Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2559 @NBTCnew เอดับบลิวเอ็น ตกลงใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ โรมมิ่ง บนคลื่น 900MHz บนคลื่นย่านความถี่ 905-915 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ 950-960 เมกะเฮิรตซ์ ของ Truemove H ยูนิเวอร์แซล ภายใน 15 วัน

ประเด็นหลัก



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำสัญญาข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น กับบริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด นั้น ได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีการเซ็นสัญญาร่วมกันแล้ว เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท ไม่สามารถตกลงในเงื่อนไขบางประการได้

ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงในวงการโทรคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมของคณะกรรมการบริหารของเอไอเอส ที่ผ่านมา ระบุว่า ไม่สามารถอนุมัติให้ผู้บริหารของเอไอเอสไปเซ็นข้อตกลงดังกล่าวได้ เพราะไม่สามารถหาเหตุผลตอบกับผู้ถือหุ้นได้ จะมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น อาจทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์

โดยกรณีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2559 ที่ผ่านมา ร่างเอ็มโอยู ถูกเปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดีย @NBTCnews โดยเนื้อหาระบุไว้ 2 ข้อ คือ ข้อแรกทั้ง 2 ฝ่ายยินยอมให้กสทช.เป็นผู้ตรวจสอบการโอนย้ายผู้ใช้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอส ไปยังกลุ่มบริษัท ทรู โดยสำนักงาน กสทช.จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาและตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว


ข้อ 2.เอดับบลิวเอ็น ตกลงใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ โรมมิ่ง บนคลื่น 900MHz บนคลื่นย่านความถี่ 905-915 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ 950-960 เมกะเฮิรตซ์ ของ ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอสในบางส่วนตามความเหมาะสม จนกว่าระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการตามมาตรการเยียวยาจะสิ้นสุดลง ทั้งนี้ให้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายเจรจาร่วมกันให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 15 วัน โดยมี รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลการเจรจาในเรื่องนี้ และรายงานต่อเลขาธิการ กสทช.ทราบเป็นระยะ













__________________________________







MOUเอไอเอส-ทรูล่ม ฐากรรับสภาพ2ค่ายตกลงกันไม่ได้


กสทช.เผย เอ็มโอยูเยียวยา เอไอเอส-ทรูฯ ไม่เกิด เผยตกลงเงื่อนไขกันไม่ได้ ลือด้านเอไอเอส หวั่นกระทบหุ้น

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการทำสัญญาข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น กับบริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด นั้น ได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีการเซ็นสัญญาร่วมกันแล้ว เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท ไม่สามารถตกลงในเงื่อนไขบางประการได้

ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงในวงการโทรคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมของคณะกรรมการบริหารของเอไอเอส ที่ผ่านมา ระบุว่า ไม่สามารถอนุมัติให้ผู้บริหารของเอไอเอสไปเซ็นข้อตกลงดังกล่าวได้ เพราะไม่สามารถหาเหตุผลตอบกับผู้ถือหุ้นได้ จะมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น อาจทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์

โดยกรณีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2559 ที่ผ่านมา ร่างเอ็มโอยู ถูกเปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดีย @NBTCnews โดยเนื้อหาระบุไว้ 2 ข้อ คือ ข้อแรกทั้ง 2 ฝ่ายยินยอมให้กสทช.เป็นผู้ตรวจสอบการโอนย้ายผู้ใช้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอส ไปยังกลุ่มบริษัท ทรู โดยสำนักงาน กสทช.จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาและตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว

ข้อ 2.เอดับบลิวเอ็น ตกลงใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ โรมมิ่ง บนคลื่น 900MHz บนคลื่นย่านความถี่ 905-915 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ 950-960 เมกะเฮิรตซ์ ของ ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการของกลุ่มบริษัทเอไอเอสในบางส่วนตามความเหมาะสม จนกว่าระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการตามมาตรการเยียวยาจะสิ้นสุดลง ทั้งนี้ให้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายเจรจาร่วมกันให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 15 วัน โดยมี รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลการเจรจาในเรื่องนี้ และรายงานต่อเลขาธิการ กสทช.ทราบเป็นระยะ

ต่อมาในวันที่ 25 เม.ย.2559 นายฐากร จึงออกมาแถลงข่าว โดยได้กล่าวปฏิเสธข้อกล่าวหา แต่ก็ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเนื้อหาเอ็มโอยูที่ปรับปรุงใหม่ได้ และยกให้เป็นหน้าที่ของทาง เอไอเอส เป็นผู้ชี้แจงเองขณะที่ สมชัย ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่า ปัจจุบันเอไอเอสได้มีแผนการดูแลลูกค้า 2G ของบริษัทอยู่แล้ว โดยได้โรมมิ่งกับบริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ซึ่งจะสามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 8 ล้านราย ในส่วนของลูกค้าที่ยังเหลืออยู่ราว 4 แสนรายนั้น ก็ได้มีคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ให้มีการใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2559 ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็จะได้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบใหม่อยู่แล้ว.

http://www.thaipost.net/?q=mouเอไอเอส-ทรูล่ม-ฐากรรับสภาพ2ค่ายตกลงกันไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.