Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2559 TOT ระบุ เตรียมปรับกลยุทธ์ บรอดแบนด์ เพื่อรักษาฐานลูกค้า เริ่มจากอัพสปีดให้ลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ให้ได้ในระดับใกล้เคียงคู่แข่ง รวมถึงหาคอนเทนต์มาเสริม

ประเด็นหลัก


ด้านนายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เริ่มเห็นสัญญาณการทำสงครามราคาในตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์อีกครั้ง หลังมีผู้เล่นรายใหม่ "เอไอเอส ไฟเบอร์" เริ่มทำแพ็กเกจราคาจูงใจลูกค้า ขณะที่รายเก่าทริปเปิลทรี บรอดแบนด์ หรือ 3BB เพิ่มความเร็วให้ลูกค้าแต่คงอัตรารายเดือนเท่าเดิม ทำให้เร็ว ๆ นี้ ทีโอทีเตรียมปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาฐานลูกค้า เริ่มจากอัพสปีดให้ลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ให้ได้ในระดับใกล้เคียงคู่แข่ง รวมถึงหาคอนเทนต์มาเสริม


________________________________



ศึกบรอดแบนด์ถล่มราคาชิงลูกค้า 3BB คืนสังเวียนจุดพลุ VDSL-AISFibre ปรับแผนสู้



สงครามบรอดแบนด์ปะทุ "3BB" คืนสังเวียนเปิดศึก VDSL อัพสปีดเพิ่มเท่าตัวคิดราคาเดิม "590 บาท/20 Mb-790 บาท/50 Mb" จุดพลุแข่งเดือด "เอไอเอสไฟเบอร์" ดัมพ์ราคาสู้ พร้อมปรับแผนลงทุนใหม่เพิ่มงบฯเป็น 10,000 ล้านบาท ปูพรมเครือข่าย 24 จังหวัดขยับฐานลูกค้าเพิ่มจาก 75,000 ราย เป็น 400,000 ราย ในสิ้นปี "ทีโอที" ดิ้นรักษาลูกค้า "ทรูออนไลน์" ย้ำคอนเวอร์เจนซ์รักษาเก้าอี้ผู้นำ


นายศรัณย์ ผโลประการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์กลับมาแข่งขันดุเดือดขึ้น หลัง 3BB ปรับกลยุทธ์หันมาบุกตลาด ADSL อีกครั้งด้วยการอัพเกรดเทคโนโลยีเป็น VDSL พร้อมปรับเพิ่มความเร็วเท่าตัวแต่คงราคาเดิม เช่น แพ็กเกจรายเดือน 590 บาท ความเร็ว 10 Mbps เป็น 20 Mbps เป็นต้น ทำให้บริษัทต้องปรับราคาลงเพื่อไม่ให้ราคาห่างจากคู่แข่งมากเกินไปแม้ไฟเบอร์ออปติกจะคุณภาพดีกว่าสายโทรศัพท์โดยแพ็กเกจความเร็ว50 Mbps เดิมราคา 1,880 บาท เหลือ 999 บาท ถ้าเป็นลูกค้าเอไอเอสจะลดอีก 10% เหลือ 799 บาท

AIS Fibre ดัมพ์ราคาสู้

"ก่อนหน้านี้ตลาดค่อนข้างซึม ๆ ส่วนหนึ่งเพราะอยู่ดี ๆ โมบายอินเทอร์เน็ตสปีดพุ่งพรวดขึ้นมา เป็น 4G เร็วกว่าเน็ตบ้าน แต่ตอนนี้ความสนใจใน 4G ลดลง รวมเข้ากับการกลับมาเขย่าตลาดของ 3BB ทำให้ตลาดคึกคักขึ้น แต่เทคโนโลยี VDSL แม้มีจุดเด่นเรื่องการติดตั้งได้เร็วกว่าไฟเบอร์เข้าถึงได้ทุกบ้าน แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพ ความเร็วจะแปรผันตามระยะทาง ถ้าจะให้ได้สปีดที่ 50 Mbps ระยะห่างจากบ้านถึงตู้โหนดต้องไม่เกิน 500 เมตร"

