอส′ ปรับแผนสู้รอบใหม่


อลหม่านกันมาพักใหญ่เกี่ยวกับเรื่องซิมดับ และการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ อันมีผลมาจากกรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด เคาะราคาสู้จนได้ชัยชนะมาในราคา 75,654 ล้านบาท แต่ไม่มาจ่ายเงินทำเอาสมรภูมิธุรกิจมือถือปั่นป่วนไปทั่ว ไม่ใช่แค่ "กสทช." ต้องหาทางออกให้เป็นที่พอใจทุกฝ่าย

แต่ยังเกี่ยวพันถึงผู้ใช้ บริการ 2G ของ "เอไอเอส" อีกหลายล้านราย จนเป็นเหตุให้ ต้องหันไปพึ่งศาลปกครองขอขยายเวลาเยียวยาไม่ให้ลูกค้าซิมดับ ซึ่งก็ได้ยืดอายุมาแล้วรอบหนึ่ง ถึงวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา

เดิมที "กสทช." เคาะวันประมูลรอบใหม่มาแล้วในเดือน มิ.ย.นี้ พร้อมทั้งตัดสิทธิ์กลุ่มทรูเข้าประมูลด้วย และในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง "เอไอเอส" ยื่นข้อเสนอถึง "กสทช." แสดงความประสงค์ที่จะจ่ายเงินค่าใช้คลื่นเท่ากับราคาที่ "แจส" ประมูลได้ไปทำให้มีคำถามตามมามากมายว่า อะไรอยู่เบื้องหลังการตัดสินใจครั้งนี้ ทั้งที่เคยยืนยันแข็งขันหลังสิ้นสุดการประมูลรอบที่แล้วว่าไม่ประมูลต่อ เพราะพิจารณามูลค่าคลื่นมาแล้วอย่างรอบคอบทำให้บริษัทยังมีสถานะการเงินที่ แข็งแกร่ง

ความอลหม่านยุติทันทีจากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ ที่ 16/2559 เรื่องการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม เมื่อ 12 เม.ย. 2559 ที่นอกจากให้ "กสทช." จัดประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่วันที่ 27 พ.ค.นี้ แล้วยังขยายเวลาเยียวยาลูกค้าที่ยังใช้ 2G คลื่น 900 MHz ออกไปถึง 30 มิ.ย. 2559 หรือจนกว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่ได้ แล้วแต่อย่างใดจะถึงกำหนดก่อน

นอกจากขยายเวลาใบอนุญาตใช้คลื่น 900 MHz ในส่วนที่บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด (TUC) ชนะประมูลได้รับใบอนุญาตไปก่อนให้สิ้นสุดลงพร้อมใบอนุญาตที่จะประมูลใหม่ แล้วยังไม่ตัดสิทธิ์กลุ่มทรูด้วยเรียกว่า คลี่คลายปัญหาได้ทุกเปลาะ

กฎเหล็กประมูลรอบใหม่

การประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่จึงเปิดโอกาสให้ทุกบริษัท ยกเว้น แจส ราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท (10 MHz)ระยะเวลา 15 ปี ประกาศเชิญชวน 12 เม.ย.-17 พ.ค.นี้ และเปิดให้ยื่นซองเอกสารวันที่ 18 พ.ค. พร้อมเงินค่าธรรมเนียมพิจารณาคำขอรับใบอนุญาต 5 แสนบาท เงินวางประกันการประมูลในรูปแบบเช็คธนาคาร หรือแบงก์การันตีมูลค่า 3,783 ล้านบาท โดยจะประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลวันที่ 23 พ.ค. 2559

เงื่อนไขการประมูลที่สำคัญคือ หากมีผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลเพียง 1 ราย ก็ดำเนินการประมูลต่อได้ แต่ถ้าไม่มีผู้ใดเข้าให้คณะกรรมการยกเลิกการประมูล และกำหนดประมูลรอบใหม่ตามความเหมาะสม

การเคาะเสนอราคา รอบแรกจะอยู่ที่ 75,654 ล้านบาท โดยผู้เข้าประมูลทุกรายต้องเคาะรับราคานี้ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ไม่เสนอราคา (Wavier) ได้ มิฉะนั้นจะโดนตัดสิทธิ์ออกจากการประมูล และ "กสทช." สงวนสิทธิ์ในการริบเงินประกัน ส่วนการเสนอราคารอบถัดไปจะอยู่ที่ 152 ล้านบาท/รอบ

งวดการจ่ายเงินยังเหมือนเดิมแบ่งเป็น 4 งวด งวดแรก 8,040 ล้านบาท พร้อมแบงก์การันตีส่วนที่เหลือใน 90 วัน หลังได้รับการรับรองผลการประมูล ปีที่ 2 และปีที่ 3 อีก 4,020 ล้านบาท พร้อมแบงก์การันตีส่วนที่ยังไม่ได้ชำระ และชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดในปีที่ 4

