Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 มิถุนายน 2559 (บทความ) ทีวีดิจิตอล “วัดใจใครอึด” คาดปีหน้าปิดตัวเพิ่ม // ตอนนี้ทีวีดิจิตอลอยู่ในภาวะตลาดล้มเหลว มีช่องทีวีมากเกินกว่าผู้ชมจะรับชมได้ คนส่วนใหญ่ก็ดูแค่ 5-6 ช่องเท่านั้น เพราะเนื้อหาของรายการเกือบทุกช่องเหมือนๆ กัน

ประเด็นหลัก

ทีวีดิจิตอลกับภาวะตลาดล้มเหลว
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) กล่าวว่า ตอนนี้ทีวีดิจิตอลอยู่ในภาวะตลาดล้มเหลว มีช่องทีวีมากเกินกว่าผู้ชมจะรับชมได้ คนส่วนใหญ่ก็ดูแค่ 5-6 ช่องเท่านั้น เพราะเนื้อหาของรายการเกือบทุกช่องเหมือนๆ กัน
แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่จากเฟซบุ๊ก อย่าง Facebook live มาใช้ถ่ายทอดสดเหตุการณ์ล้อมจับผู้ต้องหารายหนึ่งออกอากาศคู่กับการออกอากาศในช่องของสถานี 4 แห่ง แต่ตัว Facebook live ยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณคนดูให้กับสถานีได้มากนัก เพราะเป้าหมายหลักของทีวีดิจิตอลคือต้องดึงให้คนดูทีวี
ธุรกิจนี้ผู้ประกอบการอยู่ในสถานะลำบาก รายที่สู้ไม่ไหวทุนน้อยอาจต้องเป็นเหมือนกรณีของไทยทีวี กรณีเจ๊ติ๋มที่ยอมเลิกทำทีวีดิจิตอลถือเป็นการตัดสินใจถูก เพราะทำไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฐานคนดูไม่ได้กว้างอย่างที่คิด
สำหรับช่องที่อาจเดินต่อไปไม่ไหว ต้องหาทางแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนในการดำเนินงาน เราจะได้เห็นสัญญาณตั้งแต่การลดต้นทุนพนักงานด้วยการลดจำนวนพนักงานลงโดยเฉพาะฝ่ายผลิต และซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศหรือการถ่ายทอดสดเข้ามาแทน นำรายการเก่าที่เคยออกอากาศแล้วกลับมาออกอากาศใหม่ เพื่อถมเวลาให้เต็ม
อย่างรายการข่าวบางช่องอาจลดต้นทุนด้วยการซื้อภาพจากที่อื่นๆ เข้ามาแทน ใช้เพียงตัวผู้ประกาศข่าวมาเป็นผู้อ่าน หรือเพิ่มรายการคุยข่าวเพื่อลดต้นทุน รวมไปถึงบางรายการอาจมีโฆษณาแฝงมากขึ้นหรือปล่อยช่วงเวลาให้เช่ามากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับสถานี
แน่นอนว่าคุณภาพของรายการทีวีดิจิตอลช่องนั้นจะลดลงไปเรื่อยๆ ไม่ต้องนึกถึงเรื่องอันดับความนิยมแต่ทำเพื่อความอยู่รอด รายเล็กทุนน้อยหากเดินต่อไปไม่ไหวก็อาจต้องปิดตัวลง หากมีการปิดตัวลงของทีวีดิจิตอลมากขึ้น ย่อมกระทบไปถึงการทำงานของ กสทช. ที่แผนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิตอลนั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจต้องมีการทบทวนหรือผ่อนปรนเงื่อนไขลงบ้าง
อย่างทีวีดิจิตอลรายใหญ่เขาไม่เดือดร้อนมากนัก แค่รอให้รายเล็กตาย คู่แข่งในตลาดนี้ก็จะเหลือน้อยลง