สำหรับเอไอเอส ไฟเบอร์ ปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 75,000 ราย คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.จะผ่านหลักแสนรายไปได้ ขณะที่เป้าปีนี้อยู่ที่ 400,000 ราย มั่นใจว่าเป็นไปได้เพราะกำลังเร่งขยายพื้นที่การให้บริการให้ทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดโดยเร็วที่สุด ถือเป็นการปรับแผนการลงทุนใหม่จากเดิมที่เน้นขยายพื้นที่บริการเป็นจุด ๆ พบว่าทำตลาดได้ยากจึงเพิ่มงบประมาณเป็น 10,000 ล้านบาท และปรับรูปแบบการลงทุนหันมาปูพรมขยายพื้นที่การใช้งานให้ครอบคลุม 24 จังหวัด ทำให้การบุกตลาดดีขึ้น

การปรับลดราคาในแพ็กเกจที่ความเร็ว 50 Mbps ลงมาเกือบครึ่ง ก็เพื่อให้มีราคาใกล้เคียงคู่แข่ง แม้โดยเทคโนโลยีจะดีกว่าซึ่งลูกค้าตอบรับดีขึ้นกว่าเดิม เพราะคุ้มค่าขึ้น โดยเฉพาะตลาดบน ที่ยินดีจ่าย 700 กว่าบาทต่อเดือนอยู่แล้ว เมื่อได้ความเร็วถึง 50 Mbps ยิ่งคุ้มค่า ส่วนตลาดแมสจะเลือก 590 บาทเป็นหลัก

"การเปลี่ยนจาก ADSL มาใช้ไฟเบอร์ออปติกเท่ากับจ่ายเท่าเดิม แต่ได้สายไฟเบอร์ที่คุณภาพดีกว่า ถ้าเป็นลูกค้าเอไอเอสด้วยจะได้ส่วนลดเพิ่มอีก 10% เหลือ 531 บาท"

ทีโอทีขยับรักษาฐานลูกค้า

ด้านนายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เริ่มเห็นสัญญาณการทำสงครามราคาในตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์อีกครั้ง หลังมีผู้เล่นรายใหม่ "เอไอเอส ไฟเบอร์" เริ่มทำแพ็กเกจราคาจูงใจลูกค้า ขณะที่รายเก่าทริปเปิลทรี บรอดแบนด์ หรือ 3BB เพิ่มความเร็วให้ลูกค้าแต่คงอัตรารายเดือนเท่าเดิม ทำให้เร็ว ๆ นี้ ทีโอทีเตรียมปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาฐานลูกค้า เริ่มจากอัพสปีดให้ลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ให้ได้ในระดับใกล้เคียงคู่แข่ง รวมถึงหาคอนเทนต์มาเสริม

นอกเหนือจากแพ็กเกจปัจจุบันที่มีโปรโมชั่น New inspire ความเร็ว 20 Mbps ค่าบริการ 750 บาท/เดือน แถมกล่อง TOT iptv และชมแพ็กเกจ Free Choice ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าติดตั้ง หรือเลือกความเร็ว 20 Mbps ค่าบริการ 700 บาท

ปัจจุบันมีลูกค้าทั้ง ADSL และ Fiber รวมกัน 1,400,000 ราย ปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มให้ได้อีกราว 200,000 ราย ซึ่งปีที่ผ่านมามีการปรับฐานลูกค้าโดยโยกลูกค้าบรอดแบนด์ ADSL ให้ย้ายมาใช้ FTTX มากขึ้น จึงเห็นลูกค้า ADSL ของทีโอทีไหลออกบางส่วน แต่ยอด FTTX เพิ่มขึ้นชดเชยกัน โดยปีที่ผ่านมา ทีโอทีมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 30%

นายรังสรรค์กล่าวด้วยว่า งบประมาณการตลาดเฉพาะทีโอทีบรอดแบนด์ปีนี้อยู่ที่ 140 ล้านบาท ลดจากปีผ่านมาที่อยู่ที่ 200-300 ล้านบาท เนื่องจากอยู่ระหว่างปรับปรุงองค์กร โดยการทำตลาดจากนี้จะทำคู่กันทั้งการปูพรมแบบ Mass และไดเร็กต์เซลส์ในพื้นที่ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายตามชุมชน และต่อยอดจากฐานลูกค้าบริการอื่น ๆ รวมถึงปรับปรุงคุณภาพบริการให้ดีขึ้น

