Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 พฤษภาคม 2559 แหล่งข่าวระดับสูงจาก กสทช. โดย ผู้ให้บริการมือถือมีการกำหนดรายการส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่น) ที่มีอัตราค่าบริการแบบเหมาจ่าย ของผู้ใช้บริการบางกลุ่มกลับไม่ได้ปรับลดลงตามเจตนาของเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz และประกาศ กสทช.

ประเด็นหลัก




แหล่งข่าวระดับสูงจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.เตรียมเสนอวาระการปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในเรื่องของการกำหนดอัตราค่าบริการ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดกทค.ในวันที่ 17 พ.ค.2559 นี้

“ทั้งนี้เนื่องจาก สำนักงาน กสทช.ตรวจสอบ และพบว่า ผู้ให้บริการมือถือมีการกำหนดรายการส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่น) ที่มีอัตราค่าบริการแบบเหมาจ่าย ของผู้ใช้บริการบางกลุ่มกลับไม่ได้ปรับลดลงตามเจตนาของเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz และประกาศ กสทช.”

ดังนั้น สำนักงาน กสทช.จึงต้องรายงานต่อประธาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ พิจารณากำหนดแนวทางการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตฯ และประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เพิ่มเติม

ก่อนหน้านี้ สำนักงานกสทช.ได้ประกาศอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่น 3G โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการทุกรายลดราคาค่าบริการแพ็กเกจลงร้อยละ 15 จากราคาค่าบริการ 2Gเดิม ทั้งนี้ได้ให้ใบอนุญาต 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ AWN ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส,บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด หรือ DTN ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค,บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด หรือ RF ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2555 และมีการเริ่มเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2556






_____________________________________________




สำนักงาน กสทช.ตรวจสอบพบค่าบริการมือถือ 3G คลื่น 2.1GHz ไม่ได้ปรับลดตามเงื่อนไขประมูล โดยจะเสนอ “บอร์ด กทค.”พิจารณาเรื่องนี้ 17 พ.ค. พร้อมประเด็นปรับให้คิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีทั้งระบบ

แหล่งข่าวระดับสูงจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.เตรียมเสนอวาระการปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในเรื่องของการกำหนดอัตราค่าบริการ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดกทค.ในวันที่ 17 พ.ค.2559 นี้

“ทั้งนี้เนื่องจาก สำนักงาน กสทช.ตรวจสอบ และพบว่า ผู้ให้บริการมือถือมีการกำหนดรายการส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่น) ที่มีอัตราค่าบริการแบบเหมาจ่าย ของผู้ใช้บริการบางกลุ่มกลับไม่ได้ปรับลดลงตามเจตนาของเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz และประกาศ กสทช.”

ดังนั้น สำนักงาน กสทช.จึงต้องรายงานต่อประธาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ พิจารณากำหนดแนวทางการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตฯ และประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เพิ่มเติม

ก่อนหน้านี้ สำนักงานกสทช.ได้ประกาศอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่น 3G โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการทุกรายลดราคาค่าบริการแพ็กเกจลงร้อยละ 15 จากราคาค่าบริการ 2Gเดิม ทั้งนี้ได้ให้ใบอนุญาต 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ AWN ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส,บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด หรือ DTN ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค,บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด หรือ RF ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2555 และมีการเริ่มเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2556

ส่วนกรณีที่ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้มีหนังสือด่วนที่สุด เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2559 ที่ผ่านมา ถึงเลขาธิการ กสทช. ให้เร่งรัดผู้ให้บริการมีการคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามจริงเป็นวินาทีทั้งระบบนั้น ล่าสุด สำนักงาน กสทช.ได้จัดเตรียมเอกสารประกอบวาระการประชุม กทค.เพื่อนำเสนอ ประธาน กทค.พิจารณาเป็นวาระการประชุม กทค. เพื่อพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน เนื่องจากมีผลต่อผู้ใช้บริการ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.กล่าวถึงการคุ้มครองผู้ใช้บริการ 2G หรือในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ( MHz)ว่า ล่าสุด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กับ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด ได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกันแล้ว เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท ไม่สามารถตกลงในเงื่อนไขบางประการได้

สำหรับข้อตกลงดังกล่าว บริษัทในเครือเอไอเอส(เอดับบลิวเอ็น) จะตกลงใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ โรมมิ่ง บนคลื่น 900 MHz บนคลื่นย่านความถี่ 905-915 MHz คู่กับ 950-960 MHz ของ ทรู มูฟ เอชยูนิเวอร์แซล

ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงในวงการโทรคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมของคณะกรรมการบริหารของเอไอเอส เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมไม่อนุมัติ เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น อาจทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์ ประกอบกับที่ผ่านมา หรือหลังสัญญาสัมปทาน2G ของบริษัทสิ้นสุดลงทาง เอไอเอส ได้โรมมิ่ง กับ ดีแทค ซึ่งจะสามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 8 ล้านราย ให้มีการใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2559 ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็จะได้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz รายใหม่อยู่แล้ว



http://www.naewna.com/business/215901

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.