ทีวีดิจิตอล “วัดใจใครอึด” คาดปีหน้าปิดตัวเพิ่ม


นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย(ติ๋ม ทีวีพูล)

_________________________________
ทีวีดิจิตอล “วัดใจใครอึด” คาดปีหน้าปิดตัวเพิ่ม


ทีวีดิจิตอลหลายช่องฉุดบริษัทแม่ทรุด มีเพียง Work point และ RS พลิกสถานะกำไร หลายค่ายยังดิ้นสู้หารายการเสริม นักวิชาการชี้อยู่ในภาวะตลาดล้มเหลว ช่องมากเกิน แถมเศรษฐกิจฝืดหารายได้ลำบาก ต้องปรับตัวด้วยการซื้อรายการสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุน หรืออาจเอารายการเก่าฉายซ้ำ ถือเป็นสัญญาณไม่ดี แนะรอดูงวดที่ 4 อาจมีบางรายไม่รอดหาก กสทช.ไม่ผ่อนปรน

ทีวีดิจิตอล “วัดใจใครอึด” คาดปีหน้าปิดตัวเพิ่ม


ทีวีดิจิตอล 5 ช่องที่ยังไม่จ่ายเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งครบกำหนดไปเมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย ช่องวัน ช่องจีเอ็มเอ็ม แชนแนล ช่องพีพีทีวี ช่องไทยรัฐทีวี และช่องไบรท์ ทีวี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,388.882 ล้านบาท ขณะที่ช่องที่เหลือต่างจ่ายไปแล้วทั้งหมด
ทั้งนี้เป็นผลมาจากผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล 8 ช่อง ได้ฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง เนื่องจาก กสทช.ไม่สามารถดำเนินการตามที่เคยประกาศ และสัญญาไว้ตั้งแต่ก่อนประมูล และภายหลังการได้รับใบอนุญาตแล้ว โดยละเว้นหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดล่าช้าเกินสมควร ในการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล จงใจ หรือประมาทเลินเล่อการกระทำการอันเป็นการละเมิด และใช้อำนาจไม่ถูกต้องตามหลักการปฏิบัติงานที่ดีแห่งรัฐมากว่า 2 ปี ส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภคไม่สามารถรับชมรายการโทรทัศน์คุณภาพใหม่ๆ ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องต่อเจตนารมณ์ของรัฐบาล และกฎหมาย
แต่ 3 ช่องใน 8 ช่องที่ยื่นเรื่องฟ้อง กสทช.อย่างช่องเนชั่น แชนเนล และช่อง NOW ของกลุ่มเนชั่น และช่องสปริงนิวส์ กลับจ่ายเงินในงวดที่ 3 ไปก่อน
สิ่งที่เกิดขึ้นกับแวดวงทีวีดิจิตอลในขณะนี้ สะท้อนถึงปัญหาของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่ประมูลใบอนุญาตไปเมื่อปลายปี 2556 และเริ่มออกอากาศกันในเดือนเมษายน 2557 เป็นต้นมา ล้มหายตายจากไปแล้ว 2 ช่องคือช่องไทยทีวีและช่องโลก้า ของเจ๊ติ๋ม-พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย เจ้าของนิตยสารทีวีพูล หลังออกอากาศมาได้ 1 ปี
