Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 มิถุนายน 2559 เบื้องต้น AIS จะนำคลื่น 900 มาให้บริการลูกค้า 2 จี ซึ่งยังมีอยู่จำนวน 250,000 เลขหมาย และลูกค้าที่ใช้บริการผ่านโรมมิ่งบนคลื่น 900 อีกราว 6-7 ล้านเลขหมาย แต่ในอนาคตเมื่อลูกค้ามีความพร้อมที่จะขยับไปสู่บริการ 3 จี ก็จะปิดบริการ 2 จีบนคลื่น 900 และนำคลื่นไปให้บริการ 3 และ 4 จีเต็มรูปแบบต่อไป

ประเด็นหลัก




นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า เอไอเอสจะไปจ่ายค่าประมูลงวดแรกในเดือน มิ.ย. ก่อนมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการบนคลื่น 2 จีจะหมดอายุในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ โดยคลื่น 900 ที่ได้มาเพิ่ม จะทำให้เอไอเอสแข็งแรงมากขึ้น ติดปีกได้ไกลกว่าเดิม โดยปัจจุบันให้บริการได้ความเร็วสูงสุดที่ 1 Gbps เมื่อได้คลื่นมาเสริมทัพ ก็จะให้บริการได้เร็วขึ้นแน่

โดยเบื้องต้นเอไอเอสจะนำคลื่น 900 มาให้บริการลูกค้า 2 จี ซึ่งยังมีอยู่จำนวน 250,000 เลขหมาย และลูกค้าที่ใช้บริการผ่านโรมมิ่งบนคลื่น 900 อีกราว 6-7 ล้านเลขหมาย แต่ในอนาคตเมื่อลูกค้ามีความพร้อมที่จะขยับไปสู่บริการ 3 จี ก็จะปิดบริการ 2 จีบนคลื่น 900 และนำคลื่นไปให้บริการ 3 และ 4 จีเต็มรูปแบบต่อไป

ทั้งนี้ การชนะการประมูลคลื่น 900 ล่าสุด ทำให้เอไอเอสมีคลื่นอยู่ในมือปัจจุบันทั้งสิ้น 40 เมกะเฮิรตซ์ ได้แก่คลื่น 2100 จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่น 1800 จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 900 ล่าสุดอีก 10 เมกะเฮิรตซ์ โดยนายสมชัยกล่าวว่า ในความเป็นจริงด้วยฐานลูกค้าและพฤติกรรมการใช้งาน ปริมาณคลื่นที่พอเพียงสำหรับเอไอเอสในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า อยู่ที่ 30 เมกะเฮิรตซ์ แต่ขณะนี้มีที่ 40 เมกะเฮิรตซ์ จึงถือเป็นการติดอาวุธให้เครือข่ายที่ดีที่สุดของเอไอเอสอย่างแท้จริง.
_________________________________
รูดม่านประมูล 4 จีคลื่น 900 “เอไอเอส” กัดฟันกดปุ่มยอมจ่ายแทนแจส



เอไอเอส กดประมูล 1 ครั้งที่ราคา 75,654 ล้านบาท คว้าใบอนุญาตคลื่น 900 แทนแจสโมบายตามคาด “อุตตม” ได้ทีเตรียมหารือ “บิ๊กตู่” ใช้เงินประมูล 4 จีอีก 16,000 ล้านบาท เสริมทัพเศรษฐกิจดิจิตอล ด้านเอไอเอสทำใจดีสู้เสือยันคลื่น 900 ช่วยติดอาวุธให้เครือข่าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่สุดการประมูล 4จี คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบที่ 2 ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อเวลา 10.05 น. ของวันที่ 27 พ.ค.2559 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการประมูลทั้งสิ้น 30 นาที โดยบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ซึ่งเป็นผู้เข้าประมูลเพียงรายเดียว ได้เคาะยืนยันราคา 1 ครั้ง และคว้าใบอนุญาตใบครองในราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท

ทั้งนี้ ใบอนุญาตคลื่นดังกล่าว อยู่ในย่านความถี่ 895-905 เมกะเฮิรตซ์ /940-950 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นเดิมที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2558 แต่ไม่ได้นำเงินมาชำระค่าประมูลทำให้ กสทช.ต้องเปิดประมูลรอบ 2 โดยใบอนุญาตมีระยะเวลา 15 ปี (มิ.ย.2559-พ.ค.2574)

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค.ได้รับรองผลการประมูล 4 จีคลื่น 900 อย่างเป็นทางการ และได้ทำหนังสือแจ้งไปยังเอไอเอสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทำหนังสือรายงานให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้รับทราบด้วย เพราะการประมูลครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามคำสั่งของ คสช.