หากไม่มาชำระเงินงวดแรกใน 90 วัน ให้ "กสทช." เรียกผู้เสนอราคาลำดับที่ 2เป็นผู้ชนะแทน ส่วนผู้ชนะไม่ชำระเงินภายในกำหนดจะโดนริบเงินวางประกันซอง 3,783 ล้านบาท และชำระค่าเสียหายเบื้องต้นอีกไม่น้อยกว่า 11,348 ล้านบาทด้วย

ประสบการณ์จาก "แจส" ทำให้หนนี้ ใครเบี้ยวไม่มาจ่ายเงินโดนหนัก (มาก) พลัน ที่คำสั่ง "คสช." ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซีอีโอ "เอไอเอส" ไม่รอช้าแถลงข่าวขอบคุณ "คสช." ที่ต่อเวลาเยียวยาลูกค้า 2G ออกไปถึงเดือน มิ.ย.

แผนพิเศษของ "เอไอเอส"

โดย "สมชัย เลิศสุทธิวงค์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวในการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการขยายเวลาซิมดับ ทำให้ลูกค้า 2G เอไอเอสซิมไม่ดับ เบอร์ไม่หาย และไม่ต้องย้ายค่าย

พร้อมพูดถึงการยื่นข้อเสนอใช้คลื่น ในราคา 75,654 ล้านบาทว่า เพราะ กสทช.ยืนยันว่าจะไม่มีคลื่นที่ราคาต่ำกว่านี้อีกแล้ว

"การ ประมูลครั้งที่แล้วเกิดเหตุมหัศจรรย์มาก คลื่นราคาขึ้นสูงจนเราคาดไม่ถึง ซึ่งการจะเข้าประมูลได้ต้องให้บอร์ดอนุมัติลิมิตราคา เมื่อเกิน Bid Limit แม้จะอยากได้แค่ไหนก็ต้องหยุด ขอยืนยันว่าการเคาะราคาในการประมูลครั้งที่แล้ว ไม่ใช่ความผิดพลาด เราดูราคาที่เหมาะสมไว้แล้ว แต่ ณ เวลานี้ บริบทเปลี่ยน เมื่อ กสทช.ยืนยันว่าจะไม่มีคลื่นที่ราคาต่ำกว่านี้ได้อีกแล้ว เราจึงตัดสินใจยื่นข้อเสนอไปที่ กสทช."

"สมชัย" ระบุว่า ข้อเสนอดังกล่าวถือเป็น "แผนพิเศษ" เช่นกันกับแผนดูแลลูกค้าที่ประกาศอย่างฉับพลัน ตั้งแต่ 25 ธ.ค. 2558 เริ่มด้วยการแจกมือถือ 3G ให้ลูกค้า แต่จะแจกเครื่องให้ได้ครบทั้ง 12.9 ล้านรายภายในไม่กี่เดือนไม่มีทางทันแน่ จึงเตรียมแผน 2 เจรจาโรมมิ่งเครือข่ายกับ "ดีแทค" พร้อมเดินหน้าแผน 3 ลงทุนกว่าหมื่นล้านบาทขยายโครงข่ายเพื่อปิดจุดบอดโครงข่าย 3G ในบริเวณที่เดิมไปไม่ถึง

"ที่เรายื่นข้อเสนอยังไม่ได้ผ่านบอร์ด และผู้ถือหุ้นเป็นทางการ เป็นการแสดงความจำนงว่าเราสนใจ และพูดชัดเจนว่าต้องการให้ขยายเวลาเยียวยาลูกค้า 2G ให้ แต่ก็เข้าใจว่าทำให้คนงงว่าทำไมจะมาเอาคลื่นตอนนี้ ต้องบอกว่าวันนั้นกับวันนี้เหตุการณ์เปลี่ยนไปมาก"

สำหรับการประมูลรอบใหม่ ตนยังไม่สามารถให้คำยืนยันใด ๆ ได้ เพราะต้องให้บอร์ดอนุมัติด้วย

"ยังไม่กล้าพูดว่าจะเข้าแน่ และในฐานะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีทางจะทุ่มไม่อั้นเคาะราคาจนหน้ามืด เพื่อเอาคลื่นมาให้ได้แน่ ๆ แต่ถ้าเข้าประมูลก็ต้องปรับแผนธุรกิจกันใหม่ และที่ กสทช.บอกว่า ภายใต้คำสั่ง คสช.จะมีการลงนามในบันทึกความตกลงร่วมกันระหว่างเอไอเอสกับทรูนั้นยังไม่ได้ มีการดำเนินการใด ๆ เป็นเพียงการหารือกันในหลักการที่ย้ำว่าทั้ง 2 ฝ่ายต้องแข่งขันอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม"