หลังทีวีดิจิตอลปิดตัวลง 2 ช่อง แม้จะยังไม่มีรายใดปิดตัวตามมา แต่อาการไม่เต็มใจที่จะจ่ายค่าใบอนุญาตในงวดที่ 3 ก็มีออกมาให้เห็น จาก 8 ช่องทีวีดิจิตอลยื่นฟ้อง กสทช. ซึ่ง 5 ช่องที่ยังไม่จ่ายเงินงวดที่ 3 นั้นมีเพียงช่องไบรท์ ทีวี เท่านั้นที่ทุนในการประกอบธุรกิจอาจจะน้อยกว่ารายอื่น ที่เหลือต่างเป็นทุนใหญ่ทั้งสิ้นอย่างแกรมมี่ ไทยรัฐ และพีพีทีวี
ส่วนช่องที่จ่ายไปแล้วก็ไปยื่นเรื่องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งของ กสทช.เรียกเก็บเงินงวดที่ 3 ที่ช่องสปริงนิวส์และวอยซ์ทีวี ยื่นเรื่องไปนั้น ศาลไม่รับคำร้อง
เวิร์คพอยท์-RS พลิกกำไร
เส้นทางของทีวีดิจิตอลต้องฝ่าฟันกับสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา ต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มความนิยมของช่อง นั่นคือต้นทุนทั้งบุคลากร ค่าผลิตรายการหรือค่าลิขสิทธิ์ในการซื้อรายการ และต้องจ่ายค่าใบอนุญาตแต่ละงวดจนกว่าจะครบ ขณะที่รายได้จากเม็ดเงินโฆษณาหรือการปล่อยช่วงเวลาให้เช่ายังไม่มากพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เว้นแต่ช่องที่ได้รับความนิยมสูง
เห็นได้จากผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2559 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีบริษัทลูกเข้าประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล พบว่า 7 บริษัท มีเพียง 2 บริษัทคือช่อง 23 เวิร์คพอยท์ และช่อง 27 ของอาร์เอส ที่พลิกสถานะขึ้นมาเป็นบวกมีกำไร โดยช่อง 23 ความนิยมเดือนเมษายน 2559 อยู่อันดับ 3 ส่วนช่อง 27 อยู่อันดับ 5
ที่เหลืออีก 5 ราย อย่างช่อง 3 แม้ผลประกอบการจะไม่ขาดทุน แต่กำไรลดลงจากเดิม 19.86% กับภาระที่ต้องแบกช่อง 13,28 และ 33 แถมพิธีกรข่าวระดับแม่เหล็กอย่างสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ต้องพ้นจากหน้าจอไปจากคดีไร่ส้ม แม้จะมีกิจกรรม 3 ช่องต้องดู แจกรถยนต์ 46 คัน มูลค่ากว่า 22 ล้านบาท เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ชมที่ยังครองใจคนเมือง แต่ภาพรวมยังเป็นรองช่อง 7
ที่เหลือช่อง 19 สปริงนิวส์ ค่ายแกรมมี่ 2 ช่องคือช่อง 25 และช่อง 31 อสมท (ช่อง 9) กับช่อง 14 และช่อง 30 กลุ่มเนชั่นช่อง 22 และ 26 กลุ่มอัมรินทร์ฯ ช่อง 34 ล้วนแล้วแต่อยู่ในสถานะขาดทุน ขณะที่ช่องอื่นที่มีบริษัทแม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์นั้นหลายแห่งมีกิจการอื่นเป็นหลัก เช่น ช่อง MONO29 ในเครือจัสมินที่เน้นภาพยนตร์เป็นหลักอยู่ในอันดับ 4 หรือ TNN24 และ True4U ในกลุ่มทรู หรือ PPTV ของกลุ่มบางกอกแอร์เวย์สและโรงพยาบาลกรุงเทพ