"เราต้องแข่งกับผู้ให้บริการโมบายบรอดแบนด์ที่ขณะนี้กำลังปูพรม 4G ด้วย ที่ผ่านมาเข้ามาแย่งตลาดไปเยอะ จากจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 120 ล้านเลขหมาย มากกว่าประชากรแล้ว ในจำนวนนี้ 30% ใช้สมาร์ทโฟน แต่ยังมีจุดอ่อนเรื่องค่าบริการที่แพง และมีข้อจำกัดในการดาวน์โหลด จึงยังมีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้ฟิกซ์บรอดแบนด์อีกมาก ทั้งทีโอทียังรับผิดชอบโครงการยกระดับบรอดแบนด์ของรัฐบาลที่จะปูพรมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปถึงทุกหมู่บ้านด้วยจึงน่าจะต่อยอดบริการใหม่ๆ ของทีโอทีได้"




"ทรู" ย้ำคอนเวอร์เจนซ์ยึดแชมป์

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช หัวหน้าสายงานการพาณิชย์และพัฒนาธุรกิจ ทรูออนไลน์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การแข่งขันในตลาดบรอดแบนด์ปีนี้คงจะมีต่อเนื่องทั้งปี หลังรัฐบาลเดินหน้านโยบายดิจิทัลอีโคโนมี ทำให้หน่วยงานรัฐและเอกชนลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพบริการ ประกอบกับผู้บริโภคมีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยการแข่งขันแบ่งเป็น 2 แบบ คือ สร้างบริการเสริมเพื่อยกระดับการใช้งาน และพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มความเร็วในราคาเท่าเดิม

"ครึ่งแรกของปีคงเห็นแล้วว่า ใครทำอะไรบ้าง เช่น รายใหม่ปรับราคาลงเพื่อเพิ่มผู้ใช้งาน หรืออัพ สปีดไฟเบอร์ ออปติกถึง 100 Mbps ราคาเท่าเดิม ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทรูจะทำ เราเน้นกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ทำให้แพ็กเกจบรอดแบนด์ที่รวม 3 บริการ คือ ไฟเบอร์ออปติกความเร็ว 30/3 Mbps, ทรูวิชั่นส์ และทรูมูฟ เอช ราคาเริ่มต้น 799 บาท มียอดผู้ใช้เติบโตรวดเร็ว และปีนี้จะเร่งขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกให้ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงในระดับอำเภอในกว่า 70 จังหวัด"

แพ็กเกจไฟเบอร์ออปติกของทรู ใช้ชื่อว่า "ทรู ซูเปอร์สปีด ไฟเบอร์" มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ใช้ 1 บริการ เริ่มต้น 599 บาท ได้อินเทอร์เน็ตความเร็ว 15/1.5 Mbps และ 2 บริการ ระหว่างทรูวิชั่นส์กับโทรศัพท์บ้าน ราคาเริ่มต้น 699 บาท ความเร็ว 18/1.8 Mbps และ 3 บริการ ประกอบด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็ว 30/3 Mbps, ทรูวิชั่นส์ 95 ช่อง และทรูมูฟ เอช แพ็กเกจ 199 บาท ราคาเริ่มต้น 799 บาท เป็นต้น

จากการเร่งลงทุนโครงข่ายมูลค่า 33,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2557 เพื่อให้ครอบคลุม 10 ล้านครัวเรือนในปี 2559 จากปีที่แล้วครอบคลุม 6 ล้านครัวเรือน และการทำตลาดในรูปแบบคอนเวอร์เจนซ์ รวมถึงการมีแคมเปญยกระดับผู้ใช้บรอดแบนด์ "เอดีเอสแอล" ในปีที่ผ่านมา ทำให้ "ทรูออนไลน์" รักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดบรอดแบนด์ความเร็วสูงไว้ได้ โดย ณ สิ้นปี 2558 มีลูกค้า 2.4 ล้านราย เป็นผู้ใช้ใหม่ 3 แสนราย มีรายได้เฉลี่ย 688 บาท/เดือน/ราย คิดเป็น 35% ของตลาดรวมที่มีผู้ใช้ราว 7 ล้านครัวเรือน

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

อ่านเพิ่มเติม


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1463039421

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.