ทั้งนี้คาดว่าเอไอเอสจะนำเงินมาชำระงวดแรก 8,602 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน 72,346 ล้านบาท ภายในวันที่ 30 มิ.ย.2559 เพื่อให้บริการมือถือได้อย่างต่อเนื่อง และจะได้ไม่เกิดปัญหาซิมดับ ถึงแม้จะมีเวลาถึง 90 วัน ตามเงื่อนไขการประมูล เนื่องจากวันที่ 30 มิ.ย. จะเป็นวันสิ้นสุดมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดตามคำสั่ง คสช. ซึ่งรายได้จากการประมูลทั้งหมด กสทช.นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

“ในช่วงปีนี้และปีหน้า คงจะไม่มีการประมูลคลื่นความถี่อีก จนกว่าจะได้กรรมการ กสทช.ชุดใหม่ ทั้งคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ อีก 45 เมกะเฮิรตซ์ ที่ต้องรอสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.2561 ซึ่งจะประมูลล่วงหน้าก่อนสัญญาสิ้นสุดประมาณ 3-4 เดือน ขณะที่ราคาเริ่มต้นการประมูลนั้น ก็ต้องนำราคาคลื่นย่านนั้นจากการประมูลครั้งสุดท้าย มาคำนวณเฉลี่ยต่อเมกะเฮิรตซ์ รวมกับอัตราเงินเฟ้อและดัชนีผู้บริโภค เช่นคลื่น 1800 ราคาเริ่มต้นราว 2,692.6 ล้านบาทต่อเมกะเฮิรตซ์”

นายอุตตม สาวนายน รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า จะหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อนำเงินจากการประมูล 4 จีคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มาลงทุนสร้างโครงข่ายอินเตอร์เน็ตให้เข้าถึงทุกหมู่บ้านโดยเร็วที่สุด รวมถึงนำเงินมาสนับสนุนการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิตอลของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ถือเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล ซึ่งปีงบ ประมาณ 2559 รัฐบาลจะได้เงินจากการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ อีก 16,000 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ได้รับเงินจากการประมูล 4 จีคลื่น 1800 มาใช้ในการสนับสนุนในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของประเทศแล้ววงเงิน 20,000 ล้านบาท

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า เอไอเอสจะไปจ่ายค่าประมูลงวดแรกในเดือน มิ.ย. ก่อนมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการบนคลื่น 2 จีจะหมดอายุในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ โดยคลื่น 900 ที่ได้มาเพิ่ม จะทำให้เอไอเอสแข็งแรงมากขึ้น ติดปีกได้ไกลกว่าเดิม โดยปัจจุบันให้บริการได้ความเร็วสูงสุดที่ 1 Gbps เมื่อได้คลื่นมาเสริมทัพ ก็จะให้บริการได้เร็วขึ้นแน่

โดยเบื้องต้นเอไอเอสจะนำคลื่น 900 มาให้บริการลูกค้า 2 จี ซึ่งยังมีอยู่จำนวน 250,000 เลขหมาย และลูกค้าที่ใช้บริการผ่านโรมมิ่งบนคลื่น 900 อีกราว 6-7 ล้านเลขหมาย แต่ในอนาคตเมื่อลูกค้ามีความพร้อมที่จะขยับไปสู่บริการ 3 จี ก็จะปิดบริการ 2 จีบนคลื่น 900 และนำคลื่นไปให้บริการ 3 และ 4 จีเต็มรูปแบบต่อไป

ทั้งนี้ การชนะการประมูลคลื่น 900 ล่าสุด ทำให้เอไอเอสมีคลื่นอยู่ในมือปัจจุบันทั้งสิ้น 40 เมกะเฮิรตซ์ ได้แก่คลื่น 2100 จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ คลื่น 1800 จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 900 ล่าสุดอีก 10 เมกะเฮิรตซ์ โดยนายสมชัยกล่าวว่า ในความเป็นจริงด้วยฐานลูกค้าและพฤติกรรมการใช้งาน ปริมาณคลื่นที่พอเพียงสำหรับเอไอเอสในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า อยู่ที่ 30 เมกะเฮิรตซ์ แต่ขณะนี้มีที่ 40 เมกะเฮิรตซ์ จึงถือเป็นการติดอาวุธให้เครือข่ายที่ดีที่สุดของเอไอเอสอย่างแท้จริง.

http://www.thairath.co.th/content/627047

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.