ทีวีดิจิตอล “วัดใจใครอึด” คาดปีหน้าปิดตัวเพิ่ม


ทีวีดิจิตอลกับภาวะตลาดล้มเหลว
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) กล่าวว่า ตอนนี้ทีวีดิจิตอลอยู่ในภาวะตลาดล้มเหลว มีช่องทีวีมากเกินกว่าผู้ชมจะรับชมได้ คนส่วนใหญ่ก็ดูแค่ 5-6 ช่องเท่านั้น เพราะเนื้อหาของรายการเกือบทุกช่องเหมือนๆ กัน
แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่จากเฟซบุ๊ก อย่าง Facebook live มาใช้ถ่ายทอดสดเหตุการณ์ล้อมจับผู้ต้องหารายหนึ่งออกอากาศคู่กับการออกอากาศในช่องของสถานี 4 แห่ง แต่ตัว Facebook live ยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณคนดูให้กับสถานีได้มากนัก เพราะเป้าหมายหลักของทีวีดิจิตอลคือต้องดึงให้คนดูทีวี
ธุรกิจนี้ผู้ประกอบการอยู่ในสถานะลำบาก รายที่สู้ไม่ไหวทุนน้อยอาจต้องเป็นเหมือนกรณีของไทยทีวี กรณีเจ๊ติ๋มที่ยอมเลิกทำทีวีดิจิตอลถือเป็นการตัดสินใจถูก เพราะทำไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฐานคนดูไม่ได้กว้างอย่างที่คิด
สำหรับช่องที่อาจเดินต่อไปไม่ไหว ต้องหาทางแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนในการดำเนินงาน เราจะได้เห็นสัญญาณตั้งแต่การลดต้นทุนพนักงานด้วยการลดจำนวนพนักงานลงโดยเฉพาะฝ่ายผลิต และซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศหรือการถ่ายทอดสดเข้ามาแทน นำรายการเก่าที่เคยออกอากาศแล้วกลับมาออกอากาศใหม่ เพื่อถมเวลาให้เต็ม
อย่างรายการข่าวบางช่องอาจลดต้นทุนด้วยการซื้อภาพจากที่อื่นๆ เข้ามาแทน ใช้เพียงตัวผู้ประกาศข่าวมาเป็นผู้อ่าน หรือเพิ่มรายการคุยข่าวเพื่อลดต้นทุน รวมไปถึงบางรายการอาจมีโฆษณาแฝงมากขึ้นหรือปล่อยช่วงเวลาให้เช่ามากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับสถานี
แน่นอนว่าคุณภาพของรายการทีวีดิจิตอลช่องนั้นจะลดลงไปเรื่อยๆ ไม่ต้องนึกถึงเรื่องอันดับความนิยมแต่ทำเพื่อความอยู่รอด รายเล็กทุนน้อยหากเดินต่อไปไม่ไหวก็อาจต้องปิดตัวลง หากมีการปิดตัวลงของทีวีดิจิตอลมากขึ้น ย่อมกระทบไปถึงการทำงานของ กสทช. ที่แผนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิตอลนั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจต้องมีการทบทวนหรือผ่อนปรนเงื่อนไขลงบ้าง
อย่างทีวีดิจิตอลรายใหญ่เขาไม่เดือดร้อนมากนัก แค่รอให้รายเล็กตาย คู่แข่งในตลาดนี้ก็จะเหลือน้อยลง

ทีวีดิจิตอล “วัดใจใครอึด” คาดปีหน้าปิดตัวเพิ่ม
นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย(ติ๋ม ทีวีพูล)