ความสำคัญคลื่น 900 MHz

ซี อีโอ "เอไอเอส" กล่าวต่อว่า "หากได้คลื่นวันนี้ ก็ไม่ต้องรอถึงปี 2561 ที่จะมีคลื่น 1800 MHzในสัมปทานดีแทคที่ต้องนำออก มาประมูลใหม่ คลื่น 900 MHz มีความสำคัญเรื่องความครอบคลุมของโครงข่าย แต่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่คลื่น 1800 MHz และ 2100 MHz"

"เวลา นี้คลื่น 900 เรายังไม่ได้มาก็มีแผนระยะสั้นดูแลลูกค้า ในระยะยาวถ้าได้มาก็เป็นทรัพย์สินที่สร้างรายได้เพิ่ม วันหนึ่งก็ต้องหยุดบริการ 2G ในอนาคต 3G จะเป็นบริการพื้นฐานแทน ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องลงทุนโครงข่าย 3G เพียงแต่จะลงช้าหรือเร็วเท่านั้น หากได้ 900 MHz มาก็อาจไม่ต้องรีบลง 3G วันนี้เลย ส่วน 2G จะอยู่อีกกี่ปีคาดได้ยาก แล้วแต่พฤติกรรมลูกค้า การได้เปรียบเสียเปรียบในธุรกิจนี้ไม่ได้อยู่ที่คลื่นความถี่อย่างเดียว แต่อยู่ที่เงินลงทุน และการดูแลลูกค้าให้ตอบโจทย์ด้วย"

เร่งโอนลูกค้า-ชะลอโรมมิ่ง

แม้ คำสั่ง คสช.จะยืดเวลาซิมดับลูกค้า 2G คลื่น 900 MHz แต่ "เอไอเอส" ยังเดินหน้ากระตุ้นให้ลูกค้าโอนย้ายมาใช้ 3G หรือ 4G ผ่านแคมเปญแจกเครื่องซึ่งตั้งงบประมาณไว้ที่ 8,000 ล้านบาท ที่ผ่านมาใช้เงินไปแล้ว 2,500 ล้านบาท รวมค่าเครื่องและค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งบริษัทจะพยายามให้มีการโอนย้ายมากที่สุด

"เราเซ็นสัญญากับดี แทคมานานแล้วเรื่องการโรมมิ่งเครือข่าย เป็นการเตรียมความพร้อมให้สามารถใช้ได้ทันที หากมีกรณีซิมดับ โดยคุยกับดีแทคชัดเจนว่าถ้าจำเป็นถึงจะไปโรมมิ่ง แต่ถ้ายังไม่จำเป็นก็จะไม่ต้องใช้"

นอกจากนี้ จะเช่าโครงข่าย บมจ.ทีโอทีต่อหลังได้เซ็นเอ็มโอยูเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบายแล้ว ซึ่งตามเอ็มโอยูต้องลงนามในสัญญาภายใน 30 วัน

"รอทีโอทีอย่างเดียว ทีโอทีควรทำสัญญาเร็ว ๆ เพื่อให้มีรายได้เร็ว ๆ ดีลนี้เป็นประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ" ซีอีโอเอไอเอสย้ำ

ขู่ฟ้องโฆษณาซิมดับ

"ปรัธนา ลีลพนัง" รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า จากคำสั่งของ คสช.ยืดเวลาซิมดับทำให้ไม่ว่าผู้บริโภคจะใช้บริการค่ายมือถือรายใดก็จะไม่มี ปรากฏการณ์ซิมดับ ดังนั้นหากมีโฆษณาของผู้ให้บริการรายอื่นระบุว่า ลูกค้าที่ใช้ 2G คลื่น 900 MHz ต้องซิมดับออกอากาศอีก บริษัทอาจฟ้องร้อง แม้ในโฆษณาไม่ได้ระบุชื่อว่าซิมค่ายใดจะดับ

"ไม่ว่าค่ายใด การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องด้วยการโฆษณาย่อมไม่ถูกต้อง เราทำธุรกิจมา 20 กว่าปีไม่เคยทำโฆษณาที่เป็นการเปรียบเทียบเรากับใคร เพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจเองโดยอิสระ"

"ซีอีโอ" เอไอเอสทิ้งท้ายว่า การแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม ไม่ว่าวันนี้หรือในอนาคตจะยังแข่งขันกันโดยตลอดอย่างไม่มีทางลดลง แต่การเปิดศึกช่วงชิงลูกค้าของคู่แข่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะช่วง เวลา

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461216226

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.