ปล่อยผู้ประกอบการตามยถากรรม
ขณะที่นักวิชาการด้านสื่อมองสถานการณ์ทีวีดิจิตอลว่า การจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 คงไม่มีปัญหาอะไร แต่การจ่ายในงวดต่อไปน่าจับตาดูหาก กสทช.ยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ
ปัญหาในตอนนี้นอกจากเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย รายได้จากโฆษณายังกระจุกตัวที่ช่องใหญ่ อีกทั้งตัวรายการที่นำเสนอนั้นเหมือนๆ กันไม่มีอะไรที่แตกต่าง และยังมีปัญหาในเรื่องของโครงข่ายที่ยังไม่ครอบคลุมอีกหลายพื้นที่
อย่างตอนนี้ กสทช.คงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะใกล้จะครบวาระ ที่ผ่านมาแม้จะมีเสียงทัดทานจากหลายฝ่ายแต่ กสทช.ไม่เคยรับฟัง วันนี้ปัญหาเกิดขึ้นกับทีวีดิจิตอลมากมายแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ประมูลใบอนุญาตไปได้ การเปิดประมูลใบอนุญาตพร้อมกันทีเดียว ทำให้ช่องมากเกินไป
ขณะที่โครงสร้างในการรับชมทีวีบ้านเราส่วนใหญ่รับชมผ่านทีวีดาวเทียม ขณะที่โครงข่ายในระบบภาคพื้นดินยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถขยายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ คนที่คิดจะเปลี่ยนมาชมทีวีดิจิตอลในระบบภาคพื้นดินก็กลับไปชมผ่านดาวเทียมเหมือนเดิม นั่นคือการเสียโอกาสของผู้ที่ประมูลทีวีดิจิตอลในระบบ HD ที่การรับชมผ่านดาวเทียมความคมชัดจะด้อยกว่าการรับชมผ่านระบบภาคพื้นดิน
เมื่อเป็นอย่างนี้ผู้ประกอบการก็ต้องหาทางช่วยเหลือตัวเอง ด้านหนึ่งคือการหารายการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มฐานคนดู ลงทุนผลิตละคร ซื้อรายการจากต่างประเทศหรือหารายการแข่งขันกีฬาเข้ามาเสริม อย่างที่ผ่านมาช่อง Work point ถ่ายทอดสดวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย Rating เพิ่มขึ้นมาก และยังมีกีฬาไทยหลายประเภทที่ทีวีดิจิตอลหาเข้ามาบรรจุไว้ในช่อง นอกจากมวยแล้ว วอลเลย์บอลลีก บาสเกตบอลลีกก็มีให้ชม และล่าสุดช่อง Now ของเนชั่นได้รายการถ่ายทอดสดฟุตบอลดิวิชั่น 2 ของไทยเพิ่มเข้ามาอีกรายการหนึ่ง
การเพิ่มรายการเหล่านี้เข้ามานอกจากความหวังที่จะเพิ่มจำนวนผู้ชมแล้ว ยังเป็นการช่วยบริหารเวลาให้กับทางช่องได้อีกทาง หากเป็นการซื้อเข้ามาในราคาไม่แพงแล้วออกอากาศได้ราว 2 ชั่วโมง ถือว่าคุ้มค่าเพราะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการผลิต
กรณีของช่องรัฐอย่างช่อง 5 และช่อง 11 เป็นของรัฐแม้จำนวนผู้ชมจะไม่มากนักแต่อยู่ได้ไม่มีปัญหา เพราะไม่ต้องประมูลเหมือนรายอื่นและยังมีรายได้จากค่าเช่าโครงข่ายจากผู้ประมูลรายอื่นเข้ามาเสริมอีก ส่วนช่อง 9 แม้ต้องประมูลเหมือนกับรายอื่นแต่ก็ยังมีรายได้จากค่าเช่าโครงข่ายเข้ามาเช่นกัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือช่องของเอกชนที่ทุนน้อยและเรตติ้งต่ำคงจะอยู่ลำบาก ไม่แน่ใจว่าจะมีเงินพอจ่ายค่างวดใบอนุญาตต่อไปอีกหรือไม่
หากทุกอย่างแย่ลงคุณภาพของรายการในทีวีดิจิตอลย่อมต้องลดลง ถือว่าเป็นกรรมของคนดู ส่วน กสทช.คงจะต้องไปพิจารณาตัวเองว่าที่ผ่านมานั้นปัญหาของทีวีดิจิตอลเกิดจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร เพราะ กสทช.เป็นผู้ผลักดันให้ทีวีดิจิตอลเกิดขึ้น หากจะปล่อยให้ล้มหายตายจากลงไปอีกจะกลายเป็นผลงานที่ไม่พึงประสงค์ของ กสทช.เอง


http://www.manager.co.th/SpecialScoop/ViewNews.aspx?NewsID=9590000053399

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.